คาร์โบไฮเดรต ตอนที่ 2


731 ผู้ชม


น้ำตาลเชิงคู่ (Disaccharide)ประกอบด้วยสองหน่วยของมอนอแซ็กคาไรด์   

                                    สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เคมีพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 4คาร์โบไฮเดรต ตอนที่ 2

คาร์โบไฮเดรต ตอนที่ 2

ภาพจาก https://61.19.145.8/student/m5year2006-2/504/group06/sucrose.html

น้ำตาลเชิงคู่   ( Disaccharide)    ร่างกายเมื่อได้รับจะไม่สามารถใช้ได้ทันที   ต้องเปลี่ยนเป็นน้ำตาลเชิงเดี่ยวก่อน  ได้จากการรวมตัวของน้ำตาลเชิงเดี่ยว  2  โมเลกุลและเกิดการควบแน่นได้น้ำ  1  โมเลกุล   

ตัวอย่าง
        -  ซูโครส  ( Sucrose )   หรือ  น้ำตาลทราย   น้ำตาลอ้อย  หรือ น้ำตาลหัวผักกาดหวาน    ประโยชน์ใช้ทำ
ลูกอม เป็นสารถนอมอาหาร  ได้จากน้ำตาลเชิงเดี่ยว 2  ตัว    ดังสมการ
                       กลูโคส    +   ฟรุคโตส ------------------ซูโคส   +   น้ำ

 ซูโครส เกิดจาก กลูโคส+ฟรุกโตส (น้ำตาลทราย) มีลักษณะ เป็นผลึก ละลายน้ำได้ดี พบในอ้อย ตาล มะพร้าว หัวบีท น้ำผึ้ง เป็นต้น เมื่อแตกตัวหรือย่อยซูโคสด้วยน้ำย่อย        -  มอลโตส   ( Maltose )   หรือ น้ำตาลมอลล์   มีในข้าวบาร์เลย์ หรือ ข้าวมอลล์    ที่กำลังงงอกประโยชน์   
ใช้ทำเบียร์  ทำเครื่องดื่ม  และอาหารเด็ก   ได้จากน้ำตาลเชิงเดี่ยว 2  ตัว    ดังสมการ
                                 กลูโคส    +   กลูโคส  ------------------ มอลโตส   +   น้ำ

คาร์โบไฮเดรต ตอนที่ 2

มอลโตส เกิดจากกลูโคส 2 โมเลกุล ละลายน้ำได้ค่อนข้างดี จะไม่ พบอยู่เป็นอิสระในธรรมชาติ แต่จะพบในกระบวนการย่อยแป้งหรือไกลโคเจนโดยใช้เอนไซม์อะไมเลส เช่น ในเมล็ด ธัญพืชที่กำลังงอกหรือในข้าวมอลต์หรือข้าวบาร์เลย์ที่นำมา ผลิตเบียร์ เครื่องดื่มและอาหารสำหรับเด็ก ที่มีการย่อย สลายแป้งจนกลายเป็นมอลโทส เมื่อย่อยมอลโทสโดยน้ำย่อย มอลเทส (maltase) จะแตกตัวได้กลูโคส 2 โมเลกุล ใน ร่างกายมอลโทสเกิดจากการย่อยแป้ง

คาร์โบไฮเดรต ตอนที่ 2

        -  แลคโตส  ( Lactose )    หรือ น้ำตาลนม    ผลิตภัณฑ์จากต่อมน้ำนมของสัตว์  ประโยชน์ใช้ทำขนมปัง  
อาหารเด็กอ่อน   ได้จากน้ำตาลเชิงเดี่ยว 2  ตัว    ดังสมการ
                                  กลูโคส    +   กาแลคโตส  ------------------  แลคโตส   +   น้ำ

คาร์โบไฮเดรต ตอนที่ 2

แลกโตส เกิดจาก กลูโคส + กาแลกโตส เป็นน้ำตาลในนม  พบในน้ำนมของสัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนมทุกชนิด ผลึกมีลักษณะเป็นผงละเอียดคล้ายทราย ละลายน้ำได้ไม่ดี มีความหวานน้อยมากเมื่อเทียบกับซูโครส

        1.   น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวและโมเลกุลคู่ในปริมาณน้ำหนักต่อโมลเท่าๆ กัน   จะมีความหวานต่างกัน  ฟรุกโทส 
เป็นน้ำตาลตามธรรมชาติที่มีความหวานมากที่สุด   ฟรุกโทสมีรสหวานมากกว่าซูโครส   ส่วนซูโครสมีรสหวานมากกว่า
กลูโคสและมอลโทส    ในองุ่นมีกลูโคสอยู่มาก   ฟรุกโทสมีมากในน้ำผึ้ง   ซูโครสพบมากในอ้อยและหัวบีท  นอกจาก
นี้นผลไม้ที่มีรสหวานเกือบทุกชนิดจะมีซูโครสอยู่ด้วย   ส่วนมอลโทสพบในข้าวมอลล์ที่กำลังงอก
        2.  ซูโครส    เป็นน้ำตาลโมเลกุลคูที่ร่างกายดูดซึมได้   ก่อนที่ร่างกายจะนำไปใช้ ซูโครสจะถูกเอนไซม์ใน
ลำไส้ย่อยให้สลายตัวเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว  คือ กลูโคสและฟรุกโทส  แล้วร่างกายจึงนำไปใช้

        แป้งและเซลลูโลส      สรุปได้ว่าทั้งแป้งและเซลลูโลส  ต่างประกอบด้วยโมเลกุลของกลูโคสจำนวนมาก
มายนับพันโมเลกุล  แต่สารทั้งสองมีสมบัติต่างกัน  เนื่องจากโครงสร้างไม่เหมือนกัน   
        พวกที่ไม่ใช่น้ำตาล   เป็นคาร์โบไฮเดรตทีไม่มีรสหวาน  และไม่ละลายน้ำ  เรียกว่า คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน 
( Polysaccharide )  
          ตัวอย่าง   เช่น   แป้ง   ไกลโคเจน   เซลลูโลส  ไคติน
        -  แป้ง  พบในเมล็ด  ราก  หรือหัว  และใบของพืข  เช่น  ข้าว  มัน  เผือก  กลอย
        -  ไกลโคเจน   มีในร่างกายมนุษย์ถูกสะสมไว้ที่ตับและกล้ามเนื้อ  เมื่อร่างกายขาดแคลน   เปลี่ยนเป็นกลูโคสได้
                  กลูโคส ------------------ ไกลไคเจน
        -  เซลลูโลส   พบที่ผนังเซลล์ของพืชทุกชนิด  เอนไซม์ในร่างกายมนุษย์ย่อยไม่ได้   แต่ช่วยเพิ่มกากอาหร
        -  ไคติน   เป็นสารที่พบในเปลืองกุ้ง  และ แมลง

        ส่วนของพืชที่ประกอบด้วย แป้ง  ได้แก่  เมล็ด  ราก และลำต้นใต้ดิน  ส่วนของพืชที่ประกอบด้วยเซลลูโลส  คือ  โครงสร้างเกือบทั้งหมดของพืช  โดยเฉพาะที่เปลือก ใบ  และเส้นใยที่ปนในเนื้อผลไม้
        ข้าวที่หุงดิบๆ สุกๆ หรือ ข้าวโพดดิบ  เมื่อกินเข้าไปแล้วอาจมีอาการท้องอืด  ท้องเฟ้อ  เพราะแป้งย่อยสลายเป็นกลูโคสได้ยาก
        ในร่างกายของมนุษย์ไม่มีเอนไซม์สำหรับย่อยอาหารของสัตว์ที่กินพืชจะมีสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวจำพวกโปรโตชัวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก   โปรโตซัวเหล่านี้สามารถปผลิตเอนไซม์ออกมาย่อยสลายเซลลูโลสให้เป็นกลูโคสได้  สัตว์จำพวกดังกล่าว เช่น  วัว  ควาย  ปลวก  จึงสามารถใช้ประโยชน์จากเซลลูโลสได้
        ไกลโคเจน  ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตประเภทแป้งที่สะสมในร่างกาย  คนและสัตว์

การทดสอบแป้ง
        ทดสอบโดยใช้สารละลายไอโอดีน    มีสีเหลือง   น้ำตาล   ถ้าเป็นแป้ง  และเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเข้ม  หรือ 
ม่วงดำ

หน้าที่และประโยชน์ของคาร์โบไฮเดรต 
        1.  ให้พลังงานและความร้อน  (  1  กรัม  ให้พลังงาน 4 แคลอรี่ )
        2.  ช่วยสงวนโปรตีนให้ร่างกายนำไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์มากที่สุด
        3.  คาร์โบไฮเดรตที่เหลือใช้   เปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในร่างกายได้

                                          การทดสอบกลูโคสด้วยสารละลายเบเนดิกต์

คาร์โบไฮเดรต ตอนที่ 2

การทดสอบแป้งด้วยสารละลายไอโอดีน

คาร์โบไฮเดรต ตอนที่ 2

ประเด็นคำถาม
        1. น้ำตาลทรายผลิตมาจากอะไร
        2. จงบอกชื่อน้ำตาลโมเลกุลคู่และน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว
        3. การตรวจสอบแป้งใช้สารละลายอะไรและผลที่เกิดเป็นอย่างไร

กิจกรรมเสนอแนะ
        1. ให้สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคเบาหวาน

การบูรณาการ
        บูรณาการกับสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา


 ที่มาของภาพ : https://61.19.145.8/student/m5year2006-2/508/group10/rooms4.html
                     https://61.19.145.8/student/m5year2006-2/504/group06/sucrose.html
                     https://www.geocities.com/eeeve.sari/p8carbohydrates.html

      
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=838

อัพเดทล่าสุด