ความแจ๋วของสารอาหารจิ๋ว (ตอนที่ 1)


1,067 ผู้ชม


วิตามินที่ละลายน้ำ ได้แก่ วิตามิน B ชนิด วิตามิน B1   

          ปัจจุบันอาหารเสริมมรคตวามสำคัญและอยู่ในกระแสนิยมของกลุ่มผู้บริโภคที่กำลังตื่นตัวในการดูแลสุขภาพ อาหารเสริมจึงเป็นสินค้าประเภทหนึ่งที่เติบโตอย่างรวดเร็วในโลกของธุรกิจ มีการแข่งขันทางการค้าด้วยการโหมโฆษณาที่กล่าวอ้างถึงสรรพคุณว่าสามารถชะลอความแก่ ต่อต้านโรคภัยไข้เจ็บ โดยเฉพาะที่เป็นโรคร้ายแรง เป็นอาหารเสริมพลังเสริมสร้างความแข็งแรงและสรรพคุณอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อดึงดูดให้ผู้บริโภคสนใจและเลือกซื้อ ในความเป็นจริงทางโภชนาการแล้ว อาหารเสริมที่ขายดิบดีเหล่านี้ไม่ได้เป็นอาหารแปลกใหม่ที่เพิ่งค้นพบหรือเกิดขึ้นในโลก อาหารเสริมเกือบทุกชนิดเป็นสารอาหารในกลุ่มวิตามิน เกลือแร่ และฮอร์โมนบางชนิด ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายได้รับสารอาหารเหล่านี้จากอาหารที่รับประทานโดยทั่ว ๆ ไป นั่นเอง ถึงแม้สารอาหารกลุ่มนี้ไม่จัดว่าเป็นสารอาหารหลักที่ร่างกายจะต้องได้รับในปริมาณมาก ๆ มาเพื่อเสริมสร้างความเจริญเติบโตและความแข็งแรงให้กับร่างกาย แต่เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะช่วยให้สารอาหารหลักซึ่งได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน เปลี่ยนแปลงไปเป็นพลังงานหรือสร้างความเติบโตให้กับร่างกายหรือทำให้ระบบของร่างกายดำเนินได้อย่างสมบูรณ์โดยอาศัย วิตามิน เกลือแร่ และฮอร์โมนมาช่วยเหลือ เนื่องจากวิตามิน เกลือแร่ และฮอร์โมน มีความสามารถในการทำงานได้อย่างสมบูรณ์แม้เพียงร่างกายได้รับเพียงวันละน้อย จึงถูกขนานนามจากนักวิชาการว่าเป็น สารอาหารจิ๋ว (Micronutrient)ซึ่งถ้าพิจารณาโครงสร้างโมเลกุลของสารกลุ่มดังกล่าวนี้ จะพบว่าไม่ได้มีโครงสร้างขนาดจิ๋วตามปริมาณที่ร่างกายต้องการเลย ความสำคัญ ประโยชน์ และหน้าที่ของสารอาหารจิ๋วกลุ่มวิตามินมีความน่าสนใจ และชวนให้ศึกษาติดตามจากนักวิชาการด้านโภชนศาสตร์ แพทย์ และนักวิทยาศาสตร์มาโดยตลอด และได้รวบรวมมานำเสนอดังต่อไปนี้
วิตามิน (Vitamins)

          วิตามินเป็นสารอินทรีย์ที่ร่างกายสร้างขึ้นเองไม่ได้หรือสร้างได้ในปริมาณที่จำกัด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับมาจากอาหาร วิตามินมีความสำคัญและมีความจำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย เพราะเป้นส่วนประกอบที่ช่วยในการทำงานของเซลล์ ตั้งแต่การหายใจระดับเซลล์ การนำโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมันไปใช้ในการสร้างเนื้อเยื่อและสร้างพลังงาน ตลอดจนการสร้างส่วนสำคัญต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น การสร้างเม็ดเลือดแดง สร้างกระดูก ช่วนในการมองเห็น และการทำงานของระบบประสาท นับว่าวิตามินเป็นสารคำคัญที่ร่างกายขาดไม่ได้ มนุษย์ต้องการวิตามินเพื่อวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ
          1. ในภาวะที่ร่างกายต้องการวิตามินไปใช้ การให้วิตามิน คือ การเสริมสารอาหาร เช่น หญิงที่ให้นมบุตร ต้องการวิตามินเพิ่มเพื่อสร้างอาหารให้ทารก
         2. เพื่อป้องกันความขาดแคลนสำหรับผู้ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะขาดวิตามิน เช่น ผู้ป่วยต้องการวิตามินเพิ่มเพื่อเยียวยา
         3. เพื่อรักษาอาการขาดวิตามิน

          เมื่อพิจารณาจากการละลายเป็นเกณฑ์แล้ว วิตามินแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ วิตามินที่ละลายน้ำ และ วิตามินที่ไม่ละลายน้ำแต่สามารถละลายได้ในไขมัน วิตามินแต่ละชนิด ประกอบด้วยสมาชิกในกลุ่มที่มีความสำคัญ มีบทบาทหน้าที่เฉพาะ และมีความโดดเด่นในแต่ละชนิด ดังรายละเอียดต่อไปนี้
วิตามินที่ละลายน้ำ
          วิตามิน B เป็นวิตามินที่มีสมาชิกในกลุ่มหลายชนิดตั้งแต่ วิตามิน B1, B2, B3, B4, B5, B6, B9, B12, B15, และ B17แต่ละชนิดมีความสำคัญและหน้าที่เฉพาะที่แยกกันได้อย่างชนิดเจน

          วิตามิน B1 (Thiamine) พบมากในเนื้อหมู ตับ ถั่วเหลือง และข้าวซ้อมมือ เป็นวิตามินที่จำเป็นสำหรับการเผาผลาญสารอาหารหรือส่วนประกอบของเอนไซม์ที่ใช้ในการเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตให้เป็นพลังงาน ช่วยในการทำงานของระบบประสาทและหัวใจ เพราะเป็นวิตามินที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์ Acetylcholine เป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่ง ซึ่งควบคุมการทำงานของระบบประสาท ดังนั้นถ้าขาดวิตามิน B¬1 มีผลทำให้ประสาทและกล้ามเนื้อเกิดการอ่อนล้าและไม่มีแรง เป็นโรคเหน็บชา วิตามินชนิดนี้นอกจากจะได้มาจากแหล่งอาหารแล้ว พบว่าแบคทีเรียในลำไส้สามารถสังเคราะห์ได้เช่นกัน


อัพเดทล่าสุด