วันที่ 20 ก.ค. 2553 เป็นวันครบรอบ 40 ปี ที่นีล อาร์มสตรอง (Neil Armstrong) เดินทางไปถึงดวงจันทร์ด้วยยาน อพอลโล 11 (Apollo 11)
พร้อมกับปักธงชาติสหรัฐฯ ประกาศความสำเร็จอย่างงดงามของมวลมนุษยชาติที่พิชิตอวกาศไปได้อีกขั้นหนึ่ง
เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งสำคัญของมวลมนุษยชาติเมื่อ 40 ปีที่แล้ว นาซาจึงได้จัดงานเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ พร้อมกับนำเสนอภาพเหตุการณ์สำคัญและข้อมูลต่างๆ ของอพอลโล 11 ตลอดจนโครงการสำรวจอวกาศในตรั้งต่อๆ มา เพื่อแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการด้านเทคโนโลยีอวกาศของสหรัฐฯ ซึ่งทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ รวบรวมภาพประวัติศาสตร์ของโครงการอพอลโลผ่านสายตานักบินอวกาศมาให้ชมกัน สนใจคลิกชมภาพ (ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 20 กรกฏาคม 2552)
การสำรวจอวกาศในอดีต
(สาระความรู้นี้เหมาะสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 หรือผู้สนใจทั่วไป)
ขอขอบคุณภาพสวย ๆ จาก ผู้จัดการออนไลน์
ภาพการสำรวจดวงจันทร์เมื่อ 40 ปีที่ผ่านมาของยานอวกาศอพอลโล 11
เมื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอวกาศเจริญก้าวหน้ามากขึ้น นักวิทยาศาสตร์สามารถสร้างยานอวกาศเพื่อไปสำรวจอวกาศได้ ยุคอวกาศถือว่าเริ่มต้นเมื่อ
พ.ศ. 2500 สหภาพโซเวียตได้ส่งดาวเทียมดวงแรก ชื่อ สปุตนิก1 ขึ้นไปโคจรในอวกาศนาน 21 วัน เพื่อสำรวจสภาพต่าง ๆ ในอวกาศ ดาวเทียมดวงนี้มีเครื่องส่งสัญญาณวิทยุขนาดเล็กไปด้วยสามารถส่งสัญญาคลื่นวิทยุมาสู่โลกเป็นครั้งแรกด้วยเสียง “ปิ๊บ ปิ๊บ”หลังจากนั้น รัสเซียได้ส่งสุนัขเพศเมียชื่อ ไลก้า ไปกับดาวเทียมสปุตนิก 2 เพื่อพิสูจน์ว่าสิ่งมีชีวิตสามารถดำรงชีวิตอยู่ในอวกาศได้หรือไม่
อ้างอิงภาพ : https://seedang.com/files/comments/21/217338/images/1.jpg
พ.ศ. 2504 มีมนุษย์อวกาศแรกชื่อ ยูริกาการิน เป็นชาวสหภาพโซเวียต ถูกส่งไปสำรวจอวกาศพร้อมกับยาน
วอลสตอค 1 นาน 108 นาที หลังจากโคจรรอบโลกแล้วก็ กลับสู่โลกโดยปลอดภัย นับเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการศึกษาเกี่ยวกับอวกาศ
อ้างอิงภาพ : https://seedang.com/files/comments/21/217344/images/1.gif
พ.ศ. 2506 สหภาพโซเวียตได้ส่งมนุษย์อวกาศหญิงคนแรก คือ วาเลนตินา เทเรซโควา นิโคเลเยฟ ขึ้นสู่อวกาศไปกับยานวอลสตอค 6
พ.ศ. 2512 ยานอะพอลโล 11 ของสหรัฐอเมริกา ได้นำมนุษย์ไปเหยียบผิวดวงจันทร์เป็นคนแรกได้สำเร็จ ชื่อว่า นีล อาร์ม สตรอง พร้อมกับนักบินอวกาศอีก 2 คน คือ ไมเคิล คอลลินส์ และเอดวิน อี อัลดริน การสำรวจครั้งนี้ได้ติดตั้งเครื่องมือวิทยาศาสตร์ไว้บนดวงจันทร์เพื่อประโยชน์ในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และนักบินอวกาศได้นำตัวอย่างหินจากดวงจันทร์กลับมาด้วย
อ้างอิงภาพ : https://www.deedeejang.com/tech/news/photo/00030.jpg
พ.ศ. 2520 - 2530 สหรัฐอเมริกาส่งยานอวกาศวอยเอเจอร์ 1 และ 2 ไปสำรวจดาวเคราะห์ที่อยู่รอบนอกของระบบสุริยะ โดยส่งไปในปี พ.ศ. 2520 และไปถึงดาวพฤหัสบดีในปี พ.ศ. 2522 ยานทั้งสองส่งภาพพื้นผิวดาวพฤหัสบดีกลับมายังโลก จากนั้นได้บินไปยังดาวเสาร์ ยานส่งภาพของวงแหวนดาวเสาร์กลับมายังโลก ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้บินต่อไปยังดาวยูเรนัส ในปี พ.ศ. 2529 และดาวเนปจูนในปี พ.ศ. 2530 ซึ่งยานได้ถ่ายภาพดาวเคราะห์ดังกล่าวไว้
อ้างอิงภาพ : https://www.atlasunit.info/images/10_11_12/03.jpg
พ.ศ. 2539 -2540 สหรัฐอเมริกาส่ง ยาน มาร์ส พาทไฟน์เดอร์ ไปลงบนพื้นผิวของดาวอังคาร โดยถึงดาวอังคารในปี พ.ศ. 2540 และให้ยานหุ่นยนต์ 6 ล้อ ชื่อ โซเจอร์เนอร์ ซึ่งบังคับด้วยคลื่นวิทยุลงสำรวจพื้นผิวของดาวอังคาร โดยมุ่งหาร่องรอยหลักฐานของสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร และวิเคราะห์ตัวอย่างหิน โดยถ่ายภาพดาวอังคารกลับมายังโลก และพบว่ามีก้อนหินที่มีลักษณะใกล้เคียงกับหินบนพื้นโลกมาก
อ้างอิงภาพ : https://www.rmutphysics.com/charud/OLDNEWS /56/A223p3x3.jpg
พ.ศ. 2540 - 2551 องค์การนาซา องค์การอวกาศยุโรป และองค์การอวกาศอิตาลี ได้ร่วมมือกันสร้างยานอวกาศลำใหญ่ที่สุด ด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยและซับซ้อนที่สุดเท่าที่เคยมีมา ยานลำนี้ชื่อ ยานแคสสินี ซึ่งถูกส่งออกไปจากโลกเมื่อปีพ.ศ. 2540 มีกำหนดสำรวจดาวเสาร์ในปี 2548 - 2550
ประเด็นศึกษา
1. ให้นักเรียนสืบค้นประวัติการสำรวจอวกาศตั้งแต่ยุคแรกถึงปัจจุบัน
2. ความเจริญทางด้านเทคโนโลยีอวกาศส่งผลต่อนักเรียนอย่างไรบ้าง
3. นักเรียนอยากให้เทคโนโลยีอวกาศเจริญก้าวหน้าอย่างไร
แบบฝึกเสริม เพิ่มจินตนาการ
1. ถ้านักเรียนได้รับคัดเลือกให้เป็นนักบินอวกาศ ดวงดาวในฝันที่นักเรียนอยากไปสำรวจเป็นอย่างไร
2. ครูฝึกบอกให้นักเรียนทราบว่าในอวกาศไม่มีแก๊สออกซิเจนสำหรับหายใจ ไม่มีอากาศเหมือนโลก ความดันอากาศต่ำทำให้หลอดเลือดแตกถึงแก่ความตายได้ และยังเต็มไปด้วยรังสีที่มีอันตรายมากมาย ถ้าจะออกไปนอกยานอวกาศต้องสวมชุดอวกาศ ให้นักเรียนออกแบบชุดอวกาศเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในอวกาศได้
ขอบคุณภาพสวย ๆ และข้อมูลดี ๆ จาก
1. https://seedang.com/files/comments/21/217338/images/1.jpg
2. https://seedang.com/files/comments/21/217344/images/1.gif
3. https://www.deedeejang.com/tech/news/photo/00030.jpg
4. https://www.atlasunit.info/images/10_11_12/03.jpg
5. https://www.rmutphysics.com/charud/OLDNEWS /56/A223p3x3.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1349