นักวิทยาศาสตร์คนแรกของประเทศไทย คือใคร ?


2,534 ผู้ชม


พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษา วิทยาศาสตร์ และการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาใช้ในการพัฒนาประเทศ   

นักวิทยาศาสตร์คนแรกของประเทศไทย คือใคร ?              

           ถึงแม้ว่า วิทยาศาสตร์ยุคใหม่จะเข้ามาสู่ ประเทศไทย ตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว เพราะมี หลักฐานปรากฏชัดเจนว่า องค์พระนารายณ์มหาราช ได้ทรงใช้กล้องโทรทรรศน์ ส่องดูดาวเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2228 หลังการประดิษฐ์ กล้องโทรทรรศน์ โดยกาลิเลโอ 76 ปี แต่วิทยาศาสตร์ ยุคใหม่ ในประเทศไทยก็ยังไม่พัฒนา ขึ้นมาจริง ๆ จนกระทั่งถึง รัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษา วิทยาศาสตร์ และการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาใช้ในการพัฒนาประเทศ

นักวิทยาศาสตร์คนแรกของประเทศไทย คือใคร ?     นักวิทยาศาสตร์คนแรกของประเทศไทย คือใคร ?

นักวิทยาศาสตร์คนแรกของประเทศไทย คือใคร ?

         ดังนั้น ผู้ที่สมควรจะได้รับการยกย่อง เป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรก  ของประเทศไทย จึงเป็น องค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และในวาระ การเฉลิมฉลอง กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2525 วงการวิทยาศาตร์ไทยและรัฐบาลไทย จึงพร้อมใจ กันถวายพระราชสมัญญาแด่พระองค์เป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย"


   

         พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว



ภาพจากวิกิพีเดีย
พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
ประดิษฐาน ณ อาคารอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า 
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

         พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นนักดาราศาสตร์ไทยผู้ยิ่งใหญ่ทรงการคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้อย่างแม่นยำในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ล่วงหน้า 2 ปี และได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมเซอร์ แอร์รี่ ออร์ด เจ้าเมืองสิงคโปร์ คณะทูตานุทูต นักวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศส แขกต่างประเทศอื่นที่ทรงเชิญมา และข้าราชบริพารไทย ทอดพระเนตรสุริยุปราคาครั้งนั้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นตรงตามที่พระองค์ทรงคำนวณไว้ทุกประการ พระอัจฉริยภาพของพระองค์เป็นที่เลื่องลือ ขจรขจายปวงชนชาวไทยถวายพระราชสมัญญานามทรงเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" และเป็นที่มาของการสร้างอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นอนุสรณ์สถานแด่พระองค์

        จากคัมภีร์พุทธศาสนาเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง ส่งอิทธิพลสำคัญต่อความคิดความเชื่อ ของผู้คนชาวไทย เรื่องภาพแห่งจักรวาล คือ ภพทั้ง 3 แห่ง สวรรค์ มนุษย์ และบาดาล แต่สำหรับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาพแห่งจักรวาลคือวิชาการดาราศาสตร์ยุคใหม่ของการศึกษาถึงความเป็นไปในเอกภพ ด้วยข้อมูลความจริงด้วยความคิดและเหตุผลโดยการศึกษาอย่างเป็นระบบระเบียบ ตามหลักการของวิทยาศาสตร์แผ่นดินในรัชสมัยของพระองค์จึงเป็นประตูสู่โลกยุคใหม่ การเสด็จพระราชดำเนินเพื่อพิสูจน์การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ณ ตำบลหว้ากอ ถือเป็นการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ครั้งยิ่งใหญ่และครั้งแรกของชาติไทย โดยพระองค์ท่าน ทรงเป็นผู้คำนวณด้วยพระองค์เองต่อหน้าคณะนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส และแขกเมืองชาวต่างประเทศ ถือเป็นการเสี่ยงต่อการสูญเสียพระเกียรติยศอย่างยิ่ง แต่พระองค์ก็ทรงกระทำการคำนวณได้ถูกต้องแม่นยำสมศักดิ์ศรีที่ชาวไทยคำนวณสุริยุปราคาได้แม่นยำมานานนัก ดังเช่นพญาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระองค์ ทางด้านวิทยาศาสตร์ บริเวณโดยรอบจะแสดงเครื่องใช้ของพระองค์ ที่เกี่ยวกับดาราศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งของที่หาชมได้ยากในปัจจุบัน ได้นำมาตั้งแสดงให้พสกนิกรได้ชมอย่างใกล้ชิด

 ประเด็นคำถาม
       1. ผู้ที่ได้รับการถวายพระราชสามัญญาว่าเป็นพระราชบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย  คือใคร
        2. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระอัฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องใด

กิจกรรมเสนอแนะ
       ครูพานักเรียนไปทัศนศึกษาอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

การบูรณาการ
        ภาษาไทย      การอ่านจับใจความ
        คณิตศาสตร์    การคำนวณ
        สังคมศึกษา   พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
       

แหล่งข้อมูล
วิทยาศาสตร์น่ารู้สำหรับครูและนักเรียน
วิกิพีเดีย

 ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1225


อัพเดทล่าสุด