พายุฤดูร้อน ถล่มกรุง......


678 ผู้ชม


เหตุเกิดจาก พายุฤดูร้อน ที่พัดในประเทศไทย กรุงเทพอ่วมหนัก   

พิษพายุถล่ม คลองเตย   น้ำท่วม-ไฟขัดข้องทั่วกรุง >> ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่

พายุฤดูร้อน ถล่มกรุง......

       ลมและพายุ

        เนื่องจากสภาพพื้นผิวโลกมีทั้งส่วนที่เป็นพื้นดิน และพื้นน้ำ ทำให้ความสามารถในการดูดกลืนความร้อนจากดวงอาทิตย์ของแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน  คือพื้นดินสามารถดูดความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้มากกว่าพื้นน้ำ 
        
        ผลอันเนื่องมาจากการดูดกลืนความร้อนที่แตกต่างกันมีผลทำให้อากาศที่อยู่เหนือพื้นที่ดังกล่าวมีอุณหภูมิและความกดอากาศต่างกัน ทำให้อากาศเกิดการเคลื่อนที่เป็นสาเหตุให้เกิดลมและพายุ

การเกิดลมและพายุ
        เมื่อบริเวณต่าง ๆ ได้บความร้อนจากดวงอาทิตย์  จะมีผลทำให้อากาศเกิดการเคลื่อนที่   โดยจะเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีความกดอากาศสูง (อุณหภูมิต่ำ) ไปยังที่ซึ่งมีความกดอากาศต่ำ (อุณหภูมิสูง)   
    
         
ลมเกิดจากอะไร
        ลมเกิดจากการเคลื่อนที่ของอากาศ จากบริเวณสองบรเวณที่มีความกดอากาศต่างกัน   คือ เมื่ออากาศได้รับความร้อนจะขยายตัว โดยบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำอากาศจะลอยตัวสูงขึ้นส่วน บริเวณที่อากาศเย็นกว่ามีความกดอากาศสูงกว่าจะเคลื่อนเข้ามาแทนที่อากาศร้อน ทำให้เกิด ลม

ชนิดของลม
       1. ลมประจำภูมิภาคต่างๆ เช่น ลมค้า  เป็นลมที่พัดในซีกโลกใต้ โดยพัดจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ไปยังตะวันตกเฉียงเหนือ 
       2. ลมประจำฤดู เป็นลมที่พัดเป็นประจำตามฤดูกาล ลมมรสุมเป็นส่วนหนึ่งของลมที่พัดตามฤดูกาล มีทิศแน่นอนและสม่ำเสมอ 
           ประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม 2 ชนิด คือ 
            2.1 ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้    เป็นลมที่พัด  ระหว่างเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม โดยมีแหล่งกำเนิดในซีกโลกใต้ในแถบมหาสมุทรอินเดีย ลมมรสุมนี้จะนำมวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดียมาสู่ประเทศไทย ทำให้มีเมฆมาก ฝนตกชุกทั่วไป
            2.2 ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ   เป็นลมที่พัด ระหว่างเดือนตุลาคม - กุมภาพันธ์ มีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกเหนือแถบประเทศมองโกเลียและจีน จึงพัดเอามวลอากาศเย็นและแห้งเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทำให้ท้องฟ้าโปร่ง อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งทั่วไป โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้จะมีฝนตกชุก โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก เนื่องจากมรสุมนี้นำความชุ่มชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุม
      3. ลมประจำถิ่น เป็นลมที่เกิดเฉพาะแห่ง 
          ประเทศไทย ในฤดูร้อน กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม  ประเทศไทยมีอากาศร้อนจัด เมื่อมีอากาศเย็นจากประเทศจีนพัดลงมาปะทะทำให้เกิดเป็นพายุ เรียกว่า พายุฤดูร้อน มีกำลังลมแรงกว่าพายุดีเปรสชัน ทำความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือนและต้นไม้หักโค่นได้
      4. ลมประจำเวลา เป็นลมที่เกิดในช่วงเวลาที่ต่างกัน 
      - ลมบก  เกิดในเวลากลางคืน  เนื่องจากอากาศเหนือพื้นดินเย็นว่าอากาศเหนือพื้นน้ำ ( พื้นดินคายความร้อนได้เร็วกว่าพื้นน้ำ )  อากาศจึงเคลื่อนที่จากฝั่งออกสู่ทะเล

       - ลมทะเล เกิดในเวลากลางวัน  เนื่องจากอากาศเหนือพื้นดินร้อนกว่าอากาศเหนือพื้นน้ำ ( พื้นดินดูดความร้อนมากกว่าพื้นน้ำ) อากาศจึงเคลื่อนที่จากพื้นน้ำเข้าสู่ฝั่ง
     
พายุเกิดจากอะไร
        พายุ เกิดจากการเคลื่อนที่ของอากาศอย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจากบริเวณสองบรเวณที่มีความกดอากาศต่างกันมาก ๆ ถ้าบริเวณทั้งสองแห่งมีความกดอากาศต่างกันมาก ลมจะพัดแรงจนบางครั้งเรียกว่า พายุ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งต่างๆ ในบริเวณที่พายุพัดผ่าน

         ประเภทของพายุ  แบ่งเป็น  3 ประเภท

1. พายุฝนฟ้าคะนอง      มีลักษณะเป็นลมพัดย้อนไปมา หรือพัดเคลื่อนตัวไปในทิศทางเดียวกัน อาจเกิดจากพายุที่อ่อนตัวและลดความรุนแรงของลมลง หรือเกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำ ร่องความกดอากาศต่ำ อาจไม่มีทิศทางที่แน่นอน หากสภาพการณ์แวดล้อมต่าง ๆ ของการเกิดฝนเหมาะสม ก็จะเกิดฝนตก มีลมพัด

2. พายุหมุนเขตร้อนต่าง ๆ เช่น เฮอร์ริเคน ไต้ฝุ่น และไซโคลน  เป็นพายุหมุนเช่นเดียวกัน แต่ที่เรียกชื่อต่างกันเนื่องจาก มีแหล่งกำเนิดขงพายุต่างกัน  
    ทิศทางการเคลื่อนที่ของพายุ  
    1)  เกิดเหนือเส้นศูนย์สูตร จะมีทิศทางการหมุนทวนเข็มนาฬิกา
    2)  เกิดใต้เส้นศูนย์สูตร  จะมีทิศทางการหมุนตามเข็มนาฬิกา

 3. ลมสลาตัน เป็นชื่อภาษาไทยใช้เรียกลมแรงหรือพายุช่วงปลายฤดูฝนที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้

พายุหมุนเขตร้อน 

     1. พายุไซโคลน (Cyclone)  เป็นพายุที่เกิดในอ่าวเบงกอลและมหาสมุทรอินเดีย เช่น บริเวณอ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ เป็นต้น 
      2. พายุเฮอร์ริเคน (Hurricane)  เป็นพายุที่เกิดในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก และทางด้านตะวันตกของเม็กซิโก 
      3. พายุใต้ฝุ่น (Typhoon)  เป็นพายุที่เกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก มหาสมุทรแปซิฟิกใต้ และทะเลจีนใต้เรียกว่า 
      4. พายุวิลลี-วิลลี (Willy-Willy)  เป็นพายุที่เกิดแถบทวีปออสเตรเลีย
      5. พายุโซนร้อน (tropical storm) เกิดขึ้นเมื่อพายุเขตร้อนขนาดใหญ่อ่อนกำลังลง ขณะเคลื่อนตัวในทะเล และความเร็วที่จุดศูนย์กลางลดลงเมื่อเคลื่อนเข้าหาฝั่ง 
      6. พายุดีเปรสชัน (depression) เกิดขึ้นเมื่อความเร็วลดลงจากพายุโซนร้อน ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองธรรมดาหรือฝนตกหนัก 
      7.พายุทอร์นาโด (tornado) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดในทวีปอเมริกา มีขนาดเนื้อที่เล็กหรือเส้นผ่าศูนย์กลางน้อย แต่หมุนด้วยความเร็วสูง หรือความเร็วที่จุดศูนย์กลางสูงมากกว่าพายุหมุนอื่น ๆ ก่อความเสียหายได้รุนแรงในบริเวณที่พัดผ่าน เกิดได้ทั้งบนบก และในทะเล หากเกิดในทะเล จะเรียกว่า นาคเล่นน้ำ (water spout) บางครั้งอาจเกิดจากกลุ่มเมฆบนท้องฟ้า แต่หมุนตัวยื่นลงมาจากท้องฟ้าไม่ถึงพื้นดิน มีรูปร่างเหมือนงวงช้าง จึงเรียกกันว่า ลมงวง

ประเด็นคำถาม
      1. เหตุใดเมื่ออากาศเกิดการเคลือนที่ มีบางครั้งเท่านั้น ที่เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
      2. พายุฤดูร้อนเกิดขึ้นจากสาเหตุใด
      3. การเกิดพายุฤดูร้อนมีผลระทบต่อการดำเนินชีวิตของนักเรียนหรือไม่อย่างไร

การบูรณาการ

      ประเทศใดบ้างในทวีปเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับผลกระทบจากการเคลื่อนที่ของอากาศ  และผลกระทบนั้นก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิตของประชากรประเทศนั้ ๆ อย่างไร

อ้างอิง
https://th.wikipedia.org
https://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/22.htm

https://www.coconuthead.org

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=973

อัพเดทล่าสุด