กระป๋องสเปรย์ทำงานอย่างไร กลศาสตร์ของไหล
ภาพประจำสัปดาห์
กระป๋องสเปรย์ทำงานอย่างไร
เมื่อพูดถึงคนที่ชื่อว่า อีริค รอทเท็ม ( Eric Rotheim) คงจะไม่มีคนรู้จัก แต่ถ้าพูดถึงงานของเขา คุณจะไม่สงสัยในงานของเขาเลย รอทเท็มเป็นวิศวกรและนักประดิษฐ์ชาวนอรเวย์ เมื่อ 75 ปีก่อนเขาได้ประดิษฐ์กระป๋องสเปรย์เป็นคนแรก
กระป๋องสเปรย์ของรอทเท็มซึ่งเป็นต้นแบบของกระป๋องสเปรย์ในปัจจุบัน
กระป๋องสเปรย์ของรอทเท็มตอนที่ประดิษฐ์ออกมาใหม่ๆ ไม่มีใครให้ความสนใจ ต้องรอจนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อกองทัพสหรัฐต้องออกไปปฏิบัติหน้าที่นอกประเทศ ได้ใช้กระป๋องนี้บรรจุยาฆ่าแมลง ช่วยให้ทหารอมริกาในภาคพื้นแปซิฟิคสามารถฉีดยาฆ่าแมลงได้อย่างสะดวก รบกับญี่ปุ่นได้อย่างสบายใจ
ภายหลังสงคราม ภาคอุตสาหกรรม ได้นำกระป๋องสเปรย์ไปประยุกต์ในงานอื่นๆอีกมากมาย ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์นับเป็นพันๆชนิดที่บรรจุอยู่ในกระป๋อง ตั้งแต่น้ำยาฉีดผ้าให้เรียบ น้ำมันพืช ครีมโกนหนวด ไปจนถึงยาพ่นจมูก
ฟิสิกส์ราชมงคลจะเปิดภายในกระป๋อง และไขความลับภายในกระป๋องให้คุณได้ทราบ ว่าการทำงานเป็นอย่างไร ในหน้าถัดไป
แรงดันของน้ำที่กระทำกับร่างกายของนักดำน้ำตัวเปล่าจะเพิ่มขึ้นเมื่อพวกเขาดำน้ำลึกลงไปเรื่อย ๆ ทำให้พวกเขาไม่สามารถจะดำน้ำลึกโดยอยู่เป็นเวลานาน ๆ ได้ ในปี ค.ศ.1975 ได้มีการใช้อุปกรณ์ช่วยดำน้ำซึ่งมีส่วนสำคัญที่สุดคือถังที่ช่วยในการหายใจ ภายในถังบรรจุแก๊สที่ช่วยนักดำน้ำให้หายใจในน้ำลึกได้ ปรากฏว่าเมื่อนายวิลเลียม โรด ใช้อุปกรณ์ดังกล่าว สามารถทำสถิติดำน้ำลงไปได้ลึกถึง 1148 ฟุต ในอ่าวเม็กซิโกได้สำเร็จ นายวิลเลียมเป็นนักดำน้ำมืออาชีพซึ่งจะต้องเสี่ยงอันตรายกับแรงดันของน้ำลึกแต่เขาก็ไม่เคยประสบอันตรายจนเสียชีวิต น่าแปลกใจที่ว่านักดำน้ำสมัครเล่นที่ก่อนจะไปดำน้ำลึกจะต้องฝึกดำน้ำในสระก่อน แต่พบว่าพวกนี้มีโอกาสที่จะประสบอันตรายได้มากกว่านายวิลเลียมเสียอีก และบ่อยครั้งที่นักดำน้ำสมัครเล่นเสียชีวิตเพราะไม่ได้คำนึงถึงอันตรายเหล่านี้ อันตรายที่ว่านี้คืออะไร ? มีต่อครับ
| แบบฝึกหัดประจำสัปดาห์ การประยุกต์ใช้กฎของอาร์คีมีดีส พบในแบตเตอรี่รถยนต์ เพื่อจะคอยเตือนเจ้าของรถให้ชาร์จแบตได้แล้ว แบตเตอรี่พวกนี้จะมีช่องบอกสภาวะของแบตดังรูป ถ้าแบตเตอรี่ได้รับการชาร์จจนเต็ม ความหนาแน่นของกรดจะมากพอที่จะยกลูกบอลสีเขียวให้ลอยขึ้นมา เมื่อมองผ่านช่องจะเห็นสีเขียว แสดงว่าแบตเตอรี่ใช้ได้อยู่ แต่เมื่อใช้แบตไปได้ระยะหนึ่ง ความหนาแน่นของกรดจะลดลง ลูกบอลสีเขียว จะจมลง เมื่อมองผ่านช่องจะเห็นเป็นสีดี แสดงว่าเตรียมชาร์จแบตได้แล้ว | |
การทดลองเสมือนจริง ข้อสำคัญ การทดลองนี้ต้องใช้โปรแกรม Shockwave player ถ้าไม่สามารถเห็นภาพได้ต้องดาวโลด Shockwave player จึงจะสามารถเล่นได้พร้อมทั้งมีเสียงประกอบด้วย ทดสอบความหนาแน่นผ่านทางอินเตอร์เน็ต เราจะทดสอบว่า วัตถุลอยหรือจมในของเหลวที่สามารถปรับค่าความหนาแน่นได้อย่างไร กดปุ่มบนเพื่อลัดเข้าสู่การทดลอง คุณสามารถลากและปล่อยวัตถุลงในบีกเกอร์ เพื่อหาปริมาตร หรือนำไปไว้บนเครื่องชั่ง เพื่อหามวล และนำค่าที่ได้ไปคำนวณหาความหนาแน่น ความหนาแน่นของน้ำบริสุทธิ์คือ 1 กรัมต่อซีซี วิธีทดลอง คลิ๊กเมาส์ค้างไว้ ที่วัตถุและลากไปบนเครื่องชั่งหรือบีกเกอร์ เพื่อหามวลและปริมาตร คุณสามารถวัดปริมาตรโดยสังเกตจากหน่วยมิลลิลิตรของน้ำที่ถูกวัตถุแทนที่ในบีกเกอร์ และถ้าต้องหาความหนาแน่น ให้นำมวลหารด้วยปริมาตรที่ได้ ความหนาแน่นของน้ำบริสทุธิ์ คือ 1 กรัมต่อซีซีหรือ 1 กรัมต่อมิลลิลิตร วัตถุที่สามารถลอยน้ำได้ความหนาแน่นจะต้องน้อยกว่าน้ำ ให้บันทึกค่าความหนาแน่นของวัตถุรูปทรงต่างๆ และทดลองดูว่ามันจมหรือลอยเมื่อนำไปไว้ในของเหลว มีคำอธิบายต่อ หรือให้กดที่รูปภาพ สมบัติเชิงกลของสสาร ของอาจารย์ทศพล วงศ์อุดม และ อาจารย์ สุขสันต์ ใจซื่อ ต้องขอขอบคุณมากครับ ปริศนาสวัสดีท่านอาร์คิมีดีส และท่านแบร์นูลลี ปริศนาของเหลวและก๊าซ ปริศนาเหินฟ้านภากาศ ระบบเบรกทำงานอย่างไร เมื่อเราเหยียบเบรก ความเร็วของรภจะลดลง และหยุดในที่สุด แต่คุณทราบไหมว่า มีอะไรเกิดขึ้นบ้างขณะที่คุณเหยียบมัน แรงที่เท้าของคุณส่งไปที่ล้อได้อย่างไร และทำไมเกิดแรงมากมายที่สามารถหยุดรถขนาดหนักเป็นตันได้ รูปที่ 1 ระบบเบรกทั้งหมดของรถ ฟิสิกส์ราชมงคล จะต่อสายโซ่ของความสัมพันธ์ จากจุดที่เท้าเหยียบ จนไปถึงล้อ และอธิบายส่วนต่างๆของระบบเบรกให้คุณได้ทราบ ในหน้าถัดไป เรือดำน้ำ บทนำ เรือดำน้ำเป็นเทคโนโลยีที่แสนมหัศจรรย์ล้ำลึกลงไปถึงใต้ก้นมหาสมุทร แต่ก่อนการรบกันของมนุษย์จำกัดอยู่แต่เพียงบนบก แต่เมื่อมีเรือดำน้ำ โลกของการรบใต้น้ำก็ถือกำเนิดขึ้น ไม่เพียงแต่ใช้ในการสงครามเท่านั้น แม้แต่การกบดานอยู่ใต้น้ำ เป็นเดือนและปี โดยไม่โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำเลยก็เป็นไปได้ เรือดำน้ำกำลังพุ่งขึ้นเหนือน้ำอย่างรวดเร็ว ฟิสิกส์ราชมงคล จะอธิบายหลักการทำงานของเรือดำน้ำ การเคลื่อนที่ และการดำรงชีวิตอยู่ภายใน พร้อมกับการบอกเล่าเรื่องราวการใช้พลังงานของเรือดำน้ำ และการช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงานภายในเมื่อเรือดำน้ำเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันจมดิ่งลงสู่ท้องทะเล ในหน้าถัดไป เครื่องจักรไฮดรอลิค (Hydraulic) บทนำ ในสถานที่ก่อสร้าง คุณคงได้เห็นความแข็งแกร่งของเครื่องจักรไฮดรอลิค ตั้งแต่ เครื่องตัก เครื่องขุด และเครื่องไถ หรือแม้แต่เครื่องบินภายในก็มีอุปกรณ์ไฮดรอลิคมากมาย ไม่ต้องไปดูอื่นไกลให้คุณลองเปิดฝากระโปรงรถ สังเกตให้ดีจะเห็นอุปกรณ์ไฮดรอลิค เช่น ระบบเบรก เกียร์ออโต้ เกียร์กระปุก จนถึงระบบเลี้ยวเป็นต้น ฟิสิกส์ราชมงคล จะนำพื้นฐานของระบบไฮดรอลิค มาเปิดเผยให้คุณทราบ โดยแกะชิ้นส่วนแต่ะละชิ้นให้คุณเห็นว่ามันทำงานได้อย่างไร และคุณจะทึ่งกับความมหัศจรรย์ของมันได้ในหน้าถัดไป รูปที่ 1 คลิกครับ ปั่นจั่นไฮดรอลิค (Hydraulic-Crane) บทนำ คลื่นยักษ์สึนามิถล่มชายหาด ถนนหนทางเต็มไปด้วยซากปรักหักพัง รถบรรทุกทั้งคัน ถูกคลื่นยักษ์ซัดพลิกหงายท้องอยู่บนถนน สังเกตน้ำหนักของมันไม่ต่ำกว่า 10 ต้น การจะยกรถทั้งคันนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ทีมกู้ภัยยกมือถือโทรไปเรียกหาปั่นจั่น ไฮดรอลิค อย่างรีบด่วน ปั่นจั่นไฮดรอลิคสามารถยกน้ำหนักขนาดมากกว่า 10 ตันได้อย่างสบาย หลักการพื้นฐานของปั่นจั่นมาจากฟิสิกส์ของของไหล ปั่นจั่นถูกขนานนามว่า เป็นซุปเปอร์แมนตัวจริง เพราะมันสามารถยกน้ำหนักที่มนุษย์ไม่สามารถยกได้ มันยังมีความสามารถยกสะพานได้ทั้งอัน เคลื่อนย้ายเครื่องจักรขนาดยักษ์ หรือแม้แต่บ้านทั้งหลัง เรานิยมเรียกปั่นจั่นไฮดรอลิคว่า เครน น้ำหนักที่เครนยกได้นั้นดูได้จากชื่อของมัน เช่น เครนขนาด 40 ตัน หมายความว่า สามารถยกน้ำหนักได้ 40 ตันเป็นต้น ฟิสิกส์ราชมงคล จะเปิดเผยหลักการทำงานของปั่นจั่น ว่ามันเกี่ยวข้องกับฟิสิกส์ของของไหลได้อย่างไร และทำไมถึงยกน้ำหนักได้มากมายในหน้าถัดไป คลิกครับ รถแบ็กโฮ ถ้าคุณสงสัยเรื่องรถแบ็กโฮ ลองสอบถามคนข้างๆครับ แต่เชื่อเลยว่าน้อยคนที่จะตอบได้มันคืออะไร ทำงานได้อย่างไร รถแบ็กโฮทำงานขุด เจาะ ทุบ และยกน้ำหนักมากๆได้อย่างสบาย นิยมใช้ในงานก่อสร้าง อาทิเช่น ตึก ถนน และ ขุดร่องสวน เป็นต้น รถแบ็กโฮมีหลากหลายแบบ แต่ละแบบใช้งานแตกต่างกัน ที่มันสามารถทำงานขนาดน้ำหนักเป็นตันได้ กำลังของมันได้มาจากไหน? ฟิสิกส์ราชมงคลจะบอกเล่าการทำงานของรถแบ็กโฮ และการควบคุมซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ยากนัก เมื่อคุณเห็นมันอยู่ข้างหน้า คุณจะได้รู้จักมันมากกว่านี้ หรือถ้าเป็นไปได้ กระโดดขึ้นไปขับด้วยตนเอง ในหน้าถัดไป รถแบ็กโฮกำลังทำงาน แบบจำลองเสมือนจริง สำหรับการบังคับรถแบ็กโฮ ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=817 | | | | | |