“กระเจียว” ราชินีป่า เธอมากับฝน"


1,041 ผู้ชม



ด้วยรูปลักษณะความงดงามของดอกกระเจียว ทำให้หลายคนยกดอกกระเจียวให้เป็นดัง“ราชินีแห่งป่าฝน” ที่พอฝนตกมาได้สักพัก ดอกกระเจียวก็จะพากันเบ่งบานชูช่อไสวแลดูสวยงามสมดังสมญานาม   

“กระเจียว” ราชินีป่า เธอมากับฝน"

 “กระเจียว” ราชินีป่า เธอมากับฝน"

“กระเจียว” ราชินีป่า เธอมากับฝน"

“กระเจียว” ราชินีป่า เธอมากับฝน"

“กระเจียว” ราชินีป่า เธอมากับฝน"

“กระเจียว” ราชินีป่า เธอมากับฝน"

“กระเจียว” ราชินีป่า เธอมากับฝน"

“กระเจียว” ราชินีป่า เธอมากับฝน"

“กระเจียว” ราชินีป่า เธอมากับฝน"

“กระเจียว” ราชินีป่า เธอมากับฝน"

ขอบคุณภาพสวย ๆ จาก Taklang.com

        ในเมืองไทยจุดชมทุ่งดอกกระเจียวอันเด่นดังที่สุด ทอดตาทั้งแผ่นดินเห็นจะไม่มีที่ใดเกิน อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม(อ.เทพสถิต) และอุทยานแห่งชาติไทรทอง(อ.หนองบัวระเหว) ที่ล้วนต่างอยู่ใน จ.ชัยภูมิ ทั้งคู่ ดอกกระเจียวมีหลากหลายสี อาทิ สีชมพูอมม่วงที่พบเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้นก็ยังมี กระเจียวขาว กระเจียวแดง กระเจียวส้ม กระเจียวเขียว เป็นต้น
        สำหรับการเที่ยวชมทุ่งดอกกระเจียว ในวันธรรมดาอุทยานฯป่าหินงามอนุญาตให้นำรถยนต์ขึ้นไปจอดที่ลานจอดรถข้างบนใกล้ๆกับจุดเดินชมทุ่งดอกกระเจียวได้ ส่วนถ้าไปวันเสาร์-อาทิตย์หรือวันหยุดพิเศษ ต้องจอดรถไว้ด้านล่าง หน้าที่ทำการฯแล้วใช้บริการรถรางนั่งขึ้นไป ทั้งนี้ก็เพื่อแก้ปัญหาการจราจรและป้องกันรถติดในเส้นทางชมดอกกระเจียว เพราะช่วงวันหยุดคนไปเที่ยวชมทุ่งดอกกระเจียวกันเยอะมาก
        ผู้ที่ชื่นชอบดอกไม้สามารถเฝ้ารอชมความงามของดอกกระเจียวได้ในช่วงหน้าฝนระหว่างเดือน มิ.ย.- ส.ค.ของทุกๆปี
        พูดถึงดอกกระเจียว  พืชชนิดนี้เป็นพืชล้มลุกสกุลเดียวกับขมิ้น อยู่ในวงขิง,ข่า,ขมิ้น กระเจียวขยายพันธุ์ด้วยการแตกหน่อ ในฤดูแล้งจะพักตัวและเบ่งบานเติบโตในฤดูฝน ทั่วโลกพบพืชตระกูลกระเจียวไม่ต่ำกว่า 65 ชนิด ( Species )ทั้งในทวีปออสเตรเลีย เอเชีย ไปจนถึงอัฟริกา ในเมืองไทยจากข้อมูลการสำรวจระบุว่าพบประมาณ 30 ชนิด มีกระจายอยู่ตามภาคต่างๆทั่วประเทศไทย ซึ่งแต่ละพื้นที่ต่างก็เรียกชื่อต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น กระเจียวบัว ปทุมมา ทิวลิปสยาม หรือบัวสวรรค์

ชื่อ ปทุมา หรือ กระเจียว หรือ ทิวลิปสยาม (Siam Tulip) 
ชื่ออื่น กระเจียวแดง ดอกกระเจียว ดอกอีเจียว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma aeruqinosa Roxb.
ลักษณะ  เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าอยู่ในดิน จะพักตัวในฤดูหนาวและร้อน เมื่อถึงฤดูฝนจะเริ่มผลิใบและดอก ต้นสูงประมาณ 2 ฟุต ใบยาวคล้ายใบพายดอกสีเหลืองในแดง กาบดอกสีม่วง ฤดูแล้งต้น จะโทรม เมื่อถึงฤดูฝนก็จะเจริญเติบโตออกดอกอีกครั้ง ดอกปทุมมามีรูปทรงสง่าและมีสีสันสวยงาม เป็นที่ประทับใจแก่ผู้ที่ได้พบเห็น จนได้รับการส่งเสริมให้เป็นไม้ตัดดอกและเก็บหัวพันธุ์เพื่อส่งไปขายยังต่างประเทศ เป็นที่ประทับใจและชื่นชอบของชาวต่างประเทศจนได้สมญาว่า สยามทิวลิป (Siam Tulip)ปทุมมา จัดเป็นพืชในวงศ์ Zingiberaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับขิงและข่า อยู่ในสกุล Curcuma มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบประเทศอินโดจีน พม่า และไทย สำหรับในประเทศไทยจะพบเห็นปทุมมาได้แทบทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีความหลากหลายของสายพันธุ์มากที่สุด ไม้ในสกุลนี้แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ      
        กลุ่มปทุมมา พบได้ทั่วไปในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามเขตชายแดนไทย-ลาว และตามเขตชายแดนไทย-เขมร ส่วนใหญ่มักพบอยู่ตามทุ่งหญ้าที่โล่งแจ้งบริเวณชายป่าเบญจพรรณหรือบริเวณชั้นล่างของป่าเต็งรัง ลักษณะช่อดอกในกลุ่มปทุมมาจะแทงช่อดอกออกมาจากส่วนกลางของลำต้นเทียม ก้านช่อดอกยาวตรง ดอกจริงมีสีม่วงหรือสีม่วงอ่อน ไม้ในกลุ่มนี้มีหลายชนิดที่สามารถนำมาผลิตเป็นไม้ตัดดอก ไม้กระถาง และไม้ประดับแปลง เช่น ปทุมมา บัวสวรรค์ บัวลายปราจีน บัวลายลาว เทพรำลึก ทับทิมสยาม ช่อมรกต และปทุมรัตน์ เป็นต้น
        กลุ่มกระเจียว กลุ่มนี้มีอยู่หลายชนิดพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ชนิดที่พบขึ้นในที่โล่งแจ้งมักจะมีลักษณะใบหนา มีขนมาก ส่วนพวกที่พบขึ้นในป่าชื้นมักจะมีลักษณะใบบาง ลักษณะของช่อดอกจะเป็นทรงกระบอก อาจแทงช่อดอกขึ้นมาจากเหง้าโดยตรงหรือออกจากทางด้านข้างของลำต้นเทียม ดอกจริงมีสีขาวหรือเหลือง หลายชนิดในกลุ่มนี้สามารถผลิตเป็นไม้ตัดดอก ไม้กระถางได้เช่นกัน ที่สำคัญได้แก่ บัวชั้น กระเจียวส้ม พลอยไพลิน พลอยทักษิณ และพลอยชมพู เป็นต้น 
        การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด , การแยกเหง้า , การผ่าเหง้า , การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสภาพปลูกที่เหมาะสม : ดินร่วนระบายน้ำดี อินทรีย์วัตถุสูง แสงจัด
        ประโยชน์และสรรพคุณ :ดอกกระเจียวทานได้ ให้นำดอกอ่อนมาลวกจนสุกจิ้มกับน้ำพริก หรือจะกินดอกสดก็ได้ บางบ้านนิยมนำมาทำแกงส้ม หรือไม่ก็นำมาแกล้มกับขนมจีน ลาบ ก้อยดอกกระเจียวมีรสเผ็ดร้อน และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ มีสรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้มดลูกอักเสบสำหรับสตรีหลังคลอด 

         แหล่งที่พบ พบทั่วไปในป่าโปร่งตามโคกหรือใต้ร่มไม้ใหญ่ บริเวณหัวไร่ปลายนา ในภาคเหนือและภาคอีสาน
        ความสัมพันธ์กับชุมชน ชาวบ้านรับประทานกระเจียวเป็นผัก ส่วนที่เป็นผัก ได้แก่ หน่ออ่อน ดอกอ่อนและดอกแก่ กระเจียว สามารถบริโภคได้ทั้งสดและดอกรับประทานกับลาบ ก้อย ส้มตำ ดอกอ่อนลวกมักรับประทานกับน้ำพริก หรือ นำมาแกงได้ บางบ้านเก็บกระเจียวจากป่าธรรมชาติมาเพื่อจำหน่ายและรับประทานเอง ดอกอ่อนหัวอ่อนของ กระเจียวแดงรสเผ็ดร้อน กลิ่นหอม ต้มกับน้ำมีสรรพคุณขับลม
        ความสำคัญทางเศรษฐกิจ ชาวบ้านมีรายได้จากการเก็บดอกกระเจียวมาจำหน่าย โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนทำให้มีรายได้เสริม

        สรุปให้จำง่ายๆ ก็ท่องกันเอาไว้ว่า ” กระเจียวก้านสั้น ปทุมมาก้านยาว” อย่างนี้คงพอเป็นแนวทางได้

ประเด็นคำถาม
        1.   กระเจียวและปทุมมามีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างไร
        2.   กระเจียวจะพบมากที่สุดในภาคใดของประเทศไทย
        3.   กระเจียวจะออกดอกในช่วงเดือนอะไร
        4.   เราจะมีวิธีดูแลรักษากระเจียวอย่างไร

การบูรณาการ
        1.  สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
        2.  สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
        3.  สาระการเรียนรู้ภาษาไทย
        4.  สาระการเรียนรู้สังคมศาสนาและวัฒนธรรม

กิจกรรมเสนอแนะ
     ครูพานักเรียนไปทัศนะศึกษาทุ่งดอกกระเจียวที่จังหวัดชัยภูมิ

แหล่งข้อมูล

https://www.khonkaenlink.info/tour/tour_thai.asp?id=8969
https://www.taklong.com/pictpost/s-pi.php?No=22484
https://srawoot7.blogspot.com/2007/07/cercuma-alismatifolia-gagnep-siam-tulip.html
https://www4.eduzones.com/dingo/3461
https://www.pahdongdoy.com/report/land/kajew/kajew.asp

 ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1278

อัพเดทล่าสุด