กฎข้อที่หนึ่งและสองของเทอร์โมไดนามิก


1,385 ผู้ชม


การทำงานของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 4 จังหวะ   

กฎข้อที่หนึ่งและสองของเทอร์โมไดนามิก

ภาพประจำสัปดาห์   

การทำงานของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน  4  จังหวะ 

ในแต่ละรอบการทำงาน  (cycle)  เครื่องยนต์  4  จังหวะ ลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้นลง  4  ครั้ง  (ขึ้น  2  ครั้ง  ลง  2  ครั้ง)  โดยเพลาข้อเหวี่ยงหมุน  2  รอบ   การที่ลูกสูบขึ้นลง  4  ช่วงชัก  ทำให้เกิดการทำงานขึ้น  4  จังหวะ  จังหวะการทำงานทั้ง  4  ของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน  4   จังหวะมีดังนี้

1.  จังหวะดูด   (Intake stroke) เมื่อลูกสูบเริ่มเคลื่อนที่ลง  ส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศ  (เครื่องยนต์ดีเซลจะดูดเฉพาะอากาศเพียงอย่างเดียว) จะถูกดูดเข้ามาในกระบอกสูบโดยผ่านลิ้นไอดี(intake vavle)  ซึ่งเปิดอยู่  ลิ้นไอดีจะปิดที่ประมาณปลายจังหวะดูด  (ใกล้ศูนย์ตายล่าง)

2.  จังหวะอัด (Compression stroke) เมื่อลูกสูบเริ่มเลื่อนขึ้น  ลิ้นทั้งสองทั้งลิ้นไอดีและลิ้นไอเสีย (Exhaust valve)  จะปิดส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศ (เครื่องยนต์ดีเซลจะเฉพาะอากาศเพียงอย่างเดียว)  จะถูกอัดจนกระทั่งใกล้ศูนย์ตายบน  ส่วนผสมจะถูกจุดโดยหัวเทียน  (เครื่องยนต์ดีเซลน้ำมันเชื้อเพลิงจะถูกฉีดเข้ามาโดยหัวฉีด)  การเผาไหม้จึงเริ่มขึ้น

3. จังหวะกำลัง ,  จังหวะระเบิด  (Power  stroke) เมื่อลูกสูบเริ่มเลื่อนลงลิ้นทั้งสองยังคงปิดอยู่  แรงดันของแก๊สที่เกิดจากการเผาไหม้  จะกระแทกลงบนหัวลูกสูบ  ผลักดันให้ลูกสูบเลื่อนลง  จนกระทั่งใกล้ศูนย์ตายล่าง ลิ้นไอเสียจะเปิด

4.จังหวะคาย, จังหวะไอเสีย (Exhaust  Stoke)    เมื่อลูกสูบเริ่มเลื่อนขึ้น  จะผลักดันให้ไอเสียที่ค้างในกระบอกสูบ  ออกไปภายนอกโดยผ่านลิ้นไอเสียที่เปิดอยู่  ลิ้นไอเสียยังคงเปิดอยู่จนกระทั่งลูกสูบเลื่อนผ่านศูนย์ตายบนไปเล็กน้อย  จากนั้นจะเป็นการเริ่มจังหวะดูดในรอบการทำงานต่อไป

 

กฎข้อที่หนึ่งและสองของเทอร์โมไดนามิก

เคยมีคนเคยกล่าวว่า "เวลาไม่เคยย้อนกลับ" ซึ่งก็เป็นจริงเช่นนั้น แสดงว่าเวลามีทิศทาง และไปในทิศทางเดียว ทดลองปล่อยไข่จากที่สูงลงไปในถ้วย ไข่จะแตกดังรูป เละเทะกระจัดกระจายตามพื้น คุณจะให้ไข่ที่แตกใบนี้กลับมาเป็นไข่ไก่ใบเดิมคงเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าคุณถ่ายวิดีโอไว้ และทำให้ภาพย้อนกลับ คุณสามารถทำได้ อย่างไรก็ตามคุณคงไม่ลืมว่า ไข่ใบเดิมได้แตกไปแล้วและไม่มีทางย้อนกลับมาได้อีกเลย เอนโทรปีแตกต่างจากพลังงานที่ว่า พลังงานเป็นไปตามกฎการอนุรักษ์ พลังงาน เพราะพลังงานในระบบปิดจะคงที่และอนุรักษ์ สำหรับกระบวนการที่ผันกลับไม่ได้ เอนโทรปีของระบบปิดจะเพิ่มขึ้นเสมอ ดังนั้น เอนโทรปีจึงถูกขนานนามว่า "ลูกศรของเวลา" ยกตัวอย่างการปล่อยไข่จากที่สูงเราสามารถบอกได้ว่า เอนโทรปีของระบบเพิ่มขึ้น อ่านต่อครับ

เมื่อคุณเปิดฝาจุกแชมเปญ มันจะเกิดเสียงดังป๊อปขึ้น และจุกจะกระเด็นออก ขณะเดียวกันมีของเหลวพุ่งเป็นฝอยตามขึ้นมา ให้คุณสังเกตที่รูปภาพมีกลุ่มของหมอกรอบๆฝาจุกด้วย สาเหตุของการเกิดกลุ่มหมอกมาได้อย่างไร นักฟิสิกส์สามารถอธิบายได้  อ่านต่อครับ

 

เอ็นโทรปี

17 ปีที่ค้นหา

                  

         โฉมหน้า  " ซาร์บัต  กูลา"   เด็กหญิงชาวอัฟกันที่ค่ายอพยพปากีสถานสมัยอายุ  13  ปี (ซ้าย)   ที่นิตยสาร  "เนชั่นแนล  จีโอกราฟฟิก"    เคยนำขึ้นปกเมื่อ  17  ปีที่แล้ว  ถือเป็นสัญญลักษณ์แทนชะตากรรมของผู้อพยพชาวอัฟกัน  เมื่อเร็วๆนี้  นิตยสารฉบับนี้ส่งทีมงานออกตามหา  เด็กหญิงนิรนามผู้นี้ไปทั่วอัฟกานิสถาน  เพื่อนำเธอขึ้นภาพปกอีกครั้ง  และก็ตามพบเด็กหญิงผู้นี้ซึ่งกลายเป็นคุณแม่ลูกสี่  ในวัย  30  ปี (ขวา)   แต่ดวงตากลมโต  สีเขียวใสของเธอยังแฝงแววรันทด  กร้านชีวิต  เป็นสื่อแทนชะตากรรมชาวอัฟกัน  ได้เหมือนเมื่อ  17  ปีก่อนไม่ผิดเพี้ยน  ภาพบนที่คุณเห็นนั้นมีความสัมพันธ์กับเรื่องเอ็นโทรปีอย่างลึกซื้ง  ซึ่งเอ็นโทรปีเป็นปริมาณทางฟิสิกส์ ที่ใช้วัดความมีระเบียบของระบบ  นักฟิสิกส์จะอธิบายความเกี่ยวเนื่องนี้ให้ทราบ  ลองกดรายละเอียด

การทดลองเสมือนจริง 

กระบวนการทางเทอร์โมไดนามิก

เข้าสู่การทดลองคลิกครับ

  • งานทั้งหมดในกระบวนการความดันคงที่ เป็นกี่จูล (สังเกตได้ที่หน้าจอหลังจากกระบวนการเสร็จสิ้นแล้ว)

ทดลองคำนวณงานให้ดูด้วย (โดยใช้ Vf  จากห้องทดลอง)

กำหนดให้  P =  10.8 x 106   Pa

Vi  =   1 x 10-3  m3

Vf  =   ______   m3

W  =  P(Vf - Vi)   =    _____จูล (คำนวณ)

งานที่ได้จากห้องทดลอง ______จูล


การทดลองเรื่อง เครื่องจักรสันดาปภายใน และกระบวนการความร้อนคงที่

กำเนิดเครื่องยนต์ดีเซล

      รถกระบะหรือรถโดยสาร และรถบรรทุกขนาดต่าง ๆ  ที่วิ่งอยู่บนท้องถนนที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้นั้น  ส่วนใหญ่แล้วรถเหล่านี้จะใช้เครื่องยนต์ดีเซล

      เครื่องยนต์ดีเซลเป็นผลผลิตของรูดอล์ฟ ดีเซล  เป็นเครื่องยนต์ที่มีความทนทานสมบุกสมบัน และให้แรงฉุดที่ดีกว่าเครื่องยนต์เบนซิน  ดังนั้น จึงเป็นเครื่องยนต์ที่เหมาะแก่การติดตั้งให้แก่รถที่ต้องใช้งานหนัก  เช่น รถกระบะหรือรถบรรทุกต่าง ๆ

      ข้อดีของเครื่องยนต์ดีเซลอีกประการหนึ่งก็คือ  น้ำมันที่ใช้กับเครื่องยนต์ชนิดนี้มีราคาถูกกว่าน้ำมันที่ใช้กับเครื่องยนต์เบนซิน

รูดอลฟ์ ดีเซล ผู้ทำให้เรามีเครื่องยนต์ดีเซลใช้จนถึงทุกวันนี้

     ก่อนหน้านี้...วันที่ 10 สิงหาคม 1893 เมื่อ 111 ปีที่แล้วน้ำมันไบโอดีเซลถูกนำมาทดลองใช้ในเครื่องยนต์เป็นผลสำเร็จครั้งแรกของโลก โดย "รูดอลฟ์ ดีเซล" ได้นำเครื่องยนต์ลูกสูบเดี่ยวที่ทำจากเหล็กยาว 3 เมตร โดยมีล้อเฟืองติดอยู่ที่ฐานมาทดลองใช้กับน้ำมันไบโอดีเซลได้เป็นผลสำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก ในเมืองอักส์บวร์ก ประเทศเยอรมนี และเพื่อเป็นการระลึกถึงความสำเร็จในครั้งนั้นทำให้วันนี้ถูกกำหนดให้เป็นวันไบโอดีเซลระหว่างประเทศ  คลิกอ่านต่อครับ


การทดลองเสมือนจริงเรื่องวัฏจักรคาร์โนต์

วัฏจักรคาร์โนต์

     ภายในห้องทดลองนี้  เรากำหนดค่าเริ่มต้น  TH (อุณหภูมิสูง)  =   500 K   และ   TL (อุณหภูมิต่ำ)  =  300 K   ให้คุณกดปุ่ม  RUN   และสังเกต จุดสีแดง     ขณะที่กำลังวิ่งไปบนเส้นสีแดง  ซึ่งเป็นกระบวนการแบบอุณหภูมิคงที่   เมื่อวิ่งสุดเส้นสีแดง ให้กดปุ่ม  Pause   เพื่อหยุดกระบวนการ  ในช่วงการเปลี่ยนแปลงที่เป็นสีแดง  TH  =  คงที่   Q >  0  แสดงว่ามีปริมาณความร้อนไหลเข้าสู่ระบบ   ก๊าซจะขยายตัวเพื่อรักษาอุณหภูมิให้คงที่   อย่างไรก็ตาม กระบวนการอุณหภูมิคงที่นี้    ความดันจะลดลง   งานจะเพิ่มขึ้น  W  >  0   โดยที่   การเปลี่ยนแปลงของพลังงานภายใน  U  = 0     กดที่รูปภาพหรือที่นี่เพื่อเข้าสู่การทดลอง


ตัวอย่าง    จงอธิบายการเปลี่ยนแปลงเอนโทรปีของชีวิตมนุษย์คนหนึ่ง เมื่อเปลี่ยนจากเด็ก ไปเป็นผู้หญิงสาวที่น่ารักและกำลังจะแต่งงาน ปรากฎการณ์นี้สอดคล้องกับกฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกหรือไม่อย่างไร

คำถาม   ความน่าจะเป็นที่จะให้ออกเป็นหัวและก้อยหมด  ของเหรียญจำนวน 5 อัน

ตอบ   เพิ่มเหรียญขึ้น 1 อัน  ความเป็นไปได้จะเพิ่มขึ้น 2  เท่า  จากความเป็นไปได้ของเหรียญจำนวน   4  อัน  ซึ่งมีความเป็นไปได้  16  แบบ  เมื่อคูณกับ  2  จะได้เป็น  32     ความน่าจะเป็นที่จะได้หัวกับก้อยหมดอย่างละหนึ่งรวมเป็น 2  ฉะนั้นจะได้ความน่าจะเป็น คือ  2 หารด้วย 32  และถ้าต้องการเป็นจำนวนเปอร์เซนต์ให้คูณด้วย 100  จะได้  6 %   มีต่อ


เครื่องยนต์ไอพ่นของเครื่องบินจัมโบ้ทำงานได้อย่างไร

พัดลมจะดูดอากาศเข้าไปในเครื่องยนต์  และอัดอากาศเข้าไปในห้องเผาไหม้ แล้วฉีดพ่นเชื้อเพลิง  ทำให้อากาศอัดติดไฟ  เกิดเป็นแก๊สร้อน  ในภาพเป็นเครื่องเทอร์โบแฟน มีพัดลมตัวใหญ่ดูดอากาศเข้าไป เพื่อให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพมากขึ้นและเสียงดังน้อยลง  ลำแก๊สร้อนความดันสูงจะถูกขับออกทางท้ายของเครื่องบิน และดันให้เครื่องบินพุ่งไปในทิศตรงกันข้าม


เครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ทำงานอย่างไร

       เมื่อคุณไปที่สนามบิน  คุณจะได้เห็นเครื่องบินวิ่งกันพล่านไปหมด แต่ที่คุณน่าจะสะดุดตามากสุด  ก็คือเครื่องยนต์รูปร่างเหมือนกับโอ่ง  ติดอยู่กับปีก 2 ข้างของเครื่องบิน   เครื่องยนต์นี้มีชื่อเรียกว่า เทอร์โบแฟน  (turbofan)   ส่วนใหญ่พวกเราจะเรียกกันว่า เครื่องยนต์เจ็ต   ซึ่งชื่อจริงของมันคือ  เครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์

         ฟิสิกส์ราชมงคลจะเปิดเผยความลึกลับภายในเครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์   ซึ่งเป็นเครื่องจักรความร้อนชนิดหนึ่ง  ที่ให้กำลังมหาศาล   และใช้ในเครื่องจักรที่เราคิดไปไม่ถึงอีกมากมาย  อาทิเช่น  เฮลิคอปเตอร์    โรงงานไฟฟ้าที่บางปะกง   และแม้แต่รถถัง  M-1  เป็นต้น

กดที่รูปภาพหรือที่นี่เพื่ออ่านต่อครับ


เครื่องยนต์โรตารี่ทำงานอย่างไร

(Rotary engines)

      บทนำ

      เครื่องยนต์โรตารี่ เป็นเครื่องยนต์แบบสันดาปภายใน   มีลักษณะการสันดาปแบบเดียวกันกับในรถคันโปรดของคุณ  แต่ว่ามันมีความแตกต่าง   เพราะมันไม่ใช่เครื่องยนต์แบบลูกสูบ

 สำหรับเครื่องยนต์แบบลูกสูบ   เราแบ่งการเผาไหม้ภายในลูกสูบออกเป็น  4  จังหวะ  คือ ดูด อัด  ระเบิด  และคาย  

ให้คุณคลิกที่ปุ่มสีแดง  เพื่อดูการเคลื่อนที่เป็นจังหวะ   หรือถ้าคลิกที่ปุ่มสีเขียวสามารถดูการเคลื่อนที่ได้อย่างต่อเนื่อง

     เครื่องยนต์โรตารี่ ได้แรงดันจากห้องเผาไหม้  ที่อยู่ภายในเสื้อโรเตอร์หรือห้องเผาไหม้  (Housing)   ซึ่งจะถูกชีลด์ไว้อย่างดี ไม่ให้มีการรั่วไหลของแก๊ส   ตัวโรเตอร์เทียบได้กับลูกสูบของเครื่องยนต์ลูกสูบ   โรเตอร์จะหมุนแบบเยื้องศูนย์ ซึ่งจะทำให้ขอบของโรเตอร์สัมผัสกับห้องเผาไหม้อยู่ตลอดเวลา   ตัวโรเตอร์ทำให้หัองเผาไหม้ถูกแยกออกเป็น  3  ห้อง  ขณะที่โรเตอร์หมุนอยู่  แต่ละห้องจะมีการหดและขยายตัวของแก๊สอยู่ตลอดเวลา   เราแบ่งจังหวะการเผาไหม้ออกเป็น  4  จังหวะ คือ ดูด อัด ระเบิด และคายไอเสีย   ผู้ที่คิดเครื่องยนต์โรตารี่ขึ้นเป็นคนแรกคือ    ดอกเตอร์  เฟลิค  แรงเคล  ( Felix  Wankel)  บางครั้งเราจึงเรียกเครื่องยนต์โรตารี่ว่า   เครื่องยนต์  แรงเคล  (Wankel  engine  หรือ Wankel  rotary  engine  ) เพื่อเป็นเกียรติกับท่าน

     ฟิสิกส์ราชมงคลจะไขปริศนาการทำงานของเครื่องยนต์โรตารี่  โดยพาท่านเข้าไปดูการทำงานภายใน  ซึ่งคุณจะได้เห็นความมหัศจรรย์ล้ำลึก  ในหน้าถัดไป  คลิกครับ


เครื่องปรับอากาศทำงานอย่างไร

แอร์แบบติดหน้าต่าง

      แอร์แบบนี้มีส่วนประกอบทั้งหมดประกอบเป็นชิ้นเดียวกัน  เพื่อประหยัดเนื้อที่   ติดตั้งอยู่บนกรอบของหน้าต่าง  ถ้าคุณเปิดฝาครอบออกมาจะพบว่า ภายในประกอบด้วย

  • คอมเพรสเซอร์ (Compressor)
  • วาวล์ขยาย (Expansion  valve)
  • คอนเดนเซอร์  ( Condenser)  นิยมเรียกว่า คอยส์ร้อน  ยื่นออกมาอยู่นอกตัวห้อง
  • คอยส์เย็น (Evaporator)
  • พัดลม  2  ตัว  ตัวหนึ่ง พัดคอยส์ร้อน  อีกตัวพัดคอยส์เย็น

ภายในของเครื่องปรับอากาศแบบหน้าต่าง

A) คอมเพรสเซอร์   B)  พัดลม   C) วาวล์ขยาย

D) คอยส์ร้อน    E)  คอยส์เย็น

      พัดลมเป่าคอยส์เย็น (สีน้ำเงิน)  ทำให้อากาศภายในห้องเย็นสบาย  ส่วนพัดลมอีกตัวพัดคอยส์ร้อน (สีแดง)  ความร้อนระบายออกภายนอก  โดยทั่วไปแอร์แบบหน้าต่างมีขนาดเล็กกว่า  10,000 บีทียู    อ่านต่อครับ


ตู้เย็น

(Refrigerator)

      บทนำ

      บ้านเกือบทุกหลังในประเทศไทย  ต้องมีตู้เย็นอย่างน้อย 1  ใบ  ให้คุณลองเอาหูไปแนบฟังข้างๆตู้เย็น   ทุกๆ 15 นาที  จะได้ยินเสียงหึ่งๆ ของมอเตอร์ไฟฟ้า  ถ้าเราไม่มีตู้เย็น  อาหารหลายอย่าง เช่น เนื้อ นม  และไข่  จะไม่สามารถเก็บอยู่ได้นาน

       ตู้เย็นเป็นสิ่งประดิษฐ์อันมหัศจรรย์ ที่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของมนุษย์  ซึ่งแต่ก่อนเราเก็บเนื้อโดยอาศัยเกลือ   มันทำให้รสชาติของเนื้อเสียไป  แต่ปัจจุบันเราใช้ตู้เย็นแทน

        ฟิสิกส์ราชมงคล จะเปิดเผยกลไกการทำงานของตู้เย็น  ในหน้าถัดไป

 คลิกครับ


เครื่องทำน้ำแข็ง

(Icemakers)

      บทนำ

เครื่องทำน้ำแข็งแบบอัตโนมัติทำได้ด้วยตนเอง 

ติดตั้งอยู่ในช่องแช่แข็ง

      ปัจจุบัน  ทุกๆสิ่ง ทุกๆอย่างล้วนสบาย   เรามีตู้เย็นไว้ใช้ในบ้าน ทำน้ำแข็งได้เองอย่างง่าย เพียงนำน้ำไปใส่ไว้ในถาด และไปไว้ในช่องแช่แข็งรอไม่นานนักก็ได้น้ำแข็งรับประทาน  สำหรับนักประดิษฐ์สมองใสวิธีง่ายๆแบบนี้ มันดูธรรมดาเกินไป 

      ฟิสิกส์ราชมงคล จะนำท่านไปดูการทำงานของเครื่องทำน้ำแข็งแบบอัตโนมัติ ตั้งแต่ขนาดเล็กกระทัดรัด สามารถทำได้เองที่บ้าน  จนถึงขนาดใหญ่ขึ้นผลิตได้ครั้งละมากๆที่ใช้สำหรับโรงแรม และโรงงาน  ซึ่งหลักการพื้นฐานนั้นแสนง่าย  ไม่ได้แตกต่างกับที่เราทำเองในถาด  เพียงแต่มันมีความพิศดารและแตกต่างกันอยู่บ้าง  ซึ่งจะได้อธิบายในหน้าถัดไป  คลิกครับ


รถยนต์

 ถึงแม้จะมีรถยนต์บางคันที่ใช้พลังงานจากมอเตอร์ไฟฟ้า  รถสมัยใหม่ส่วนมากก็ยังคงทำงานในวิธีเดียวกับรถรุ่นแรกๆ  ที่สร้างขึ้นเมื่อกว่าครึ่งศตวรรษมาแล้ว   เชื้อเพลิงที่เผาไหม้ทำให้ลูกสูบในเครื่องยนต์เคลื่อนที่ไปมา  เฟืองและชิ้นส่วนอื่นๆจะช่วยให้ลูกสูบสามารถขับเคลื่อนล้อไปได้    ฟิสิกส์ราชมงคลจะไขปริศนาภายใน  โดยแยกให้เห็นชิ้นส่วนแต่ละชิ้น หลักการทำงานพื้นฐานของมัน   ให้คุณได้ทราบอย่างละเอียดในหน้าถัดไป  คลิกครับ


เครื่องจักรไอน้ำ

      บทนำ

      กาลครั้งหนึ่ง  เครื่องจักรไอน้ำเป็นที่นิยมใช้กันมาก   มันถูกประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกโดยนาย  โทมัส นิวคอแมน  (Thomas Newcoman )  ในปี ค.ศ.  1705   ต่อมา นาย เจมส์ วัตต์   ได้พัฒนาเครื่องจักรไอน้ำขึ้นในปี   1976   ซึ่งคนหลังเราได้นำชื่อของท่านมาใช้เป็นหน่วยของกำลังไฟฟ้า   ตัวอย่างเช่น   หลอดไฟขนาด  60  วัตต์เป็นต้น

      เครื่องจักรไอน้ำเป็นเครื่องจักรยุคแรกๆที่มนุษย์รู้จัก   เช่น รถจักรไอน้ำ   รถไฟไอน้ำ   เรือกลไฟ  และ  เครื่องจักรในโรงงาน  ที่เป็นยุคเริ่มต้นของอุตสาหกรรมแทบทุกแขนง   ฟิสิกส์ราชมงคลจะนำท่านไปสู่กลไกของเครื่องจักรไอน้ำ   ในหน้าถัดไป

สำหรับรถไฟไอน้ำ   ส่วนที่เป็น ครอสเฮด  ต่อเข้ากับ  ก้านขับ  (Drive  rod)   เพื่อไปหมุนขับล้อ   ส่วนอีกด้านหนึ่งไปต่อเข้ากับก้านวาวล์

คลิกครับเพื่ออ่านต่อ


เครื่องจักรกลของวัตต์ ( Watt's Engine) 

        ประมาณปี ค.ศ. 1770 มหาวิทยาลัยเอดินเบอร์กได้มอบรางวัลแก่ผู้ที่คิดค้นเครื่องมือที่ยอดเยี่ยม คือ เจมส์ วัตต์ ( James Watt) ผู้ซึ่งได้ทำการศึกษาและพัฒนางานของนิวโคเมนให้สมบูรณ์ ( Perfecting Newcomen) วัตต์ได้สังเกตว่า ส่วนใหญ่ของปัญหาได้เกิดขึ้น เมื่อหม้อต้ม (boiler) ได้ถูกทำให้เย็นลงโดยทันที ดังนั้นเขาจึงได้เคลื่อนย้ายไอน้ำไปยังห้องใหม่ ซึ่งวัตต์ได้ตั้งชื่อหม้อไอน้ำนี้ว่า คอนเดนเซอร์ (condenser) ระยะจากจุดเริ่มต้น ที่ไอน้ำได้รับความเย็นและทำให้เกิดเป็นสุญญากาศ ช่วยให้ลูกปืนหมุน ซึ่งในขณะนั้นหม้อต้มยังร้อนอยู่ ทำให้มีพลังงานมากกว่าการค้นพบของนิวโคเมนเป็นสามเท่า ยิ่งกว่านั้นยังทำให้อันตรายจากการระเบิดต่ำมาก ในปี ค.ศ. 1782 เครื่องยนต์ของวัตต์ที่สร้างเสร็จสมบูรณ์แบบในทุกๆจุด ได้ถูกนำออกใช้โดยทั่วไป


 เครื่องจักรเสตอริ่ง

         เครื่องจักรสเตอริ่ง เป็นเครื่องจักรความร้อนชนิดหนึ่ง  ที่แตกต่างจากเครื่องจักรสันดาปภายใน  ซึ่งใช้อยู่ในรถยนต์ทั่วๆไป    นายโรเบิร์ต สเตอริ่งเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องจักรสเตอริ่งได้เป็นคนแรก เมื่อปี ค.ศ. 1816   น่าแปลกใจที่ว่า เครื่องจักรสเตอริ่งนี้มีประสิทธิภาพสูงกว่า  เครื่องจักรก๊าซโซลีนหรือดีเซล   และยังไม่มีเสียงอีกด้วย  

            เครื่องจักรสเตอริ่งดังรูป  สามารถหมุนได้  โดยอาศัยความร้อนที่ได้จากมือ และความเย็นจากอากาศรอบนอกระบายความร้อนเท่านั้น คลิกอ่านต่อครับ

Fountain effect  หรือน้ำพุของฮีเลียม  เกิดจากฮีเลียมเหลวที่อุณหภูมิ  1.2  เคลวิน  ที่อุณหภูมิต่ำขนาดนี้  ฮีเลียมจะไม่มีแรงเสียดทาน  และมีพฤติกรรมประหลาดๆ

ระหว่างการผ่าตัด  แบบ  hypothemia   ศัลยแพทย์จะลดอุณหภูมิของคนไข้ลง    การผ่าตัดแบบนี้ใช้กับสมองและหัวใจ ที่ต้องหยุดการไหลเวียนของโลหิตเป็นเวลานาน    เมื่ออุณหภูมิลดลง อวัยวะต่างๆในร่างกายก็ต้องการออกซิเจนน้อยลง    โดยทั่วไป  การผ่าตัดหัวใจ จะลดอุณหภูมิลงเหลือ  10  ถึง  15  องศาเซลเซียส เทียบกับอุณหภูมิร่างกายที่  37   องศาเซลเซียส

ธาตุ แกลเลียม (gallium)   มีค่าความร้อนแฝงของการหลอมเหลว  =   80 kJ/kg   และมีอุณหภูมิหลอมเหลวที่  29.8  องศาเซลเซียส   มันหลอมเหลวอยู่บนมือได้

กล้องโทรทัศน์ฮับเบิลเมื่ออยู่ในอวกาศ  จะต้องเผชิญกับความร้อนของดวงอาทิตย์อย่างเต็มๆ  ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์ใช้แผ่นโลหะสะท้อนแสงที่มีขนาดบางมากห่อหุ้มตัวกล้องโทรทัศน์ไว้ ซึ่งจะช่วยสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์  และป้องกันอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ภายในไม่ให้มีความร้อนมากจนเกินไป

ภาพถ่ายความร้อน  ของสุนัข  ภาพนี้ถ่ายโดยการแปลสัญญาณของคลื่นอินฟาเรดที่เปล่งออกมาจากตัวของสุนัข

ภาพเปลวเทียนที่ส่องสว่างอยู่ในอวกาศ  ภายในยานขนส่งอวกาศที่กำลังโคจรรอบโลก    อากาศร้อนจะลอยตัวสูงขึ้น  อากาศเย็นจะเข้าไปแทนที่  และออกซิเจนในอากาศจะทำให้เปลวไฟติดอยู่ตลอด   สังเกตว่าเปลวไฟเป็นรูปทรงกลมไม่เหมือนกับบนโลก  เพราะอะไร

เทอร์โมไดนามิกส์เคมี (Chemical Thermodynamics)

เรียบเรียงโดย ดร. รักชาติ ไตรผล

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก

กฎของเทอร์โมไดนามิกส์ (Laws of Thermodynamics)

           โดยทั่วไปแล้วเราจะรู้กันโดยทั่วไปว่ากฎของเทอร์โมไดนามิกส์นั้นมีอยู่ 3 ข้อ ซึ่งเราจะได้เรียนรู้ถึงแนวคิดและความสำคัญของกฎแต่ละข้อต่อไป แต่ก่อนอื่นเราควรที่จะมาเรียนรู้กฎข้อที่ ศูนย์ ของเทอร์โมไดนามิกส์ก่อน (ที่เป็นกฎข้อที่ ศูนย์ ก็เพราะว่าแนวคิดนี้จริงๆแล้ว เป็นส่วนหนึ่งของกฎข้อที่ 1)

            1. กฎข้อที่ ศูนย์ กล่าวว่า "หากเรามีระบบ (หรือวัตถุ) อยู่ 3 ระบบ เช่น ระบบ ก, ข, ค แล้วระบบทั้งสามนี้สัมผัสกันอยู่และสามารถถ่ายเทความร้อนไปมาระหว่างกันได้ ถ้าหากว่า ระบบ  กับ ระบบ  อยู่ในสภาวะสมดุลกันทางความร้อน (มีความร้อนเท่ากันนั่นเอง) และ ระบบ กับ ระบบ  อยู่ในสภาวะสมดุลกันทางความร้อนเช่นกัน นั่นย่อมหมายความว่า ระบบ ก กับ ระบบ  อยู่ในสภาวะสมดุลกันทางความร้อนเหมือนกัน"   คลิกอ่านต่อค่ะ

สารบัญกระดานฟิสิกส์ราชมงคล 

ฟองเบียร์ 

เมื่อคุณสังเกตฟองเบียร์ในแก้วด้วยความตั้งใจ  คุณจะเห็นว่า ขณะที่ฟองกำลังลอยขึ้นจากข้างล่างของแก้วนั้น ฟองจะมีขนาดโตขึ้นและมีขนาดใหญ่ขึ้นก่อนจะถึงผิวด้านบนของเบียร์  ขณะเดียวกันความเร็วก็จะเพิ่มขึ้นด้วย  คุณคงจะสงสัยว่าทำไม?

กระดานฟิสิกส์ราชมงคลใหม่

วีดีโอการศึกษา

        วีดีโอที่เห็นเป็นไฟกำลังไหม้ตึก ควันสีเทาขาวม้วนตัวตีขึ้นสู่เบื้องบน ในไม่ช้าก็มีเครื่องบินอีกลำหนึ่งบินเข้ามาจากด้านขวา แล้วหักเลี้ยวซ้ายพุ่งเข้าสู่อาคารแฝดที่ตระหง่านอยู่ข้างกัน ชั่วอึดใจถัดมา ก็มีการระเบิดของตึกดังกล่าว หลังจากการชนครั้งที่ 2 ไม่ถึงชั่วโมง ตึก 2 ก็ถล่มยุบลง ส่วนตึก 1 ที่ถูกชนก่อน ยืนหยัดอยู่ได้ประมาณ 1 ชั่วโมงเศษจึงถล่มตามลงมา การก่อวินาศกรรมตึกแฝดเวิลด์ เทรด เซ็นเตอร์ที่มหานครนิวยอร์กได้เกิดขึ้นแล้ว พร้อมกับคำถามมากมาย โดยเฉพาะกับข้อสงสัยที่ว่า ตึกอันสูงสง่าเช่นนี้ ถึงกาลอวสานได้อย่างไร! คลิกครับ (windows media 6.3 MB)

   เพราะเหตุใดตึกทั้งคู่จึงยุบตัว? คำตอบคือ อัคคี! เครื่องบินโบอิ้ง 767-200ER ทั้งสองลำนั้นมีขนาดปลายปีกจรดปลายปีกประมาณ 47.6 เมตร ยาว 48.5 เมตร จุผู้โดยสารมากที่สุด 255 คน น้ำหนักบรรทุกสูงสุดประมาณ 18,000 กิโลกรัม ซึ่งเป็นเที่ยวบินที่เติมน้ำมันเต็มถังถึง 90,000 ลิตร เครื่องบินแบบนี้ก็คือ “ระเบิดบิน” อย่างแท้จริง เมื่อมันชนกับตึกด้วยความเร็วกว่า 570 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ประกายไฟทำให้น้ำมันลุกติดอย่างรุนแรง เกิดเป็นระเบิดไฟโหมอย่างบ้าคลั่ง ในที่สุดความร้อนได้พุ่งขึ้นสูงถึงอุณหภูมิ 800 oC ชมวีดีโอสาเหตุที่แท้จริงของการพังทะลาย คลิกครับ (windows media 3.2 MB)

สตรีที่หายไป

     โฉมหน้า " ซาร์บัต กูลา" เด็กหญิงชาวอัฟกันที่ค่ายอพยพปากีสถานสมัยอายุ 13 ปี (ซ้าย) ที่นิตยสาร "เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก" เคยนำขึ้นปกเมื่อ 17 ปีที่แล้ว ถือเป็นสัญญลักษณ์แทนชะตากรรมของผู้อพยพชาวอัฟกัน เมื่อเร็วๆนี้ นิตยสารฉบับนี้ส่งทีมงานออกตามหา เด็กหญิงนิรนามผู้นี้ไปทั่วอัฟกานิสถาน เพื่อนำเธอขึ้นภาพปกอีกครั้ง และก็ตามพบเด็กหญิงผู้นี้ซึ่งกลายเป็นคุณแม่ลูกสี่ ในวัย 30 ปี (ขวา) แต่ดวงตากลมโต สีเขียวใสของเธอยังแฝงแววรันทด กร้านชีวิต เป็นสื่อแทนชะตากรรมชาวอัฟกัน ได้เหมือนเมื่อ 17 ปีก่อนไม่ผิดเพี้ยน  ขนาด3.3  MB  คลิกครับ

 

เครื่องจักรไอน้ำ

     การประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำเกิดขึ้นมาเป็นเวลาหลายพันปี  โดยนายฮีโร่  ลักษณะเป็นกงล้อหมุนด้วยแรงดันไอน้ำ เพื่อถวายเป็นของเล่นของจักรพรรดิ  และไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์อื่นๆอีก   ต้องใช้เวลากว่า 2000ปี  จึงสามารถนำมาใช้งานจริงได้    ปี  1712  นายโทมัส นิวคอแมน ได้สร้างเครื่องจักรไอน้ำประกอบด้วยโซ่  และลูกสูบ  ใช้สำหรับสูบน้ำในเหมือง   ต่อมาได้มีการสร้างเรือกลไฟ   และรถไฟไอน้ำ   คลิกครับ ขนาด 4.6 MB

 
 

กฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิก

       กล่าวไว้ว่า ไม่มีเครื่องจักรความร้อนใดๆในโลก  สามารถเปลี่ยนความร้อนทั้งหมดไปเป็นงานทางกลศาสตร์   หรือไม่มีเครื่องจักรใดที่มีประสิทธิภาพ 100  %    ในวีดีโอยังพูดถึงเอนโทรปีด้วย  คลิกครับ

รถยนต์

     นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศส  ได้สร้างรถยนต์ใช้พลังงานไอน้ำสำเร็จเป็นคนแรก  ต่อมาชาวเยอรมัน นายคาร์ลเบนซ์   ได้ประดิษฐ์รถยนต์ที่ใช้น้ำมัน   คนนิยมใช้กันมาก  และถือเป็นบิดาทางรถยนต์   อีกท่านหนึ่งคือ นายเฮนรี่ฟอร์ด   ผู้ประสบความสำเร็จในการผลิตรถยนต์รุ่นฟอร์ด T  สายการผลิตของเขาถือเป็นต้นแบบของวงการอุตสาหกรรม  คลิกครับ ขนาด 3 MB

แผ่นใสการเรียนการสอน

     แผ่นใส เรื่อง อุณหภูมิ  ความร้อน  และกฎข้อที่หนึ่งของเทอร์โมไดนามิก   จำนวน 62   แผ่น คลิกครับ ของ  รศ.พินพรรณ  วิศาลอัตถพันธุ์
 

เอนโทรปี

และกฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิก

    กล่าวถึงความหมายของเอนโทรปี  การเปลี่ยนแปลงเอนโทรปี  ตัวอย่างการคำนวณ  กฎข้อที่สองของอุณหพลศาสตร์  กลจักรคาร์โนต์  ความน่าจะเป็น  และอื่นๆอีกมากมาย  ภาษาอังกฤษทั้งหมด  ของ รศ. พินพรรณ  วิศาลอัตถพันธุ์  จำนวน 76  แผ่น คลิกค่ะ

 

กฎข้อที่หนึ่งของเทอร์โมไดนามิกส์

      ระบบทางความร้อน   ตัวแปรของระบบ   งานในทางอุณหพลศาสตร์  สมการทางความร้อน  แผนภาพความดัน-ปริมาตร  งานขึ้นกับเส้นทาง  การกำหนดเครื่องหมายในสมการ   การระเหยของเหงื่อ   ของคณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  จำนวน  47 แผ่น คลิกค่ะ

 

กฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกส์

      เครื่องจักรความร้อน   ประสิทธิภาพของเครื่องจักร   กระบวนการความร้อนคงที่   เครื่องยนต์ 4  จังหวะ  วัฏจักรดีเซล    ตู้เย็น    ความหมายของกฏข้อที่สอง   ของคณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  จำนวน  51  แผ่น คลิกค่ะ

กระบวนการความร้อนคงที่

     กระบวนการความร้อนคงที่   สำหรับแก๊สอุดมคติ    Q = 0  

     วาดกราฟระหว่าง  P  กับ  V   เส้นกราฟที่ได้ขณะกำลังอยู่ในช่วงขยายตัว  เส้นกราฟจะตกลงเร็วกว่า  เมื่อเทียบกับกราฟ   PV   =  คงที่

     จากกฎข้อที่หนึ่งของเทอร์โมไดนามิก  จะได้

    สำหรับช่วงการอัด   

     สำหรับช่วงการขยายตัว

   

กดที่รูปภาพหรือที่นี่เพื่อเข้าสู่การทดลอง
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=816

อัพเดทล่าสุด