สารสำคัญในมะเขือเทศที่ได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ คือ สารไลโคพีน (lycopene)
มะเขือเทศ ทุกท่านคงจะรู้จักมะเขือเทศเป็นอย่างดี เพราะเป็นผลไม้ที่ใช้ในการประกอบอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน และเกลือแร่ต่างๆ มากมาย และเป็นแหล่งอาหารที่ดีสำหรับวิตามินซี วิตามินเค แร่ธาตุโปแตสเซียม และโบรอน สารสำคัญในมะเขือเทศที่ได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ คือ สารไลโคพีน (lycopene) ซึ่งเป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (carotenoid) ที่มีสรรพคุณต้านอนุมูลอิสระ และช่วยในการป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์ในร่างกาย สารไลโคพีนนี้มีประสิทธิภาพเหนือกว่าสารเบต้าเคโรทีน และสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์อื่นๆ ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และยังพบอีกว่าสารไลโคพีนช่วยลดโอกาสความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในต่อมลูกหมากได้มากถึงร้อยละ 20 สารไลโคพีนพบมากในมะเขือเทศแดงสด แตงโม และฝรั่งขี้นกที่มีเนื้อสีชมพูอมแดง
มนุษย์รับประทานมะเขือเทศเป็นอาหาร ผัก รวมทั้งเครื่องดื่ม นอกจากมะเขือเทศจะมีรสชาติที่อร่อยแล้ว ยังมาประโยชน์ ต่อสุขภาพ และมีคุณค่าทางอาหารมากมาย มะเขือเทศมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lycopersicon esculentum เป็นพืชในวงศ์ Solanaceae มะเขือเทศเป็นพืชล้มลุกอายุประมาณหนึ่งปี เติบโตเร็ว ลำต้นมีขนปกคลุม มีกลิ่นเฉพาะตัว ใบหยักเว้าลึก ดอกสีเหลืองรูปดาว ผลฉ่ำน้ำ ผลมะเขือเทศอาจมีรูปร่างกลมหรือรี สีเหลือง ส้ม หรือแดง
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
- มะเขือเทศเป็นแหล่งวิตามิน A, B, C, E และแร่ธาตุโพแทสเซียม
- น้ำจากผลมะเขือเทศที่คั้นใหม่ๆ ใช้ทำความสะอาดผิว ทำให้ผิวนุ่มเนียน และสวยงาม
- น้ำคั้นจากผลมะเขือเทศมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระอย่างอ่อน เนื่องจากในมะเขือเทศมีสารไลโคปีน ซึ่งจัดเป็นสารแคโรทีนอยด์ชนิดหนึ่ง แคโรทีนอยด์นี้เป็นเม็ดสีธรรมชาติที่ละลายในไขมันซึ่งให้สีเหลืองสด ส้ม แดง และเขียวสดกับผัก ผลไม้ อย่างเช่น แครอท ฟักทอง บร็อคโคลี่ ฯลฯ ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยต้านการเกิดอนุมูลอิสระ ทำให้อนุมูลของเซลล์ในร่างกายมีอนุภาคเป็นกลาง ช่วยหยุดยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของอนุมูลอิสระต่างๆ ซึ่งไลโคปีนนี้จัดว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลังที่สุด ในมะเขือเทศมีไลโคปีนอยู่มากเหนือกว่าแตงโมเกือบสองเท่า การกินมะเขือเทศเป็นประจำ ก็จะช่วยลดการเกิดอนุมูลอิสระได้มาก จะช่วยชะลอความแก่ชรา และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บอย่างเช่น มะเร็ง หรือโรคหัวใจได้มาก
- น้ำคั้นจากผลมะเขือเทศยับยั้งการเกิดมะเร็งที่กระเพาะปัสสาวะในหนูทดลอง และช่วยลดอุบัติการการเกิดมะเร็งที่ระบบทางเดินอาหารได้อีกด้วย นอกจากนี้การรับประทานผลมะเขือเทศจะได้รับสารไลโคพีนที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก
- สารที่มีชื่อเรียกว่า tomatoside เป็น steroidal glycoside มีอยู่ในมะเขือเทศ แสดงคุณสมบัติของ interferon ซึ่งอาจใช้ป้องกัน และรักษาการติดเชื้อไวรัสในมนุษย์และสัตว์
- การศึกษาวิจัยใช้สารเล็คทินที่สกัดจากมะเขือเทศสีดา พิสูจน์ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อเบต้าฮีโมลัยติค สเตร็ปโตค็อคคัส กลุ่มบี
องค์ประกอบทางเคมี
- ผลมะเขือเทศ ประกอบด้วย กรดอินทรีย์ น้ำตาล คาโรทีนอยด์ วิตามิน A, B, C, E ส่วนเหนือดิน ลำต้นและใบ มีพิษ เพราะมีสาร steroidal saponins
- แคโรทีนอยด์ (carotenoids) เป็นสารสีธรรมชาติที่พบมากที่สุด พบในคลอโรพลาสต์ในรูป chromoproteins หากอยู่นอกคลอโรพลาสต์ จะพบเป็น acyclic carotenoids ซึ่ง carotenoids ที่เป็นสีของมะเขือเทศคือ lycopene มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งที่มดลูก และปอด อีกทั้งยังเป็นส่วนผสมในตำรับยาที่ใช้ป้องกันอันตรายอันเกิดจากการผลิตอนุมูลอิสระที่ผิดปกติ
- อัลคาลอยด์ชนิด steroidal alkaloids เป็นกลุ่มสารที่ออกฤทธิ์รุนแรง จัดเป็นสารพิษ ในมะเขือเทศคือ tomatoside ซึ่งได้จากใบ และส่วนเหนือดิน ในผลสีเขียวจะมี alkaloid 0.03% แต่ในผลสุกไม่พบ alkaloid จึงไม่ควรรับประทานมะเขือเทศดิบ
- คุณสมบัติทางเภสัชวิทยาของ steroidal alkaloid ของพืชในวงศ์ Solanaceae จะทำปฏิกิริยากับสเตียรอลที่เซลล์ผิว เป็นผลให้เม็ดเลือดแดงแตก ทำให้ผิวหนังและเนื้อบุผิวระคายเคืองอย่างแรง มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส รา และใช้เป็นยาฆ่าแมลงมีคุณสมบัติยับยั้งเอมไซม์โคลีนเอสเตอเรส กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและต่อมาจะทำให้เป็นอัมพาต หากรับประทานในขนาดที่จะทำให้เกิดพิษจะระคายเคืองทางเดินอาหารอย่างแรง
ไลโคพีน
- จากการศึกษาวิจัย พบว่าผู้ที่รับประทานมะเขือเทศปริมาณสูง จะมีระดับของสารต้านอนุมูลอิสระชนิด carotenoid lycopene สูงในเลือด สารดังกล่าวลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
- ไลโคพีน (lycopene) เป็นสารในตระกูลแคโรทีนอยด์ (carotenoid) พบมากในมะเขือเทศแดงสด ซอสมะเขือเทศ แตงโม และฝรั่งขี้นกที่มีเนื้อสีชมพูอมแดง
- ผู้ป่วยเตรียมผ่าตัดต่อมลูกหมากที่ได้รับประทานซอสมะเขือเทศในปริมาณสูงเป็นเวลา 3 สัปดาห์ พบว่าระดับไลโคพีนในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ลดความเสียหายของเซลเม็ดเลือดขาวและเซลต่อมลูกหมาก รวมทั้งลดระดับของสารพีเอสเอในเลือดอีกด้วย
- มะเขือเทศอุดมไปด้วยวิตามิน และเกลือแร่ต่างๆ มากมาย และเป็นแหล่งอาหารที่ดีสำหรับวิตามินซี วิตามินเค แร่ธาตุโปแตสเซียม และโบรอน สารอาหารในมะเขือเทศที่ได้รับความสนใจ คือ สารไลโคพีน ซึ่งเป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ที่มีสรรพคุณต้านอนุมูลอิสระ และช่วยในการป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์ในร่างกาย
- สารไลโคพีนมีประสิทธิภาพเหนือว่าสารเบต้าเคโรทีน และสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์อื่นๆ ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และยังพบอีกว่าสารไลโคพีนสามารถช่วยลดโอกาสความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในต่อมลูกหมากได้มากถึงร้อยละ 20
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับมะเขือเทศ
- เคยมีคนทำวิจัยเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของมะเขือเทศเอาไว้มากมาย อย่างเช่น พบว่าการกินอาหาร เช่น พาสต้าราดซอสมะเขือเทศทุกวันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ จะช่วยลดอาการของมะเร็งต่อมลูกหมากลงได้ ส่วนในผู้หญิงสูงอายุหลังวัยหมดประจำเดือน การกินอาหารที่มีแคโรทีนอยด์ และไลปีนสูง เช่น แครอท หรือมะเขือเทศ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งรังไข่ แถมไลโคปีนปริมาณสูงๆ ยังช่วยลดปริมาณโคเลสเตอรอลส่วนไม่ดี หรือ LDL ซึ่งช่วยให้โอกาสเกิดโรคหัวใจลดน้อยลงด้วย
- มีการศึกษาในประเทศฟินแลนด์ พบว่าผู้ชายวัยกลางคนที่มีระดับไลโคปีนในเลือดต่ำจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดหัวใจวาย อัมพาต และโรคหลอดเลือดตีบมากขึ้น ส่วนในเนเธอร์แลนด์ก็เคยมีการศึกษาคล้ายๆ กัน พบว่าคนที่สูบบุหรี่เป็นประจำหากได้รับไลโคปีนในปริมาณสูง จะช่วยลดอัตราการเกิดเส้นเลือดตีบ และการเกิดหัวใจวายได้
- ไม่เพียงแต่มะเขือเทศจะมีไลโคปีนเท่านั้น แต่ยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ อี และซี ซึ่งในวารสารสมาคมแพทย์แห่งสหรัฐอเมริการะบุไว้ว่า วิตามินอี และซีทั้งสองตัวนี้จะช่วยต้านอนุมูลอิสระ และช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ได้ ส่วนวิตามินเอ ก็จะช่วยบำรุงสายตา และดีต่อสุขภาพผิว ช่วยให้ผิวเปล่งปลั่งสดใส โดยเฉพาะผิวหน้า ในขณะที่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งเทล อะวิฟก็ศึกษาพบว่า ผู้ชายที่รับประทานซอสมะเขือเทศประมาณ 3 ใน 4 ถ้วยต่อวัน จะช่วยพัฒนาความสามารถของร่างกายในการต่อสู้กับโรคหืดหอบได้ถึง 45% ด้วย
- จนถึงทุกวันนี้ยังไม่มีใครรายงานว่าการได้รับไลโคปีนจากมะเขือเทศมากไปจะมีผลเสียอย่างไรหรือเปล่า ดังนั้นจึงไม่ต้องห่วงว่าหากเราเป็นคนชอบกินอาหารที่มีมะเขือเทศมากๆ แต่ก็เคยมีการศึกษาในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดบอกว่า การป้องกันมะเร็งให้ได้ผลโดยการกินมะเขือเทศ ควรได้ไลโคปีนในปริมาณอย่างน้อย 6.5 มก.ต่อวัน เทียบเท่ากับการกินอาหารที่มีมะเขือเทศเป็นส่วนผสมหลักประมาณ 10 ครั้งต่อสัปดาห์ คนส่วนใหญ่มักไม่มีปัญหาอะไรกับการกินมะเขือเทศมากๆ เว้นแต่บางคนอาจพบว่าเกิดผื่นแดงบนผิวหนัง หรือในคนที่แพ้สารประเภทซาลิไซเลทในยาบางอย่างก็อาจเกิดอาการหายใจลำบากได้ หากเกิดอาการเช่นนี้ควรปรึกษาแพทย์ขอคำแนะนำที่ถูกต้องจะดีกว่า
- มีงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารการวิจัยทางเคมีด้านอาหาร และพืชการเกษตรกล่าวไว้ว่า การกินมะเขือเทศแบบปรุงสุกจะช่วยเพิ่มคุณค่าทางอาหาร และไลโคปีนได้ดีกว่าแบบดิบ ถึงแม้ว่าการให้ความร้อนอาจลดปริมาณวิตามินซีลงไป แต่คุณค่าส่วนอื่นๆ ก็ยังดีกว่าอาหารอีกหลายชนิด แถมยังช่วยให้ไลโคปีนอยู่ในสภาพพร้อมถูกดูดซึมโดยร่างกายเราได้ทันทีอีกด้วย
- มะเขือเทศผลขนาดกลางๆ จะมีน้ำหนักประมาณ 5.3 ออนซ์ หรือ 148 มก. ให้พลังงานประมาณ 35 แคลอรี และโคเลสเตอรอลระดับ 0 ให้ใยอาหาร ไขมัน และโปรตีนอย่างละประมาณ 1 กรัม และคาร์โบไฮเดรตประมาณ 6 กรัม มีวิตามินเอ 20% วิตามินซี 40% โปแตสเซียม 10% และเหล็ก 2%
- มะเขือเทศแช่เย็นจะมีรสชาติ และสีผิวที่ซีดจางลง หากต้องการกินมะเขือเทศ ควรนำออกจากตู้เย็นวางทิ้งไว้ก่อนสักชั่วโมงหนึ่งเพื่อให้รสชาติที่ถูกกักจากความเย็นกลับคืนมา