ทานแป้งมาก ๆ เสี่ยงโรคหัวใจ


593 ผู้ชม


เป็นที่ทราบกันดีว่าการทานคาร์โบไฮเดรตหรืออาหารที่อุดมด้วยแป้งอย่างขนมปังขาวและคอร์นเฟลคมากไปอาจเสี่ยงมีปัญหาโรคหัวใจได้ ล่าสุดงานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Tel Aviv ได้แสดงให้เห็นว่า เหตุใดอาหารคาร์โบไฮเดรตสูงจึงทำให้เราเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้   

ทานแป้งมาก ๆ เสี่ยงโรคหัวใจ
ภาพจาก https://www.vcharkarn.com/vnews/152432

ประเด็นข่าว

        อาหารเป็นสิ่งจำเป็นและมีประโยชน์ก็จริงแต่ถ้าไม่รู้เท่าทันอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ดังเช่นข่าวนี้สถาบันต่อมไร้ท่อวิทยาได้ร่วมกันแสดงให้เห็นว่าเกิดอะไรขึ้นในร่างกายของเราเมื่อทานอาหารที่มีโทษต่อหัวใจเข้าไป  เชทเทอร์ กล่าวว่า ‘ให้ลองมองเข้าไปในเส้นเลือดอาร์เทอรีของเด็ก ๆ ที่กินอาหารหลายแบบสิ’ จากการทดลองเชทเทอร์พบว่าอาหารที่มีดรรชนีน้ำตาลสูงส่งผลทำให้แขนงอาร์เทอรีโป่งพองเป็นเวลาหลายชั่วโมง (อาร์เทอรีคือเส้นเลือดแดงที่นำเลือดแดงออกจากหัวใจ) สนใจอ่านต่อคลิกที่นี่https://www.vcharkarn.com/vnews/152432

ที่มา: https://www.sciencedaily.com/releases/2009/06/090625133215.htm
อ้างอิง: https://en.wikipedia.org/wiki/Artery


เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เคมีพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ช่วงชั้นที่ 4) 
เรื่อง สารชีวโมเลกุล        

เนื้อหาความรู้  คาร์โบไฮเดรต

ประเภทของคาร์โบไฮเดรต

น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ( monosaccharide ) น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวมี C 3 – 7 อะตอม สูตรโมเลกุล C6H12O6 
            1.1น้ำตาลกลูโคสหรือเดกซ์โครส ( Glucose or Dextrose )

พบมากในองุ่น จึงมักเรียกน้ำตาลองุ่น เป็นสารอาหารหลักในการสลายให้พลังงานแก่สิ่งมีชีวิตสลายเป็นพลังงานได้
รวดเร็วจึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการพลังงานรีบด่วน เช่น นักกีฬา และดุดซึม ได้ง่ายจึงเหมาะต่อผู้เจ็บป่วยและผักฟื้น 
เป็นน้ำตาลที่มีมากที่สุดในธรรมชาติ เป็นองค์ประกอบของมอลโทส ซูโครส และแลกโทส 
            1.2 น้ำตาลกาแลกโทส ( Galactose )

ไม่ค่อยพบเป็นน้ำตาลอิสระเดี่ยวๆ แต่เป็นองค์ประกอบของน้ำตาลแลกโทสและวุ้น ( agar ) มีสูตรโครงสร้างคล้ายน้ำตาลกลูโคสมากที่สุด 
            1.3 น้ำตาลฟรัคโทส ( Fructose )

พบมากในน้ำผึ้ง โดยในน้ำผึ้งมีน้ำตาลฟรังโทสเป็นองค์ประกอบถึง 40 % และพบมากในผลไม้ที่มีรสหวาน เช่น มะม่วงสุก เป็นน้ำตาลที่หวานที่สุดมักผสมในลูกกวาดเป็นตัวให้พลังงานแก่อสุจิ
 
2.โอลิโกแซคคาไรต์ ( Oligosaccharide ) ประกอบขึ้นจากน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 2 – 10 โมเลกุล สูตรโมเลกุล C12H22O11

2.1 น้ำตาลโมเลกุลคู่ (disaccharide)

เป็นน้ำตาลที่เกิดจากน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 2 โมเลกุลมารวมตัวกันทางเคมี

ตัวอย่างของน้ำตาลโมเลกุลคู่ ได้แก่

            น้ำตาลมอลโทส ( maltose = C12 H22O11 )

                         เกิดจากน้ำตาลกลูโคส 2 โมเลกุล รวมกันพบในข้าวมอลท์และได้จากการย่อยแป้ง

             น้ำตาลซูโครส ( Sucrose = C12H22O11 )

                         เกิดจากน้ำตาลกลูโคสกับฟรักโทสรวมกันพบมากในน้ำอ้อยและหัวบีทจึงใช้ผลิตน้ำตาลทราย

              น้ำตาลแลกโทส (Lactose = C12H22O11)

                         เกิดจากน้ำตาลกลูโคสกับน้ำตาลกาแลกโทสรวมกันพบมากในน้ำนม ปัสสาวะหญิงมีครรภ์

               น้ำตาลเซลโลไบโอส (Cellobiose = C12H22O11)

                         ประกอบด้วยน้ำตาลกลูโคส 2 โมเลกุลได้จากการย่อยเซลลูโลสโดยจูลินทรีย์โดยใช้เอนไซม์เซลลูเลส ( cellulase ) แต่การย่อยไม่สมบูรณ์

C6H12O6 + C6H12O6 ------------------ C12H22O11 + H2O

กลูโคส + กลูโคส ------------------ มอลโทส + น้ำ ( หรือ เซลโลไบโอส )

กลูโคส + ฟรัคโทส ------------------  ซูโครส + น้ำ

กลูโคส + กาแลกโทส ------------------  แลกโทส + น้ำ

2.2 ไตรแซคคาไรต์ ( Trisaccharide )

ประกอบขึ้นจากน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 3 โมเลกุล เช่น น้ำตาลแรฟฟิโนส ( raffinose )ซึ่งประกอบขึ้นจากกลูโคส , กาแลกโทส และฟรัคโทส อย่างละ 1 โมเลกุล

3.คาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ ( Polysaccharide )

เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบขึ้นจากน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวมากกว่า 10 โมเลกุลขึ้นไปจนถึงหลาย ๆ ร้อยโมเลกุลรวมตัวกันด้วยพันธะไกล

โคซิดิก กลายเป็นโมเลกุลขนาดใหญ่ ( Polymer ) ซึ่งคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่เป็นคาร์โบไฮเดรตที่พบมากที่สุดในธรรมชาติ

สูตรโมเลกุล (C6H10O5) n ( n = จำนวนโมเลกุลของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว )

ประเภทของคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่จำแนกตามหน้าที่เป็น 2 ประเภท คือ

 3.1 โพลีแซคคาไรต์สะสม ( Storage Polysaccharide )

เป็นคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ที่ทำหน้าที่เป็นอาหารของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ แป้ง ( starch ) และอินูลิน ( inulin ) สำหรับในพืช และไกลโคเจน ( glycogen ) สำหรับในสัตว์

แป้ง และไกลโคเจน ( ไกลโคเจน เป็นแป้งสะสมมากในตับ สามารถเปลี่ยนเป็นกลูโคสยามขาดแคลน )

ต่างมีกลูโคสเป็นองค์ประกอบขนาดโมเลกุล ไกลโคเจน > แป้ง 
การแตกกิ่งก้านของโมเลกุล ไกลโคเจน > แป้ง 
อินูลิน
ประกอบขึ้นจากน้ำตาลฟรักโตส พบในพลับพลึงและรากเหง้า 
 3.2โพลีแซคคาไรต์โครงสร้าง ( Structural Ploysaccharide )

เป็นโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต เช่น เซลลูโลส ( Cellulose ) วุ้น ( agar ) และไคติน ( Chitin ) เซลลูโลส ( Cellulose )ประกอบขึ้นจากกลูโคส 300 – 15,000 โมเลกุลขนาดโมเลกุลใหญ่กว่าแป้ง แต่เล็กกว่าไกลโคเจน เป็นสารอินทรีย์ที่มีปริมาณมากที่สุดในธรรมชาติโครงสร้างโมเลกุลไม่แตกกิ่งก้านสาขา ความสำคัญ เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์ 
วุ้น ( agar )
สกัดได้จากผนังเซลล์ของสาหร่ายสีแดงใช้เพาะเลี้ยงจูลินทรีย์ 
ไคติน ( Chitin )
เป็นองค์ประกอบของโครงร่างแข็งภายนอก ของแมลงหรือ เช่น กุ้ง ปู นอกจากนี้ยังพบในผนังเซลล์ของเห็ด รา ยีสต์
 
 

สาระที่ 3 ::..สารและสมบัติของสาร 
มาตรฐาน ว 3.1 ::..เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์มาตรฐาน ว 1.1 ::..เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต

      
ต่อยอดความคิด
            ให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ เชื่อมโยงความรู้เรื่องคาร์โบไฮเดรต  
 
ประเด็นคำถาม
         1. นอกจากทานขนมปังแล้วมีอาหารอื่นใดอีกบ้างที่จัดเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ควรระวัง
         2. กินคาร์โบไฮเดรตมากๆแล้วทำให้อ้วนได้เป็นเพราะเหตุใด
         3. คาร์โบไฮเดรตคืออะไร
        

กิจกรรมเสนอแนะ
        ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลพิษภัยจากการรับประทานอาหารชนิดอื่นๆ

การบูรณาการ
        กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง โภชนาการ

ที่มา :   https://www.school.net.th/library/snet5/topic8/carbo.html
ที่มา:    https://www.sciencedaily.com/releases/2009/06/090625133215.htm
อ้างอิง: https://en.wikipedia.org/wiki/Artery

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1078

อัพเดทล่าสุด