คุณสมบัติเชิงโมเลกุลของสสาร


699 ผู้ชม


ใช้เมาส์คลิกที่ช่อง คุณสามารถเลือกให้ตัวแปร ( p, V , T) ตัวใดตัวหนึ่งคงที่ เช่นถ้าคลิกที่ T คงที่ ค่า p และ V จะเปลี่ยนแปลงอยู่บนกราฟโดยที่ค่า T คงที่เป็นต้น คุณสามารถคลิกได้ทุกที่บนพื้นที่สีเหลือง โดยที่ค่าต่างๆที่ปรากฎขึ้น ถูกคำนวณไว้อย่า   

คุณสมบัติเชิงโมเลกุลของสสาร

ภาพประจำสัปดาห์   

คุณสมบัติเชิงโมเลกุลของสสาร

การทดลองแผนภาพ P-V-T ของแก๊ส      

จากกฎของแก๊ส

p·V = n R T

 p =  ความดัน  ;    V  = ปริมาตร   ;   n  =   จำนวนโมล  ;   T  =  อุณหภูมิ    และ   R  =  8.31 J / mol.K    =   ค่าคงที่ของแก๊ส

      ใช้เมาส์คลิกที่ช่อง คุณสามารถเลือกให้ตัวแปร ( p, V , T) ตัวใดตัวหนึ่งคงที่  เช่นถ้าคลิกที่  T  คงที่  ค่า p  และ  V   จะเปลี่ยนแปลงอยู่บนกราฟโดยที่ค่า  T  คงที่เป็นต้น  คุณสามารถคลิกได้ทุกที่บนพื้นที่สีเหลือง   โดยที่ค่าต่างๆที่ปรากฎขึ้น ถูกคำนวณไว้อย่างถูกต้อง   และเมื่อคุณกดเมาส์ค้างและลาก   คุณจะได้เส้นกราฟขึ้นอย่างต่อเนื่อง

      คุณสามารถเปลี่ยนจำนวนโมลจาก  1   ถึง  10   โดยกดลูกศรขึ้นและลงบนคีย์บอร์ด  ให้สังเกตว่าความถูกต้องอยู่ที่ทศนิยม  2  ตำแหน่ง  เนื่องจากความละเอียดถูกจำกัดด้วยจุดบนหน้าจอ  กดที่รูปภาพหรือที่นี่เพื่อเข้าสู่การทดลอง

 

คุณสมบัติเชิงโมเลกุลของสสาร

คุณสมบัติเชิงโมเลกุลของสสาร

สถานะของแข็ง โมเลกุลเคลื่อนไหวได้ในขอบเขตที่จำกัดแต่อยู่ในลักษณะแบบสั่นแกว่งโดยมี แอมพลิจูดของการสั่นค่อนข้างน้อย ดังรูป  เป็นผลึกโปรตีนของไวรัสชนิดหนึ่งถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์ อิเล็คตรอนขยาย 80 000 เท่า 

สถานะของเหลว ระยะห่างระหว่างโมเลกุลมากกว่าของของแข็ง จึงมีอิสระในการเคลื่อนที่ได้มากกว่า แต่ยังน้อยกว่าแก๊ส 

สถานะของแก๊ส ระยะห่างระหว่างโมเลกุลมากกว่าของของแข็งและของเหลว จึงมีแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลน้อย มีพลังงานจลน์สูงกว่า

คุณสมบัติเชิงโมเลกุลของสสารกระแสลมร้อนคืออะไร

คุณสมบัติเชิงโมเลกุลของสสาร

คุณสมบัติเชิงโมเลกุลของสสารเรามักเห็นนกนานาชนิดกางปีกบินร่อนเป็นวงสวยงาม ที่เป็นเช่นนี้เพราะมันกำลังถูกยกหรือหนุนให้บินสูงขึ้นโดยอากาศที่ลอยตัวขึ้นไปในแนวตั้ง เรียกว่ากระแสลมร้อน  ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อพื้นดินได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์  ทำให้อากาศเหนือพื้นดินอุ่นและลอยตัวสูงขึ้น  จากนั้นอากาศเย็นจะไหลเข้ามาแทนที่ และเมื่ออากาศเย็นอบอุ่นขึ้น มันก็จะลอยขึ้นสู่เบื้องบนเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ  นักเล่นเครื่องร่อนได้ใช้วิธีการนี้เช่นกัน เขาจะบินร่อนเป็นวงภายในกระแสลมร้อนกระแสหนึ่ง จากนั้นจะร่อนไปยังกระแสลมร้อนอื่น ๆ ต่อไป

 

 

เปิดกระป๋องโซดา...แบบซ่าไม่ออก

กระป๋องน้ำอัดลมทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นโคล่า โซดา ถ้าถูกเขย่าหรือกระเทือนทีไร เปิดปุ๊บน้ำพุ่งออกมา ทั้งหกเลอะเทอะ และน่าเสียดาย...เอ แล้วจะเปิดอีท่าไหน สำหรับคนใจร้อน....
 
คุณสมบัติเชิงโมเลกุลของสสาร
คุณสมบัติเชิงโมเลกุลของสสาร
คุณสมบัติเชิงโมเลกุลของสสาร

       เคล็ดไม่ลับแบบง่ายๆ สำหรับวัยรุ่นร้อนใจ ไม่อยากรอให้เสียเวลา...หยิบขึ้นมาเลยกระป๋องน้ำโซดาที่ยังไม่ได้เปิด หรือกระป๋องที่อยากจะกินนั่นล่ะ
 

คุณสมบัติเชิงโมเลกุลของสสาร
คุณสมบัติเชิงโมเลกุลของสสาร
คุณสมบัติเชิงโมเลกุลของสสาร

       วิธีการ
       
       1) เขย่า เขย่า เขย่า และเขย่ากระป๋องที่เตรียมการไว้ (หรือถ้าไม่อยากเขย่าก็...ใช้กระป๋องที่เพิ่งตกพื้น หรือไม่ก็ถูกเขย่าโดยไม่ได้ตั้งใจ)
 

คุณสมบัติเชิงโมเลกุลของสสาร
คุณสมบัติเชิงโมเลกุลของสสาร
คุณสมบัติเชิงโมเลกุลของสสาร

       2) วางกระป๋องลงบนโต๊ะ และเคาะข้างๆ กระป๋องโซดาที่เพิ่งเขย่าไปหมาดๆ ด้วยนิ้วหรืออะไรก็ได้ ขณะที่เคาะก็หมุนไปด้วย เคาะไปเรื่อยๆ สักประมาณ 5 – 10 ครั้ง เป็นอันใช้ได้
       
       3) เคาะเสร็จแล้วก็หายใจเข้า-ออกอึดใจหนึ่ง
       
       4) หันปากกระป๋องไปไกลๆ ตัว (ทั้งตัวคุณเองและคนอื่นๆ และอะไรก็ตามที่ไม่อยากให้เปียกปอนด้วยฟองโซดา) เปิดกระป๋อง แล้วลองดูว่าเกิดอะไรขึ้น !!
       
       .....
       
       อ่ะ...บอกให้ก็ได้ว่า น้ำในกระป๋องก็จะไม่พุ่งกระเด็นออกมาสักหยดเลยไง
       
       อ้อ...แต่ถ้าจะให้ดี ต้องทดลองกับ 2 กระป๋องข้างๆ กัน นำมาเขย่าทั้งคู่ แต่ว่าเคาะแค่กระป๋องใดกระป๋องหนึ่ง ส่วนอีกกระป๋องไม่ต้องเคาะ แล้วก็จะเห็นความแตกต่าง แต่ระวังจะหกเลอะเทอะล่ะ
 

อยากทราบคำตอบคลิกค่ะ

การทดลองเสมือนจริง 

การทดลองการชนของอะตอมเดี่ยว

 

cavity length

p x10-18  

(newton / piston area)

V  

(micrometer* piston area)

pV

 

nkT

 

3/4

3.7

0.75

 

 

2/3

 

 

 

 

1/2

 

 

 

 

1/3

 

 

 

 

1/4

 

 

 

 

1/5

 

 

 

 

1/10

 

 

 

 

k   =   1.38  x  10 -23    J.โมเลกุล.K-1

ทดลองคำนวณโดยดูจากค่าแรก

จาก     pV   =   nkT

3.7 x 10-18  x  0.75 x 10 -6    =   1 x 1.38 x  10 -23  x 0.2

2.775 x 10 -24   =   2.76  x  10 -24

กดที่นี่หรือที่รูปภาพเพื่อเข้าสู่การทดลอง


 

การทดลองการชนของหลายอะตอมภายในภาชนะ

คำถาม

1.  ลดขนาดของภาชนะให้เล็กลง และสังเกตพฤติกรรมของอะตอม

2. ลดและเพิ่มอุณหภูมิ  สังเกตว่าความเร็วของอะตอมเป็นอย่างไร กดที่นี่หรือที่รูปภาพเพื่อเข้าสู่การทดลอง
 

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=811

อัพเดทล่าสุด