ยาเสพติด 4 คูณ 100


2,713 ผู้ชม


ยาเสพติดหรือการวิ่งผลัดกันแน่ ยืนยันยาเสพติดจริง ๆ ความหมายคืออะไร   

หัวข้อข่าว :. เผยยาเสพติด 4 คูณ 100 พิษร้ายทำลายชาติ

" กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ระบุ ยาเสพติดประเภท 4 คูณ 100 พิษร้ายทำลายชาติพันเอกอัคร ทิพโรจน์ ผู้อำนวยการกองปฏิบัติการข่าวสาร กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า เปิดเผยว่า ปัจจุบันนี้กลุ่มก่อความไม่สงบได้พยายามนำยาเสพติดชนิดหนึ่งเรียกว่า 4 คูณ 100 เข้ามาแพร่ระบาดมอมเมาให้กับกลุ่มเยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประสบกับปัญหายากจน ขาดการศึกษา และว่างงาน เมื่อเยาวชนติดยาเสพติดก็จะตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบโดยให้ไปก่อเหตุร้าย เพื่อแลกกับยาเสพติดประเภท 4 คูณ 100 ยาเสพติดชนิด 4 คูณ 100 ประกอบด้วย ใบกระท่อม ยาแก้ไอน้ำดำ ยากันยุงและน้ำอัดลม วิธีผสมยา คือ นำเอาใบกระท่อมมาต้มแล้วผสมกับยาแก้ไอน้ำดำ ยากันยุง และน้ำอัดลม ผลของการเสพ คือ ทำให้มีอาการประสาทหลอน ทำให้ผู้ดื่มเกิดความมึนเมา เมื่อดื่มไปนาน ๆ จะทำให้สมองเสื่อม และเสียชีวิตลงในที่สุดดังนั้น กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า จึงขอความร่วมมือให้ประชาชนช่วยกันดูแลบุตรหลานไม่ให้หลงผิดไปเสพยาเสพติด และตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มก่อความไม่สงบ หากพบเห็นผู้ต้องสงสัยแจ้งเบาะแส สายด่วน 1881 หรือ 1341"

         จากข่าวสำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ พูดถึงยาเสพติด 4 คูณ 100 ทำให้อยากทรายว่า 4 คูณ 100 คืออะไร จึงสืบค้นจนได้คำตอบว่า ยาเสพติดชนิด 4 คูณ 100 ประกอบด้วย ใบกระท่อม ยาแก้ไอน้ำดำ ยากันยุงและน้ำอัดลม วิธีผสมยา คือ นำเอาใบกระท่อมมาต้มแล้วผสมกับยาแก้ไอน้ำดำ ยากันยุงชนิดขด และน้ำอัดลม จนต่อมามีการพัฒนาสูตรเพิ่มสารฟลูออเรสเซนต์เป็นยาเสพติดสูตร 5 คูณ 100

สูตรของยาสี่คูณร้อย

ตัวประกอบมีห้าชนิดด้วยกัน คือ
          1.ยาแก้ไอ ชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นยาควบคุมการใช้ ที่ผู้ขายต้องมีใบอนุญาต และผู้ซื้อต้องซื้อตามใบสั่งของแพทย์

2.น้ำใบกระท่อม นำใบกระท่อมมาต้ม

3.ยากันยุงชนิดขด

4.น้ำอัดลมชนิดหนึ่งหรือยาเเก้ไอ

5.สารฟลูออเรสเซนต์

พิษของยาสี่คูณร้อย

        ขึ้นชื่อว่าสิ่งเสพติดไม่มีคำว่าดีต่อสุขภาพอยู่เเล้ว ถึงเเม้ยาสี่คูณร้อยจะมีส่วนผสมของใบกระท่อม เเละยิ่งมีสูตรใหม่ที่มีการนำเอาสารฟลูออเรสเซนต์ เข้ามาเป็นส่วนผสมด้วยเเล้วยิ่งอันตรายเข้าไปใหญ่ สารชนิดนี้เมื่อโดนบาดแผลของเรา หรือเราโดนเศษแก้วจากหลอดไฟที่มีสารชนิดนี้บาด จะเป็นบาดแผลที่รักษาได้ยากมาก เเละหากเข้าไปในระบบทางเดินอาหาร อาจจะถึงตายได้ โดยเฉพาะการเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งในเม็ดเลือด เนื่องจากสารฟลูออเรสเซนต์ในหลอดไฟ รวมถึงสารในยากันยุงและกัมม็อกโซน มีคุณสมบัติพิเศษอย่างหนึ่งคือจะเป็นตัวเร่งให้สารเสพติดเข้าสู่กระแสเลือดและเม็ดเลือดได้เร็วขึ้น จนส่งผลให้ผู้เสพเกิดอาการมึนเมาได้ในไม่ช้า

ยาเสพติด 4 คูณ 100

ภาพจาก www.panyathai.or.th

สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง สารเสพติดและผลต่อร่างกาย

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

สืบค้นข้อมูลและอธิบายผลของสารเสพติดต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เสนอแนะและรณรงค์การป้องกันและต่อต้านยาเสพติด


ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=900

อัพเดทล่าสุด