ไฟฟ้าสถิต


664 ผู้ชม


ก่อนศตวรรษที่ 17 การศึกษาเรื่องแสงเชื่อกันว่า แสงเป็นอนุภาคที่ถูกส่งออกมาจากต้นกำเนิดแสง แสงสามารถผ่านทะลุวัตถุโปร่งใสและสะท้อนจากผิวของวัตถุทึบแสงได้ เมื่ออนุภาคเหล่านี้ผ่านเข้าสู่ตาจะทำให้เกิดความรู้สึกในการมองเห็น   

แสง


     ก่อนศตวรรษที่ 17 การศึกษาเรื่องแสงเชื่อกันว่า แสงเป็นอนุภาคที่ถูกส่งออกมาจากต้นกำเนิดแสง แสงสามารถผ่านทะลุวัตถุโปร่งใสและสะท้อนจากผิวของวัตถุทึบแสงได้ เมื่ออนุภาคเหล่านี้ผ่านเข้าสู่ตาจะทำให้เกิดความรู้สึกในการมองเห็น
     นิวตัน (Newton) ได้เสนอทฤษฎีอนุภาคของแสง (particle theory) ซึ่งสามารถนำไปใช้อธิบาย ปรากฏการณ์สะท้อนและการหักเหของแสง
     ฮอยเกนส์ ( Christain Huygen) ได้เสนอทฤษฏีเกี่ยวกับคลื่นแสง (Waves Theory) กล่าวว่าแสงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และเดินทางในลักษณะของคลื่น นอกจากนี้ยังได้แสดงให้เห็นว่า กฎการสะท้อน และการหักเหสามารถอธิบายได้โดยใช้ทฤษฎีคลื่นแสง
      ทอมัส ยัง (Thomas Young) ได้ค้นพบปรากฏการณ์การแทรกสอดของแสง
      เฟรสเนล (Augustin Fresnel) ได้ทำการทดลอง เกี่ยวกับการ แทรกสอด และการเลี้ยวเบนของแสง
      แสงช่วงที่ตาสามารถ มองเห็นมีค่าอยู่ระหว่าง 400 – 700 นาโนเมตร และมีความถี่อยู่ในช่วง 103-105 เฮิรตซ์ โดยแสงสีม่วงซึ่งมีความยาวคลื่นน้อยที่สุด หรือ ความถี่สูงสุด ส่วนแสงสีอื่น ๆ ให้สเปคตรัมของแสงในช่วงนี้ก็มีความยาวคลื่นสูงขึ้นตามลำดับ จนถึงแสงสีแดงมีความยาวคลื่นมากที่สุดหรือมีความถี่ต่ำที่สุด ดังรูป
 

รูปที่ 1 แสดงคลื่นเม่เหล็กไฟฟ้าช่วงที่ตามองเห็น

  คลิกอ่านต่อครับ

โดย ผศ.ปรียา อนุพงษ์องอาจ


แสง

คลื่นที่เปิดเผยความมหัศจรรย์ของเอกภพ

                แสงประกอบด้วยคลื่นเช่นเดียวกับคลื่นวิทยุ  คลื่นรังสีความร้อน  คลื่นรังสีอุลตราไวโอเลต  คลื่นรังสีเอ๊กซ์  และคลื่นรังสีแกมมา  คลื่นทุกชนิดเหล่านี้คือคลื่นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นต่างๆ  กัน  ประสาทตาของเราไม่มีความไวต่อคลื่นวิทยุและคลื่นความร้อน  เพราะมีความยาวคลื่นยาว  ส่วนคลื่นแสงมีความยาวคลื่นพอเหมาะกับประสาทตา  ฉะนั้นตาจึงมีความไวต่อแสง  รังสีเอ๊กซ์และรังสีแกมมามีความยาวคลื่นสั้นเกินไป  จึงไม่กระตุ้นประสาทตาเช่นเดียวกับคลื่นแสง  ถ้าสังเกตดูความยาวคลื่น  ตั้งแต่คลื่นยาวมากเช่นคลื่นวิทยุ  จนถึงคลื่นที่สั้นมาก  เช่น  คลื่นรังสีเอ๊กซ์  และรังสีแกมมา จะเห็นว่าคลื่นยิ่งสั้นยิ่งมีพลังงานมากขึ้นทุกที  ตัวอย่าง  เช่น  รังสีอุลตราไวโอเลตที่มองไม่เห็น  มีความยาวคลื่นสั้นกว่าแสงมาก  รังสีอุลตราไวโอเลตมีอยู่ในแสงอาทิตย์  แต่โชดดีที่บรรยากาศเบื้องบนช่วยกั้นรังสีอุลตราไวโอเลตปริมาณมากๆ  อาจทำอันตรายต่อผิวหนังได้  ส่วนรังสีเอ๊กซ์และรังสีแกมมายิ่งมีอันตรายมากว่ารังสีอุลตราไวโอเลตขึ้นไปอีก  เพราะความยาวคลื่นสั้นกว่า  การที่รังสีเอ๊กซ์มีพลังงานมากนี้เอง  จึงสามารถทะลุผ่านวัตถุต่างๆ  ได้แม้แต่วัตถุที่แสงผ่านไม่ได้  ตัวอย่างในเรื่องนี้ได้แก่การที่รังสีเอ๊กซ์อาจทะลุผ่านเนื้อหนังเข้าไปจนถึงกระดูกได้

แสงของธรรมชาติ

ดวงอาทิตย์ แหล่งกำเนิดแสงที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

คลิกอ่านต่อครับ


การทดลองเสมือนจริง

การทดลองของยัง   เป็นการส่องแสงความยาวคลื่นเดียวผ่านช่องแคบคู่  จะเกิดปรากฎการณ์แทรกสอดของคลื่นขึ้น    ถ้าต้องการทดลองกดที่รูปภาพหรือที่นี่


คอมแพคดิสก์ กับการแทรกสอด

        แผ่นซีดีเป็นนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ในยุคสารสนเทศ   ที่สามารถเก็บตัวอักษร ภาพ   เสียง   และภาพยนตร์  เพื่อใช้ในคอมพิวเตอร์   และเครื่องเสียงสเตอริโอ   เทคโนโลยีของซีดี  เกี่ยวข้องกับแสง  และการแทรกสอดของแสง อย่างลึกซึ้ง  แผ่นซีดีจะบันทึกข้อมูลมีลักษณะเป็นรูปวงหอย    เมื่อต้องการอ่านข้อมูล กลไกของเครื่องอ่านจะให้หัวอ่านเลเซอร์ยิงแสงเลเซอร์ออกมาดังรูป

ผิวของแผ่นซีดีบรรจุข้อมูลเป็นรูปขดวง  ภายในขดวงข้อมูลคือ ส่วนที่นูน (Pit)  และแบน (Land)  หัวอ่านจะยิงแสงเลเซอร์ขึ้นไปกระทบเข้ากับข้อมูลและสะท้อนออกมาเข้าตัวดีเทกเตอร์  คลิกอ่านต่อครับ


หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องแสง ของ อ.วัชระ

- การสะท้อนแสง  
การหักเหแสง  
- ุการแทรกสอดของแสงผ่านช่องแคบคู่  
  การแทรกสอดของแสงที่ฟิล์มบาง  
  - การเลี้ยวเบนของแสงผ่านช่องแคบเดี่ยว  
  - กำลังแยกของทัศนูปกรณ์  
  - การเลี้ยวเบนผ่านช่องแคบคู่แบบฟรอนโฮเฟอร์  
  การเกิดโพลาไรซ์และกฎของมาลุส  
 

การทำให้แสงเกิดโพลาไรซ์

แบบฝึกหัดท้ายหน่วย


คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

คลื่นน้ำ

คลื่นบนสแตนเชียร์

แรงทางไฟฟ้า

สนามของแรงทางไฟฟ้า

แกว่งประจุ

เส้นแรง

วงลูบของเส้นแรง

วัดความเร็วแสง

ความเร็วของแสง

แบบจำลองของอะตอม


วิธีการวัดความเร็วแสง

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=827

อัพเดทล่าสุด