สารละลายในชีวิตประจำวัน


10,495 ผู้ชม


แนะนำสารละลายที่ใช้อยุในชีวิตประจำวัน   

สารละลาย ( solution) คือสารเนื้อเดียวที่เกิดจากการผสมที่กันของสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ชนิดคือ  ตัวทำละลาย และตัวละลาย  
สารละลาย มีได้ หลายสถานะ  คือ  ของแข็ง  ของเหลว  แก๊ส

ตัวอย่างของสารละลาย

      ของแข็ง  เช่น  ทองเหลือง  ทองสัมฤทธิ์    ฟิวส์
      ของเหลว เช่น  น้ำเกลือ  น้ำเชื่อม  น้ำปลา   น้ำมันเบนซิน
      แก๊ส  เช่น  อากาศ   แก๊สหุงต้ม
หน่วยของสารละลาย เป็นค่าที่แสดงถึงปริมาณของตัวละลายที่ละลายอยู่ในตัวทำละลายหรือในสารละลายนั้น วัดในรูปความเข้มข้นปริมาณตัวถูกละลายต่อปริมาณสารละลาย (ยกเว้นหน่วยโมลต่อกิโลกรัม) 

1. ร้อยละ 
1.1 ร้อยละโดยมวล(มวล/มวล)   ใช้สัญลักษณ์  คือ %w 
                   % w   หมายถึง   มวลของตัวถูกละลายสารละลาย 100 หน่วยมวลเดียวกัน ( ใช้กับสารละลายที่เป็นของแข็ง)
เช่น  น้ำเกลือ  5 %w  หมายถึง  ในน้ำเกลือ  100  กรัม  มีเกลือละลายอยู่  5 กรัม
             1.2 ร้อยละโดยปริมาตร(ปริมาตร/ปริมาตร) ใช้สัญลักษณ์  คือ %v
                %v  หมายถึง  ปริมาตรของตัวถูกละลายในสารละลาย100 หน่วยปริมาตรเดียวกัน  นิยมใช้กับสารละลายที่เป็นของเหลว 
เช่น  C2H5OH (aq)  25 %v  หมายถึง  ในสารละลาย 100   cm3 ะมี C2H5OH ละลายอยู่ 25 cm3
              1.3 ร้อยละมวลต่อปริมาตร ใช้สัญลักษณ์  คือ %w/v 
             %wv  หมายถึง  มวล ของตัวถูกละลายในสารละลาย 100 หน่วยปริมาตร  เช่น มวลเป็นกรัมใช้กับปริมาตรเป็นลูกบาศก์เซ็ยติเมตร   มวลเป็นกิโลกรัมใช้กับปริมาตรเป็นลิตร 
เช่น  น้ำเชื่อมเข้มข้น 20 %w/v  หมายถึง  ในน้ำเชื่อม  100  cm มีน้ำตาลละลายอยู่  20  g
            
            2. โมลาริตี หรือโมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร หรือ โมลาร์  ใช้สัญลักษณ์ M  มีหน่วย mol/dm3 หรือ mol/l
            M  หมายถึง  จำนวนโมลของตัว ถูกละลายในสารละลาย 1 ลูกบาศก์เดซิเมตร 
เช่น NaOH (aq)  5  M  หมายถึง  ในสารละลาย  1000  cm3  มี NaOH  5 mol
            3. โมแลลิตี หรือ โมลต่อกิโลกรัม หรือ โมแลล  ใช้สัญลักษณ์ เป็น m  มีหน่วย mol/kg   
            m  หมายถึง  จำนวนโมลของตัวถูกละลายที่ละลาย ในตัวทำละลาย 1 กิโลกรัม 
เช่น  NaCl (aq)  10 m หมายถึง  ในตัวทำละลาย ( น้ำ ) 1000 กรัม  มี NaCl  10 mol
          4. เศษส่วนโมล (Mole fractions) ใช้สัญลักษณ์  X  
           
X  หมายถึง 
 สัดส่วนจำนวนโมลของสารองค์ประกอบหนึ่งต่อจำนวนโมลรวม ของสารทุกชนิดในสารละลาย 
เช่น สารละลายชนิดหนึ่งประกอบด้วยสาร A    a mol, B b mol และ C c mol จะได้เศษส่วนโมลของสาร A, B และ C ดังนี้ 
            
              เศษส่วนโมลของสาร A (XA) = a / ( a + b + c ) 
เศษส่วนโมลของสาร B (XB) = b / ( a + b + c ) 
             เศษส่วนโมลของสาร C (XC) = c / ( a + b + c ) 
XA + XB + XC =  1 
        
             และเมื่อนำค่าเศษส่วนโมลของแต่ละสารมาคูณด้วยร้อย จะได้ความเข้มข้นในหน่วยร้อยละโดยมวลของสารนั้น
             ร้อยละโดยมวลของสาร A = เศษส่วนโมลของสาร A * 100 
ร้อยละโดยมวลของสาร B = เศษส่วนโมลของสาร B * 100 
ร้อยละโดยมวลของสาร C = เศษส่วนโมลของสาร C * 100 
5. ส่วนในล้านส่วน (parts per million; ppm) 
              
เป็นหน่วยที่บอกมวลของตัวถูกละลายที่ละลายอยู่ในสารละลาย 1 ล้านหน่วยมวลเดียวกัน เป็นหน่วยความเข้มข้นของสารละลายที่เจือจางมาก ๆ  หรืออาจใช้แสดงปริมาณของสิ่งเจือปนที่มีอยู่ในสารเคมีที่บริสุทธิ์ต่าง ๆ 
เช่น KNO3 2 ppm  หมายถึง ในสารละลาย  1000000  มิลลิกรัม  มี KNO3  2  มิลลิกรัม
หรือ   ใสรละลาย  1 กิโลกรัม มี KNO3   2 มิลลิกรัม
สารละลายในชีวิตประจำวัน 
คำถาม
      
1. ถ้าแม่มีน้ำเชื่อมข้นข้น  25 % w/v  หมายความว่าอย่างไร
      2. ถ้าต้องการเตรียมน้ำเหลือเข้มข้น  10 %w  จะต้องใช้สารแต่ละองค์ประกอบเท่าใด
      3. ถ้านำ KOH  15  กรัมละลายน้ำ  85  กรัม  สารละลายมีความเข้มข้นเท่าใด
      4. สารละลายแมกนีเซียมคลอไรด์  มีความ้ข้มข้น  20 M  หมายความว่าอย่างไร
      5. น้ำปูนในใช้สำหรับใส่ขนม  มีความเข้มข้น  1 m  หมายความว่าอย่างๆร
      6. ในชีวิตประจำวัน นักเรียนใช้สารละลายชนิดใดบ้างและมีความเข้มข้นอย่างไร  จงอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ

อ้างอิง
 
1. เอกสารประกอบคำบรรยาย วิชาเคมี ของโครงการส่งเสริมความสามารถพิเศษภาคฤดูร้อน Brands's Summer Camp'95 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
2. หนังสือเรียนวิชาเคมี 2 ว 036 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533 ของกระทรวงศึกษาธิการ จัดทำโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2541 

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1378

อัพเดทล่าสุด