การสร้างกล้องดูดาวอย่างง่าย
ภาพจาก news.eduzones.com
กล้องดูดาว (TELESCOPE)
กล้องดูดาวเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในการสังเกตรายละเอียดของดวงดาวและวัตถุท้องฟ้า กล้องดูดาวใช้ศึกษาสังเกตดวงดาวในช่วงของแสงสว่างแบ่งตามลักษณะการทำงานได้เป็น 3 ชนิด คือ
1. ชนิดหักเหแสง (Refractor) ใช้เลนส์นูนเป็นตัวรวมแสง
2. ชนิดสะท้อนแสง (Reflector) ใช้กระจกเว้าเป็นตัวรวมแสง
3. กล้องชมิดท์ (Schmidt Camera) ใช้เลนส์ที่ออกแบบเป็นพิเศษคู่กับกระจกเว้าเป็นตัวรวมแสงเหมาะสำหรับถ่ายภาพ เพื่อให้ได้ภาพที่มีความคมชัดสูง
ในจำนวนกล้องดูดาวทั้ง 3 ชนิด กล้องดูดาวชนิดหักเหแสงมีส่วนประกอบ การทำงาน และการสร้างซับซ้อนน้อยที่สุด รวมทั้งพอที่จะจัดหาอุปกรณ์และชิ้นส่วนมาจัดสร้างได้โดยไม่ยุ่งยากมากนัก
การทำงานของกล้องดูดาวชนิดหักเหแสง
กล้องดูดาวชนิดหักเหแสง เลนส์วัตถุใช้เลนส์นูนขนาดใหญ่ ทางยาวโฟกัสมากเป็นตัวรวมแสงจากวัตถุท้องฟ้า มาสร้างเป็นภาพ และใช้เลนส์นูนขนาดเล็ก ทางยาวโฟกัสสั้นเป็นเลนส์ตาขยายภาพที่เกิดจากเลนส์วัตถุ เขียนทางเดินของแสงอย่างง่ายได้ดังนี้
กำลังขายของกล้องดูดาว คำนวณได้จากสูตรง่าย ๆ ดังนี้
ส่วนประกอบของกล้องดูดาวอย่างง่าย
ส่วนประกอบและการสร้างกล้องดูดาวอย่างง่าย ๆ ที่จะขอแนะนำต่อไปนี้ พิจารณาจากหลาย ๆ ด้าน ได้แก่ ค่าใช้จ่ายหรือลงทุนต่ำ อุปกรณ์ชิ้นส่วนต่าง ๆ หาได้ไม่ยากนัก การประกอบติดตั้งก็ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกต่อผู้สนใจที่ต้องการสร้างกล้องดูดาวอย่างง่าย ๆ ด้วยตัวเอง
1 = เลนส์วัตถุ เป็นเลนส์นูนขนาด 3 นิ้ว ทางยาวโฟกัส 100 เซนติเมตร
2 = กระบอกยึดเลนส์วัตถุ ใช้ข้อต่อตรงของท่อเอสลอนขนาด 3 นิ้ววัดภายใน เพื่อให้สามารถใส่เลนส์วัตถุได้พอดี
3 = วงแหวนยึดเลนส์วัตถุ ใช้ท่อเอสลอนขนาด 3 นิ้วตัดเป็นวงแหวน ใส่เพื่อยึดเลนส์วัตถุให้ติดแน่นกับกระบอกยึด โดยแบ่งตัดมาจากท่อที่ใช้ทำตัวกล้อง (4)
4 = ตัวกล้อง ใช้ท่อเอสลอนขนาด 3 นิ้วอย่างหนา ใส่เข้ากับข้อต่อตรง (2) ได้พอดี ความยาวประมาณ 80 เซนติเมตร
5 = ข้อต่อลดขนาด ใช้ข้อลดเอสลอนขนาด 3 นิ้ว เพื่อให้สวมกับตัวกล้อง (4) ได้พอดีด้านหนึ่ง
อีกด้านหนึ่งมีขนาด 1 นิ้วเพื่อสวมท่อเลนส์ตา (6) ได้พอดี ข้อลดด้านที่จะต้องสวมท่อเลนส์ตานี้จะต้องใช้ "บุ้งอย่างกลม" หรือ "ตะไบกลมอย่างหยาบ" ฝนขยายช่องให้เรียบ เพื่อให้ท่อสวมเลนส์ตา (6) ขยับผ่านได้พอดี ไม่หลวมหรือฝืดเกินไป ใช้สำหรับปรับความชัดของภาพ
6 = ท่อเลนส์ตา ใช้ท่อเอสลอนขนาด 1 นิ้วอย่างหนา สวมเข้ากับข้อลด (5) ได้พอดี และช่องภายในก็จะใส่เลนส์ตาได้พอดีด้วย ยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร
7 = เลนส์ตา ใช้เลนส์นูนขนาด 2 เซนติเมตร ทางยาวโฟกัส 2.5 เซนติเมตร เลนส์จะใส่ในท่อสวมเลนส์ตา (6) ได้พอดี ยึดเลนส์ตา (7) ให้ติดกับท่อเลนส์ตา (6) โดยการตัดท่อเลนส์ตาเป็นวงแหวนกว้างประมาณครึ่งเซนติเมตร 2 ชิ้น แล้วตัดวงแวนให้ขาดออก จากนั้นจึงบีบวงแหวนใส่เข้าไปในท่อ ใส่เลนส์ตาตามเข้าไป แล้วบีบวงแหวนอีกชิ้นหนึ่งเข้าไปยึดให้เลนส์ตาติดแน่น
กล้องที่สร้างชุดนี้ จะมีกำลังขยายประมาณ 40 เท่า ส่องสังเกตเห็นหลุมบ่อบนดวงจันทร์ วงแหวนดาวเสาร์
แถบเมฆของดาวพฤหัสบดี รวมทั้งดวงจันทร์บริวารบางดวง ดาวศุกร์เป็นเสี้ยว ฯลฯ ภาพที่ได้แม้จะไม่ดีมากนัก เป็นสีรุ้งเพราะใช้เลนส์ธรรมดา แต่ก็สามารถทำให้เราได้รู้ ได้เห็นดวงดาวที่สวยงามน่าประทับใจ สำหรับขาตั้งกล้องอาจใช้ขาตั้งกล้องถ่ายรูปที่แข็งแรงมาดัดแปลงใช้ก็ได้
ข่าวเพิ่มเติม สำนักข่าวไทย
ที่มา https://www.geocities.com/Area51/Shire/1567/scopebinoc1.htm
https://news.mcot.net/environment/inside.phpvalue=bmlkPTMyNTcxJm50eXBlPWNsaXA=
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1064