โมลาร์ เป็นหน่วยความเข้มข้นที่ใช้มากที่สุดในการบอกปริมาณสาร โดยเฉพาะในวิชาเคมี
นักเรียนเคยสังเกตที่ขวดสารเคมีที่อยู่ในห่องปฏิบัติการหรือ ไม่ ที่ขวดของสารเคมี นอกจากจะมีชื่อสารแล้ว ยังมีส่วนประกอบอะไรอีกบ้าง
โมลาร์ คืออะไร
โมลาร์เป็นหนวยสำหรับบอกความเข้มข้นของสารละลาย โดยจะบอกว่า ในสารละลาย 1000 cm3 มีสารละลายอยู่กี่โมล ใช้สัญลักษณ์แทนด้วย M
ตัวอย่าง
สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ เข้มข้น 2 M หมายความว่า ในสารละลาย 1000 cm3 มี โซเดียมไฮดรอกไซด์ 2 mol
สารละลายด่างทับทิมเข้มข้น 0.01 M หมายความว่า ในสารละลาย 1000 cm3 มีด่างทับทิม 0.01 mol
การเปลี่ยนหน่วยจากโมลเป็น กรัม ทำอย่างไร
จากสูตร
เมื่อ n คือ โมล
m คือ มวล
M คือ มวลโมเลกุล
M
หาได้จากการนำเอาเลขอะตอมของธาตุแต่ละชนิดที่เป็นองค์ประกอบในสารประกอบคูณกับจำนวนอะตอม แล้วนำมาบวกกัน เช่น
H2O มีมวลโมเลกุล เท่ากับ (1 x 2 ) + 16 = 18
HNO3 มีมวลโมเลกุลเท่ากับ 1 + 14 + (16 x 3 ) = 63
หมายเหตุ มวลโมเลกุลไม่มีหน่วย
ตัวอย่างการคำนวณ
1. ถ้าต้องการเตรียมสารละลายด่างทับทิม เข้มข้น 2.5 M จำนวน 100 cm3 จะต้องใช้ KMnO4 จำนวนกี่กรัม ( กำหนดให้มวลอะตอมของธาตุต่าง ๆ เป็นดังนี้ K = 39 Mn = 55 , O =16 )
วิธีทำ
สารละลายด่างทับทิม เข้มข้น 2.5 M หมายถึง ในสารละลายด่างทับทิม 1000 cm3 มีด่างทับทิม 2.5 mol
ในสารละลาย 1000 cm3 ใช้ด่างทับทิม 2.5 mol
ในสารละลาย 100 cm3 ใช้ด่างทับทิม mol
ในสารละลาย 100 cm3 ใช้ด่างทับทิม 0.25 mol
หามวลของ ด่างทับทิม โดยใช้สูตร
M ของด่างทับทิม ( KMnO4) = 39 + 55 + (16 x 4 ) = 158
ดังนั้น ด่างทิม 0.25 mol = 0.25 x 158 = 39.5 กรัม
ถ้าต้องการเตรียมสารละลายด่างทับทิมเข้มข้น 2.5 M จำนวน 100 cm3 จะต้องใช้ ด่างทับทิม 39.5 กรัม
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1400