หรือ โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya disease) เป็นโรคที่ยังไม่มียาหรือวัคซีนป้องกันได้
โรคไข้ปวดข้อยุงลาย ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2552 มีรายงานพบว่าโรคไข้ปวดข้อยุงลายได้กระจายไปหลายอำเภอของจังหวัดภาคใต้ตอนล่างของไทย ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2552 มีรายงานพบว่าโรคไข้ปวดข้อยุงลายได้ กระจายไปหลายอำเภอของจังหวัดภาคใต้ตอนล่างของไทย แต่ยังไม่มีรายงานว่ากระจายไปยังเขตอื่นๆ ทำให้เกิดความหวั่นเกรงว่าจะพบโรคนี้มากขึ้น จนถึงขั้นอาจเกิดการระบาดได้ ถ้าไม่มีการป้องกันควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ และถ้าเกิดการแพร่ระบาดขึ้นแล้ว ก็จะยากแก่การหยุดยั้งการแพร่กระจายของโรคไข้ปวดข้อยุงลายนี้ ไม่ให้ระบาดไปยังพื้นที่อื่นของประเทศไทย เนื่องจากยุงลายที่เป็นพาหะทั้ง 2 ชนิด คือยุงลายบ้านและยุงลายสวน มีชุกชุมอยู่ทั่วประเทศ
มาตรการ ที่สำคัญในขณะนี้ ทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขกำลังดำเนินการลงพื้นที่ โดยให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และอาสาสมัครสาธารณสุขในแต่ละพื้นที่ เร่งให้ความรู้ประชาชนเพื่อรณรงค์ร่วมมือกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างเข้มข้นใน ช่วงหน้าแล้งนี้
โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya disease) เป็น โรคที่ยังไม่มียาหรือวัคซีนป้องกันได้ พบว่าเกิดการกลับมาระบาดซ้ำในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของไทย โดยโรคดังกล่าวมียุงเป็นพาหะนำโรคเช่นเดียวกับโรคไข้เลือดออก แต่มักพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก เมื่อป่วยหากอาการรุนแรงผู้ป่วยจะนอนซม ปวดข้อจนเดินไม่ได้
สถานการณ์โรคในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของไทย
- สถานการณ์ โรคชิคุนกุนยาตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 พบผู้ป่วยในพื้นที่ 4 จังหวัด คือ สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จำนวน 5,534 ราย แต่ยังไม่พบผู้เสียชีวิต
- การ แพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยาใน พ.ศ. 2551 ที่จังหวัดนราธิวาส พบผู้ป่วยที่ตำบลละหาร อำเภอยี่งอ ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ.2551 ถึงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2551 พบรายงานผู้ป่วยรวมทั้งหมด 170 ราย ใน 2 จังหวัด คือนราธิวาส ใน 3 อำเภอ ได้แก่ ยี่งอ 99 ราย เจาะไอร้อง 9 ราย และ อ.แว้ง 44 ราย และพบที่ อ.ไม้แก่น จ.ปัตตานี จำนวน 18 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต
- ใน ประเทศไทยมีการตรวจพบเชื้อชิคุนกุนยาครั้งแรกพร้อมกับที่มีไข้เลือดออกระบาด และเป็นครั้งแรกในทวีปเอเชีย เมื่อปี พ.ศ. 2501 โดยแยกเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาได้จากผู้ป่วยโรงพยาบาลเด็ก กรุงเทพมหานคร
- โรค ชิคุนกุนยาจะพบมากในฤดูฝน เมื่อประชากรยุงเพิ่มขึ้นและมีการติดเชื้อในยุงลายมากขึ้น พบโรคนี้ได้ในทุกกลุ่มอายุ ซึ่งต่างจากไข้เลือดออกและหัดเยอรมันที่ส่วนมากพบในผู้อายุน้อยกว่า 15 ปี ในประเทศไทยพบมีการระบาดของโรคชิคุนกุนยา 6 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2531 ที่จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. 2534 ที่จังหวัดขอนแก่นและปราจีนบุรี ในปี พ.ศ. 2536 มีการระบาด 3 ครั้งที่จังหวัดเลย นครศรีธรรมราช และหนองคาย
การระบาดในประเทศมาเลเซีย-สิงคโปร์
- การ ระบาดในประเทศสิงคโปร์เกิดขึ้นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 รายงานจำนวนผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยา 10 ราย ซึ่งทางการสิงคโปร์ได้ออกมาตรการเฝ้าระวังโรคอย่างใกล้ชิด ต่อมาพบผู้ป่วยอีกรายโดยไม่ได้เป็นผู้ที่เดินทางมาจากประเทศอินเดีย
- ข้อมูล จนถึงเดือนกุมพันธ์ พ.ศ. 2552 ในประเทศมาเลเซีย พบผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยา 3,263 ราย กว่าครึ่งอาศัยอยู่ในรัฐยะโฮร์ โดยก่อนหน้านั้นพบการระบาดเพียงเล็กน้อยในไม่กี่ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่มาจากประเทศอินเดีย และคนมาเลเซียที่เดินทางไปท่องเที่ยวประเทศอินเดีย
สาเหตุ
- เกิด จากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ซึ่งเป็น RNA Virus จัดอยู่ใน genus alphavirus และ family Togaviridae ไวรัสชิคุนกุนยามีความใกล้ชิดกับ O’nyong’nyong virus และ Ross River virus ที่พบในประเทศออสเตรเลีย รวมทั้งไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคไข้สมองอักเสบ eastern equine encephalitis และ western equine encephalitis
- เชื้อ ไวรัสชิคุนกุนยาติดต่อกันได้โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง และเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูก กัด ทำให้คนนั้นเกิดอาการของโรคได้
- ระยะฟักตัวของโรคโดยทั่วไปประมาณ 1-12 วัน แต่ที่พบบ่อยประมาณ 2-3 วัน
- ระยะ ติดต่อเป็นช่วงระยะเวลาที่ผู้ป่วยไข้สูง ประมาณวันที่ 2 – 4 เนื่องจากเป็นระยะที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาอยู่ในกระแสเลือดมากที่สุด
ที่มาของชื่อไวรัส
ชื่อ ของเชื้อไวรัสชิคุนกุนยามาจากคำในภาษา Makonde ซึ่งเป็นภาษาของชนพื้นเมืองในแอฟริกา อาศัยอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศแทนซาเนียและทางตอนเหนือของประเทศโม แซมบิก รากศัพท์พื้นเมืองเดิมเรียกว่า kungunvala ซึ่งมีความหมายเป็นภาษาอังกฤษว่า "that which bends up" สอดคล้องกับลักษณะอาการปวดข้อของโรค
เชื้อ ไวรัสชิคุนกุนยามักถูกเปรียบเปรยเหมือนเป็นลูกพี่ลูกน้องกับเชื้อไวรัสเด งกี่ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออกที่สำคัญในประเทศไทย
อาการของโรค
- ผู้ ป่วยจะมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกายและอาจมีอาการคันร่วมด้วย พบตาแดง แต่ไม่ค่อยพบจุดเลือดออกในตาขาว ส่วนใหญ่แล้วในเด็กจะมีอาการไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่
- ในผู้ใหญ่อาการที่เด่นชัดคืออาการปวดข้อ ซึ่งอาจพบข้ออักเสบได้ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า
- อาการ ปวดข้อจะพบได้หลายๆ ข้อเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ อาการจะรุนแรงมากจนบางครั้งขยับข้อไม่ได้ อาการจะหายภายใน 1-12 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นได้อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา และบางรายอาการปวดข้อจะอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี
- ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงช็อก ซึ่งแตกต่างจากโรคไข้เลือดออก อาจพบ tourniquet test ให้ผลบวก และจุดเลือดออกบริเวณผิวหนังได้
ความแตกต่างระหว่างโรคไข้เลือดออกเดงกีกับโรคชิคุนกุนยา
- ใน โรคชิคุนกุนยา ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเกิดขึ้นอย่างฉับพลันกว่าในโรคไข้เลือดออกเดงกี ผู้ป่วยมักจะมาโรงพยาบาลเร็วกว่า ส่วนระยะของไข้สั้นกว่าในโรคไข้เลือดออกเดงกี ผู้ป่วยที่มีระยะไข้สั้นเพียง 2 วัน พบในโรคชิคุนกุนยาได้บ่อยกว่าในโรคไข้เลือดออกเดงกีโดยส่วนใหญ่ไข้ลงใน 4 วัน
- ถึงแม้จะพบจุด เลือดได้ที่ผิวหนัง และการทดสอบทูนิเกต์ให้ผลบวกได้ แต่ส่วนใหญ่จะพบจำนวนทั้งที่เกิดเองและจากทดสอบน้อยกว่าในโรคไข้เลือดออกเด งกี
- ไม่พบผื่นเลือด ออกที่มีลักษณะวงขาวๆในโรคชิคุนกุนยา แต่พบผื่นแบบผื่นแดงนูนราบ และพบอาการตาแดงในโรคชิคุนกุนยาได้บ่อยกว่าในโรคไข้เลือดออกเดงกี
- พบอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและปวดข้อในโรคชิคุนกุนยาได้บ่อยกว่าในโรคไข้เลือดออกเดงกี
- ในโรคชิคุนกุนยา เนื่องจากไข้สูงฉับพลัน พบการชักร่วมกับไข้สูงได้ถึงร้อยละ 10-15
การวินิจฉัย
- ลักษณะอาการ ได้แก่ ไข้สูง ผื่น ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูกหรือข้อ ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา เลือดออกตามผิวหนัง
- ตรวจนับเม็ดเลือดพบว่ามีจำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำ และเกล็ดเลือดปกติ ซึ่งสามารถแยกจากไข้เดงกีได้
- ตรวจ พบแอนติบอดีจำเพาะต่อเชื้อในเลือดจากการตรวจปฏิกิริยาน้ำเหลืองสองครั้งด้วย วิธี Haemagglutination Inhibition (HI) โดยระดับแอนติบอดีเพิ่มขึ้น 4 เท่า ถ้าตรวจเลือดครั้งเดียว ต้องพบระดับแอนติบอดีมากกว่า 1: 1,280
- ตรวจพบภูมิคุ้มกันชนิด IgM โดยวิธี ELISA
- ตรวจพบเชื้อได้จากเลือด โดยวิธี PCR หรือโดยการแยกเชื้อ
ปัจจุบัน ยังไม่มีการรักษาที่จำเพาะเจาะจงสำหรับโรคชิคุนกุนยา ส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการและประคับประคอง เช่น ยาลดอาการไข้ ปวดข้อ และการพักผ่อน
ผลการ ศึกษาวิจัยในระยะหลังพบว่า ยาคลอโรควิน (chloroquin) ได้ผลดีในการบรรเทาอาการที่เกิดจากโรคชิคุนกุนยา และมีคุณสมบัติต้านไวรัสชิคุนกุนยาได้อีกด้วย
งาน วิจัยที่มหาวิทยาลัยมาลายา ประเทศมาเลเซีย ใช้ยาคลอโรควินขนาดวันละ 250 มิลลิกรัม พบว่าได้ผลดีมาก เช่นเดียวกับงานวิจัยที่อิตาลี และฝรั่งเศสเมื่อปี 2006 ซึ่งพบว่าการรักษาด้วยยาคลอโรควินได้ผลดีเช่นกัน
การป้องกัน
- การป้องกันโรคชิคุนกุนยาที่ดีที่สุดคือ ป้องกันไม่ให้ถูกยุงลายกัด
- ใช้สารไล่ยุง DEET, icaridin, PMD หรือ IR3535
- สวมใส่เสื้อผ้าที่ป้องกันไม่ให้ยุงกัด ติดมุ้งลวดในบ้าน หรือทายากันยุงขณะทำงานและออกนอกบ้าน
- ยาทากันยุงชนิดที่มีส่วนผสมของไพรีธรอยด์ช่วยป้องกันได้พอสมควร
- กำจัด แหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยเฉพาะแหล่งน้ำขัง เริ่มจากในบ้านก่อน ไม่ว่าจะเป็นแจกันดอกไม้ที่ใส่น้ำไว้ ขาตู้ใส่น้ำกันมด ตุ่มใส่น้ำไม่ปิดฝา จากนั้นขยายอกบริเวณรอบบ้าน เช่น ขวดพลาสติก แก้วพลาสติกที่มีน้ำขัง ยางรถยนต์เก่าและแอ่งน้ำตามธรรมชาติ ฯลฯ
- ร่วม มือช่วยกันในชุมชนดูแลไม่ให้เกิดน้ำขังขึ้น จะเห็นได้ว่ามาตราการป้องกันยุงลาย นอกจากจะป้องกันไข้เลือดออกแล้ว ยังช่วยป้องกันโรคชิคุนกุนยาได้อีกด้วย
วัคซีน
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนสำหรับป้องกันการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา
การ ศึกษาวิจัยวัคซีนชิคุนกุนยาเมื่อปี 2000 พบว่าวัคซีนที่ใช้ในการวิจัยไม่ได้ผลในการป้องกันโรค เนื่องจากเชื้อชิคุนกุนยาเกิดภาวะต้านวัคซีนมากถึงร้อยละ 98 ภายหลังได้รับวัคซีน 28 วัน
วัคซีน ดีเอ็นเอเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่นำมาศึกษาการผลิตวัคซีนสำหรับเชื้อชิคุ นกุนยา โดยออกแบบเป็นวัคซีนชนิดผสม ใช้ลำดับสารพันธุกรรมของเปลือกหุ้มตัวไวรัสมาเป็นสารกระตุ้นให้ร่างกายสร้าง แอนติบอดี ในเบื้องต้นพบว่าได้ผลดีมากในหนูทดลอง ทั้งระดับภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นและสามารถกระตุ้นการทำหน้าที่ของเม็ดเลือด ขาวชนิด T cell ได้เป็นอย่างดี
ประวัติของโรคชิคุนกุนยา
- Chikungunya (pronounced as chik’-en-GUN-yah) disease โรคชิคุนกุนยา พบเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1952 ในดินแดนที่ราบสูง Makonde Plateau ทวีปแอฟริกา บริเวณพรมแดนระหว่างประเทศ Tanzania และ Mozambique.
- ชื่อ โรค "chikungunya" มาจากคำในภาษา Makonde language มีความหมายว่า "that which bends up" สอดคล้องกับอาการของผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้ออย่างมาก
- ชื่ออื่นๆ ได้แก่ Chicken guinea, Chicken gunaya และ Chickengunya
- แม้ว่าชื่อโรคจะพ้องกับคำว่า "Chicken" แต่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับไก่แต่อย่างใด
- รายงาน ทางการแพทย์สองฉบับตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1955 บรรยายลักษณะของโรคนี้เป็นครั้งแรก "An epidemic of virus disease in Southern Province, Tanganyika Territory, in 1952-53. II. General description and epidemiology" โดย W.H.R. Lumsden และ "An epidemic of virus disease in Southern Province, Tanganyika Territory, in 1952-53. I. Clinical features." โดย M. Robinson เป็นรายงานการติดเชื้อที่ Makonde Plateau ซึ่งพบว่ามีความคล้ายคลึงกับโรคติดเชื้อไวรัสเดงกี่
- ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1952 เป็นต้นมา พบลักษณะการระบาดของโรคชิคุนกุนยาเป็นรอบๆ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วง 1960 ถึง 1982 ในประเทศแอฟริกา และเอเชีย จากนั้นโรคนี้หายไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง กระทั่งกลับมาระบาดอีกครั้งนับแต่ปี ค.ศ. 1999 นับจากปีค.ศ.2003 พบการระบาดบ่อยขึ้นมากใน south India
รายงานผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยา
1952 - รายงานการระบาดใน Makonde Plateau
1955 - Marion Robinson และ W.H.R. Lumsden พบเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา และบรรยายลักษณะของโรคเป็นครั้งแรก
1963/64 – พบในประเทศอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เมือง calcutta, maharashtra และ vellore พบผู้ป่วยมากกว่า 100,000 รายที่เมือง lakhs เสียชีวิตมากกว่า 200 ราย
1969 - รายงานผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาที่ประเทศ Srilanka
1975 - พบโรคชิคุนกุนยาที่ประเทศ Vietnam และ Myanmar
1982 - รายงานผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาที่ประเทศ Indonesia
2005/2006 – พบโรคชิคุนกุนยาที่ Reunion Islands มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 200 ราย และพบรายงานผู้ป่วยจากรัฐทางใต้ของประเทศอินเดีย ได้แก่ Kerala, Karnataka, Tamil Nadu และ Andhra Pradhesh
2007/2008 – มีรายงานโรคชิคุนกุนยากระจายไปทั่วประเทศอินเดีย ระบาดไปยังประเทศใกล้เคียง เช่น Maldives และ Pakistan ในช่วงปลายปี 2008 พบโรคนี้ที่ประเทศ Italy, Singapore และ Australia
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=810