รู้หรือไม่.... อนาคตเรามีแหล่งพลังงานจากสิ่งใกล้ตัวเราที่สุด คือ อุจาระ ดังนั้นจึงเปรียบเสมือน อุจจาระเป็นดั่งขุมทอง
อังกฤษได้ใช้แน่ "แก๊สจากอุจจาระ"
ในอนาคตอันใกล้ ภายใน 2 ปีข้างหน้า ชาวอังกฤษ จะได้ใช้พลังงานจากแก๊สมีเทนในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะใช้ในการหุงหาอาหาร หรือสร้างความอบอุ่นในตัวบ้าน โดยอาศัยพลังงานจากแก๊สมีเทนซึ่งได้จากการหมักอุจจาระ < อ่านรายละเอียด > : ที่มา หนังสือพิมพ์ข่าวสดรายวัน วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552
รู้จักมีเทน
มีเทน (Methane) เป็น สารประกอบไฮโดรคาร์บอนประเภท แอลเคน ซึ่งมีขนาดโมเลกุลเล็กที่สุดของแอลเคน ภายในโมเลกุลประกอบด้วยธาตุที่สำคัญ 2 ชนิด คือ คาร์บอน และไฮโดรเจน มีสูตรดังนี้เอ CH4
โครงสร้างของมีเทน
สมบัติของแก๊สมีเทน
1. เป็นแก๊สไม่มีสี
2. ติดไฟได้ (ไวไฟ)
3. ไม่มีกลิ่น
4. น้ำหนักเบากว่าอากาศ จะลอยตัวได้ง่าย
ลักษณะของแก๊สมีเทน
1. แก๊สมีเทน สะสมในที่สูงๆและในพื้นที่ปิด สะสมได้ดีหากอากาศร้อนและมีความชื้นสูง
2. การตรวจวัดความเข้มข้นของแก๊สมีเทนในบรรยากาศทำได้ค่อนข้างยาก ถ้าหากไม่ใช้เครื่องตรวจจับแก๊ส (Gas detector)
3. มีเทนเบากว่าอากาศสัก ดังนั้นเมื่อเจอช่องว่างที่ไหน จะพุ่งออกมาจากภาชนะที่ขังไว้ทันที
4.แก๊สมีเทนสามารถแทนที่แก๊สออกซิเจน ได้ทำให้เกิดการระเบิดที่ความเข้มข้น 50,000 ppm หรือ มากกว่า 5 % ในบรรยากาศ
แหล่งกำเนิดของแก๊สมีเทน
1. เกิดจากการกลั่นลำดับส่วน แก๊สธรรมชาติ
2. เกิดจากจากการหมักมูลสัตว์
3. เกิดจากกระบวนการเกิดถ่านหิน ทำให้มี ก๊าซมีเทนในชั้นถ่านหิน (Coal Bed Methane)
4. เกิดจากการย่อยสลายของสารอินทรีย์ในบ่อบำบัดน้ำเสีย
อันตรายจากมีเทน
1. ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก
นักวิทยาศาสตร์ได้วิจัยพบว่าแก๊สมีเทนสามารถทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจก ได้ เช่นเดียวกันกับCO2 ส่งผลให้อุณหภูมิของโลกสูงเร็วมากขึ้น และทำให้โลกร้อนมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งขณะนี้ได้พบว่าแก๊สมีเทนมีปริมาณขึ้นเพิ่มอย่างมากปกคลุมเต็มไปทั่วทางขั้วโลกเหนือ จนทำให้น้ำแข็งละลายเร็วขึ้นอีกด้วย
2. ทำให้มนุษย์ขาดแคลนน้ำจืด
การละลายของธารน้ำแข็งตามเทือกเขาน้ำแข็งต่างๆ ทำให้น้ำเกิดการระเหยเร็วขึ้น เมื่อถึงหน้าร้อนเราจึงได้ขาดแคลนน้ำ ในอนาคตแม่น้ำโขงนั้นก็จะแห้งเหือด เพราะน้ำแข็งนั้นได้ละลายลงมาเร็วกว่าปรกติหมดแล้ว
3. ทำให้มนุษย์ด้รับอันตรายจากการสูดดมแก๊สมีเทน
ประเด็น
1. อุจาระทำให้เกิดเป็นแก็สมีเทน ได้อย่างไร
2. กระบวนการหมักมูลสัตว์ถ้าทำในสภาวะไร้ออกซิเจน กับ สภาวะมีออกซิเจน จะให้ผลิตภัณ์เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
อ้างอิง
https://trueslant.com
https://blog.fukduk.tv
https://www.npc-se.co.th
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=986