หน่วยความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยโมแลล หรือโมลต่อกิโลกรัม จะใช้เมื่อใด......
โมแลลิตี (molality)
เป็นหน่วยความเข้มข้นที่ใช้บอก “ จำนวนโมลของตัวถูกละลายที่มีอยู่ในตัวทำละลาย 1 กิโลกรัม หรือ 1000 กรัม”
มีหน่วยเป็นโมลต่อกิโลกรัม
ใช้สัญลักษณ์เป็น “m”
เช่น
สารละลายกรด HNO3 1 m หมายความว่าในน้ำ 1 กิโลกรัม มีกรด HNO3 ละลายอยู่ 1 โมล
สารละลาย NH3 0.02 โมล/กิโลกรัม หมายความว่าในน้ำ 1000 กรัม มี NH3 ละลายอยู่ 0.02 โมล
ตัวอย่างการคำนวณ
1. ถ้าต้องการสารละลาย CaCl2 เข้มข้น 3 m จาก CaCl2 22.2 กรัม จะต้องใช้น้ำจำนวนเท่าใด กำหนด มวลอะตอมของ Ca = 40 , Cl = 35.5
วิธีทำ
สารละลาย CaCl2 เข้มข้น 3 m หมายถึง ในตัวทำละลาย 1000 กรัม มี CaCl 2 3 mol
ในตัวทำละลาย 1000 กรัม มี CaCl2 3 x 111 กรัม
ถ้าใช้ CaCl2 333 กรัม จะใช้น้ำ (ตัวทำละลาย ) 1000 กรัม
มี CaCl2 22.2 กรัม จะต้องใช้น้ำ กรัม
CaCl2 22.2 กรัม จะต้องใช้น้ำ 66.67 กรัม
ตอบ ใช้ CaCl 2 22.2 กรัม ละลายน้ำจำนวน 66.67 กรัม จะได้สารละลายเข้มข้น 3 m
2. เมื่อนำกลูโคส (C6H12O6 ) 18 กรัม ละลายในน้ำ 100 cm3 (ความหนาแน่นของน้ำเป็น 1 กรัม/cm3 จงคำนวณความเข้มข้นของสารละลายกลูโคสในหน่วยโมลต่อกิโลกรัม
น้ำ 100 cm3 มีกลูโคส 18 g
น้ำ 100 g มีกลูโคส 18 g
น้ำ 1000 g มีกลูโคส g
น้ำ 1000 g มีกลูโคส 180 g
หาโมลจากสูตร
m =180 กรัม
M = (12 x 6)+(1 x12)+(6 x 16)= 180
แทนค่าในสูตร
n = 1 โมล
ตอบ สารละลายมีความเข้มข้น 1 m
แบบฝึกหัด
1. สารละลายแอมโมเนียมไนเตรด เข้มข้น 2 m หมายถึงอะไร
2. นำ น้ำ 250 กรัม และ น้ำตาลทราย 0.5 โมล ผสมกัน สารละลายมีความเข้มข้นเท่าใด
3. มี โซเดียมไอโอได์ 15 กรัม ถ้าต้องการเตรียมสารละลายเข้มข้น 1 m จะต้องใช้น้ำจำนวนเท่าใด กำหนดมวลอะตอมของ Na=23 , I = 127
4. ต้องการเตรียม สารละลาย แมกนีเซียมคลอไรด์ เข้มข้น 4 m จำนวน 500 cm3 จะต้องใช้ แมกนีเซียมคลอไรด์ และน้ำจำนวนเท่าใด กำหนด Mg = 12 Cl =35.5 H = 1 O=16 ความหนาแน่นของสารละลาย = 0.8 g/cm3 และความหนาแน่นของน้ำเท่ากับ 1 g/cm3
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1404