โรคตาแดง


900 ผู้ชม


จากเชื้อไวรัสเป็นโรคที่พบได้บ่อย มักพบผู้ติดเชื้อไวรัสตาแดงในฤดูฝน   
โรคตาแดงจากเชื้อไวรัสเป็นโรคที่พบได้บ่อย มักพบผู้ติดเชื้อไวรัสตาแดงในฤดูฝน ระยะเวลาของโรคจะเป็นประมาณ 7-14 วัน ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนอย่างอื่น การอักเสบเกิดขึ้นกับเยื่อบุตาที่คลุมหนังตาบนและล่าง รวมทั้งเยื่อบุตาที่คลุมตาขาว
โรคตาแดงจากเชื้อไวรัสมักเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน
 เชื้อที่เป็นสาเหตุสำคัญได้แก่ adenovirus มักจะระบาดในชุมชน โรงเรียน และที่ทำงาน การติดต่อมักจะติดต่อ
โดยการสัมผัสทางมือ เครื่องมือ สระว่ายน้ำ


สาเหตุ

โรคตาแดงเกิดจากการอักเสบของเยื่อบุตา จากการติดเชื้อไวรัส adenovirus, enterovirus และ coxsackie virus A24 ส่วนใหญ่จะติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสน้ำตาของผู้ป่วยที่ติดมากับนิ้วมือ และแพร่จากนิ้วมือมาติด
ที่ ตาโดยตรง ไม่ติดต่อจากการสบตา จ้องตา ไม่ติดต่อทางอากาศ หรือการรับประทานอาหารร่วมกัน อาการเกิดได้ภายใน 1-2 วัน ระยะการติดต่อไปยังผู้อื่นประมาณ 14 วัน

โรคตาแดงการศึกษาระบาดวิทยาโมเลกุลในประเทศเวียดนามเมื่อปี 2006 พบ ว่าเกิดจากเชื้ออะดีโนไวรัส 3 ชนิดในสัดส่วนดังนี้ HAdV-8 พบมากที่สุดร้อยละ 80 ส่วนชนิด HAdV-3 และ HAdV-37 พบเท่าๆ กัน อย่างละประมาณร้อยละ 10 ของทั้งหมด โดยศึกษาด้วยวิธีวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมของไวรัส
 

อาการ

ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัส จะ มีอาการตาแดง เคืองตา น้ำตาไหล เจ็บตา มักจะมีขี้ตามากร่วมด้วย จากการติดเชื้อแบคทีเรียมาพร้อมกัน ต่อมน้ำเหลืองหลังหูมักเจ็บ และบวม มักเป็นที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อน แล้วจะติดต่อมายังตาอีกข้างได้ ถ้าไม่ระวังให้ดี ถ้าระมัดระวังไม่ให้น้ำตามข้างที่ติดเชื้อไว้รัส มาถูกตาข้างที่ดี จะไม่เป็นตาแดง แต่ส่วนใหญ่มักเป็นไปอีกข้างอย่างรวดเร็ว

การวินิจฉัย

โรคตาแดงโรคตาแดงจากเชื้อไวรัสสามารถให้การวินิจฉัยได้จากลักษณะอาการเยื่อบุตาแดง อักเสบ ผู้ป่วยมีอาการปวดตา มีขี้ตา อาจมีจุดเลือดออกใต้เยื่อบุตาขาว และมักเป็นสองข้าง

ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ จะตรวจพบแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสต้นเหตุ ได้แก่ adenovirus, enterovirus และ coxsackie virus A24 เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 4 เท่า นอกจากนี้ยังอาจแยกเชื้อไวรัสจากการเก็บสารคัดหลั่งจากเยื่อบุตา

โรคแทรกซ้อน

ในรายที่เกิดโรคแทรกซ้อนจะ มีอาการเคืองตามาก ลืมตาไม่ค่อยได้ มักมีอาการกระจกตาอักเสบแทรกซ้อน ซึ่งจะดีขึ้นได้ประมาณ 3-4 สัปดาห์ หรือบางรายที่มีอาการรุนแรง อาจเป็นนาน 1-2 เดือน ทำให้ตามัวพร่าอยู่เป็นเวลานาน

การรักษา

  1. โรคตาแดงรักษาตามลักษณะอาการของโรค เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสนี้โดยตรง
  2. ถ้ามีขี้ตามาก อาจพิจารณาหยอดยาปฏิชีวนะ ถ้ามีไข้ เจ็บคอ พิจารณาใช้ยาแก้อักเสบร่วมด้วยกับยาลดไข้ ยาลดปวด
  3. พักผ่อนให้มากๆ โดย เฉพาะการใช้สายตาในช่วงที่มีอาการตาแดงอย่างรุนแรง ไม่ควรทำงานดึก ควรนอนให้เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องปิดตาไว้ตลอด ยกเว้นมีกระจกตาอักเสบ เคืองตามาก จึงปิดตาเป็นครั้งคราว ไม่ควรให้เชื้อไวรัสแพร่กระจาย
  4. ทุกครั้งที่จับตาควรล้างมือให้สะอาด ควรงดการใช้ผ้าเช็ดหน้าร่วมกัน
  5. ผู้ป่วยไม่ควรลงเล่นน้ำในสระ จะแพร่กระจายเชื้อไวรัสไปในน้ำได้
  6. สำหรับผู้ที่อยู่ร่วมกับผู้ป่วย ควรระวังอย่าเอามือไปจับ หรือขยี้ตา ควรล้างมือ ฟอกสบู่บ่อยๆ อย่านอนห้องเดียวกับผู้ป่วย การทานอาหารร่วมกันไม่ทำให้ติดโรค
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=832

อัพเดทล่าสุด