กรดมีอยู่มากมายหลายชนิด รู้ไหมว่ากรดมีลักษณะอย่างไร
สลดเด็กชายวัยขวบเศษ ดื่มน้ำยาล้างเครื่องเงินดับอนาถ ( รายละเอียดข่าว )
อุทาหร สำหรับการดูแลเด็กเล็ก หากไม่ต้องการให้เหตุการทำนองนี้เกิดกับครอบครัวของท่าน ควรเพิ่มความระมัดระวัง ในการดูแล บุตรหลานของท่าน ให้ดี
ความหมายของกรด
กรด คือ สารหรือโมเลกุลที่สามารถแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน (โปรตอน หรือ H+ ) มักมีรสเปรี้ยว มีค่า pH น้อยกว่า 7 และเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสเป็นสีแดง
กรด ตามความหมายของนักวิทยาศาสตร์ท่าน ต่าง ๆ
1. กรด หมายถึง สารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ H+ หรือ H3O+ เช่น HNO3 H2SO4 HCOOH
( ทฤษฎีของอาร์เนเนียส )
2. กรด คือ สารที่ให้โปรตอนแก่สารอื่น เช่น CH3COOH HCN NH4+ (ทฤษฎีของบรอนสเตด - ลาวรี )
3. กรด คือ สารรับอิเล็กตรอนจากสารอื่น เช่น NH4+ (ทฤษฎีของลิวอิส )
ประเภทของกรด ( ตามการเกิด )
1. กรดอินทรีย์ ได้จากสิ่งมีชีวิต ทดสอบด้วยสารละลายเจนเชียนไวโอเลตไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น กรดแอซิติก กรดฟอร์มิก กรดแอสคอร์บิก ( วิตามินซ๊ ) กรดซิตริก เป็นต้น
2. กรดอนินทรีย์หรือกรดแร่ ได้จากแร่ธาตุ ทดสอบด้วยสารละลายเจนเชียนไวโอเลต จะเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวหรือสีน้ำเงินอมเขียว เช่น กรดไฮโดรคลอรริก กรดซัลฟูริก กรดฟอสฟอริก กรดไนตริก เป็นต้น
ประเภทของกรด ( ตามการแตกตัว )
1. กรดแก่ หมายถึง กรดที่สามารถแตกตัวได้ 100 % มีความสามารถในการนำไฟฟ้าได้ดีมาก ได้แก่ HCl HI HBr HNO3 H2SO4 HClO4
2. กรดอ่อน หมายถึง กรดที่แตกตัวได้ไม่ถึง 100 % มีความสามารถในการนำไฟฟ้าได้น้อย เช่น H2CO3 HCOOH HClO เป็นต้น
สมบัติของกรด
1. มีรสเปรี้ยว
2. เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง
3. ทำปฏิกิริยากับ โลหะ เกิดแก๊สไฮโดรเจน และทำให้โลหัเกิดการผุกร่อน
4. กัดกร่อนหินปูน ทำให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
5. เมื่อแตกตัวแล้วสามารถนำไฟฟ้าได้
6. มี pH น้อยกว่า 7
อันตรายจากกรด
1. ทำอันตรายเนื่อเยื่อ
ถ้าถูกผิวหนัง จะทำให้ผิวหนังถูกทำลาย วิธีการแก้ไข คือ
- กรณีถูกผิวหนังด้านนอก ให้ล้างด้วยน้ำสะอาด โดยไม่ต้องเช็ดถู แต่ถ้าโดนกรดที่มีความเข้มข้นสูง ๆ ให้ซับด้วยกระดาษชำระ หรือ ผ้าที่สะอาด ก่อนล้างด้วยน้ำสะอาด
- กรณี รับประทาน เข้าไป ให้ รับประทานไข่ขาวดิบ เพื่อให้กรดไปจับตัวกับไข่ขาว ก่อนทำให้อาเจียน แล้วรีบนำส่งแพทย์
2. ทำให้โลหะเกิดการผุกร่อน เร็วขึ้น
3. ทำให้อาคาร หรือ สิ่งก่อสร้าง ที่ทำด้วย หินปูนหรือปูนซิเมนเกิดการผุกร่อน
4. ทำให้เกิดภาวะฝนกรด เนื่องจากกรดที่อยู่ในอากาศ ไปรวมตัวกับน้ำ ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ประเด็นคำถาม
1. เหตุใดจึงไม่นิยมใช้กระปุก พลาสติก บรรจุน้ำส้มสายชู
2. ถ้าต้องการทดสอบว่า น้ำส้มสายชูที่เรารับประทาน เป็นน้ำส้มสายชูแท้ หรือน้ำส้มสายชูปลอม จะมีวิธีการทดสอบอย่างไร
3. ถ้าใช้กระดาษลิตมัสทบสอบ สาร A แล้วพบว่า มีการเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสเป็นสีแดง แสดงว่าสารชนิดนั้นมีองค์ประกอบของไอออนชนิดใด
4. อาหารที่นักเรียนรับประทานชนิดใดมีกรดเป็นองค์ประกอบและมีกรดชนิดใด
การบุณาการ
คหกรรม เรื่องอาหารและโภชนาการ
งานบ้าน เรื่อง สารทำความสะอาด
อ้างอิง
https://www.lks.ac.th/student/kroo_su/chem22/ssacid.htm
www.thairath.co.th/today/view/20942
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1393