การโคลนนิ่ง (Cloning)


781 ผู้ชม


โคลนนิ่ง เป็นกระบวนการทำให้สัตว์ตัวใหม่ขึ้นมาโดยไม่ต้องอาศัยการรวมตัวกันของไข่และสเปิร์ม มีวิธีการทำโดยการนำเอาเซลล์ไข่ของสัตว์ที่จะโคลนนิ่งมา นำเอานิวเคลียสของเซลล์ไข่นั้นออกไป แล้วนำนิวเคลียสจากเซลล์ของสัตว์ที่ต้องการเรียกว่า "เซลล์ต้นแบบ"   

การโคลนนิ่ง

(CLONING)

โคลนนิ่ง  เป็นกระบวนการทำให้สัตว์ตัวใหม่ขึ้นมาโดยไม่ต้องอาศัยการรวมตัวกันของไข่และสเปิร์ม  มีวิธีการทำโดยการนำเอาเซลล์ไข่ของสัตว์ที่จะโคลนนิ่งมา  นำเอานิวเคลียสของเซลล์ไข่นั้นออกไป  แล้วนำนิวเคลียสจากเซลล์ของสัตว์ที่ต้องการเรียกว่า "เซลล์ต้นแบบ"  มาถ่ายโอนลงไปในเซลล์ไข่นั้นแทนทั้งเซลล์ไข่และเซลล์ต้นแบบต้องมาจากสัตว์ชนิดเดียวกัน 

เซลล์ต้นแบบ เป็นเซลล์ที่ได้มาจากสัตว์ที่เราต้องการขยายพันธุ์ให้มากขึ้น เรียกว่า "สัตว์ต้นแบบ" ซึ่งเซลล์ต้นแบบนี้อาจจะมาจากอวัยวะส่วนไหนก็ได้  แต่ในทางปฏิบัติเชื่อกันว่าเซลล์จากอวัยวะแต่ละแห่งจะมีความเหมาะสมสำหรับการทำโคลนนิ่งไม่เท่ากัน

การทำโคลนนิ่งสัตว์นั้นเริ่มต้นโดยนักชีววิทยาชาวอเมริกัน 2 คน คือ R.W. Briggs  และ  T.J. King แห่งสถาบันวิจัยมะเร็งในฟิลาเดลเฟีย  ทดลองทำโคลนนิ่งกบ  ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 นักวิทยาศาสตร์ชาวสก๊อตแลนด์  ชื่อ Jane  Wilmut  "ได้ทำการโคลนนิ่งแกะโดยใช้เซลล์จากเต้านมของแกะที่โตแล้วเป็นเซลล์ต้นแบบ ได้แกะที่มีชื่อว่า  "ดอลลี"  ซึ่งแกะดอลลีนี้สามารถตั้งท้องและให้กำเนิดลูกได้เช่นเดียวกับสัตว์ทั่วไป ( ศึกษาได้จากแผนภาพข้างล่าง)

     โคลนนิ่งเป็นอีกกรรมวิธีหนึ่งที่ใช้การขยายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต  และมีข้อได้เปรียบกว่าการขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ  กล่าวคือ 
การโคลนนิ่งจะให้ลูกหลานได้คราวละมากๆ และลูกหลานเหล่านั้นจะมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกันและเหมือนกับตัวต้นแบบ

ส่วนการขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศนั้น  ลูกที่ได้จะมีลักษณะทางพันธุกรรมแตกต่างกันไปและมีความแปรผันแบบกลุ่ม  เราไม่สามารถกำหนดได้เลยว่าลูกที่ได้จากการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศนั้นจะมีลักษณะอย่างไร 

จากข้อได้เปรียบนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์พยายามที่จะพัฒนากรรมวิธีในการทำโคลนนิ่งสำหรับนำมาใช้กับสิ่งมีชีวิตต่างๆ  เพื่อประโยชน์ของมนุษย์เอง

 ประเทศไทยสามารถทำโคลนนิ่งได้สำเร็จโดยศาสตราจารย์ มณีวรรณ  กมลพัฒนะ  ผู้อำนวยการโครงการนิวเคลียร์เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมกิจกรรมผสมเทียมโคนม และกระบือปลัก  คณะสัตวแพทย์ศาสตร์  จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย  ได้เป็นคนแรก 

  โดยการนำใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์มาผสมเทียมในกระบือ  และพัฒนาต่อเนื่องมากว่า20 ปี  จนประสบความสำเร็จในการโคลนนิ่งลูกโคตัวแรกของประเทสไทย  ชื่อว่า "อิง"ซึ่งถือว่าเป็นลูกโคโคลนนิ่งตัวแรกของประเทศไทยและเอเซียอาคเนย์ ซึ่งเป็นรายที่ 3  ของเอเซีย  และรายที่ 6  ของโลกโดยการทำโคลนนิ่งต่อจาดญี่ป่น  สหรัฐอเมริกา  ฝรั่งเศส  เยอรมันนี  และเกาหลี 

แผนภาพแสดงขั้นตอนการทำโคลลนิ่งแกะดอลลี โดย ดร.เอียน วิลมัต (Dr. Lan Wilmut) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวสก๊อต ได้โคลนนิ่งดอลลีสำเร็จด้วยวิธีการตามขั้นตอน ดังนี้

ภาพแสดงขั้นตอนการทำโคลนนิ่งแกะดอลลี

แหล่งข้อมูล : https://www.myfristbrain.com

ประเด็นปัญหา

       1.   การโคลนนิ่ง เป็นการสืบพันธุ์แบบใด
        2.  การโคลนนิ่ง จะสามารถใช้กับมนุษย์ไหรื่อไม่ เพราะเหตุใด

นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ใช้ประกอบการเรียนในภาคเรียนที่ 1
นักเรียนแสดงความคิดเห็นว่ามีประโยชน์อย่างไรเท่านั้น
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1047

อัพเดทล่าสุด