การบอกอัตราส่วนระหว่างจำนวนโมลของสารในสารละลายทั้งหมด คือการบอกความเข้มข้นในหน่วยเศษส่วนโมล
เศษส่วนโมล (mole fraction)
เศษส่วนโมล หมายถึง อัตราส่วนระหว่างจำนวนโมลของสารแต่ละชนิด ต่อจำนวนโมลของสารทั้งหมด(ในสารละลาย )
เศษส่วนโมลของตัวทำละลาย จึงหมายถึงอัตราส่วนระหว่างจำนวนโมลของตัวทำละลายต่อจำนวนโมลของสารละลาย
เศษส่วนโมลของตัวถูกละลาย จึงหมายถึง อัตราส่วนระหว่างจำนวนโมลของตัวถูกละลายต่อจำนวนโมลของสารละลาย
ใช้สัญลักษณ์เป็น ” x ”
เศษส่วนโมล เขียนเป็นสูตรแสดงความสัมพันธ์ได้ดังนี้
เศษส่วนโมล A =
เช่น
สารละลายชนิดหนึ่งประกอบด้วยสาร A n1 โมล และสาร B n2 โมล
จำนวนโมลรวม = n1 + n2
เศษส่วนโมลของ A =
เศษส่วนโมลของ B =
ข้อสังเกตุ
1. เศษส่วนโมลของสารแต่ละชนิดจะต้องมีค่าน้อยกว่า 1 เสมอ
2. ผลบวกของเศษส่วนโมลของสารทั้งหมดรวมกันจะต้องเป็น 1 เสมอ
ตัวอย่าง
สารละลาย NaNO3 มีเศษส่วนโมลของ NaNO3 เท่ากับ 0. 3 หมายความว่า ในสารละลาย 1 โมล จะมี NaNO3 0.3 โมล และมีน้ำ 0.7 โมล
ตัวอย่างการคำนวณ
เมื่อนำกลูโคส 18 กรัม ละลายในน้ำ 180 cm3 (ความหนาแน่นของน้ำเป็น 1 กรัม/cm3 จงคำนวณความเข้มข้นของสารละลายกลูโคสในหน่วยเศษส่วนโมล
วิธีทำ
ในน้ำ 180 g มีกลูโคส 18 กรัม
ในน้ำ mol มี กลูโคส mol
เศษส่วนโมลของกลูโคส =
= 9.9 x 10-3 =0.01
= 0.99
เศษส่วนโมลของกลูโคส + เศษส่วนโมลของน้ำ = 0.01 + 0.99 = 1
แบบฝึกหัด
1. นำเกลือแกง 10 กรัม ผสมกับน้ำ 240 กรัม จงหาเศษส่วนโมลของเกลือแกงในสารละลาย
2. สารละลายชนิดหนึ่งมี KI จำนวน 16.6 กรัม ละลายอยู่ในน้ำ 144 กรัม จงหาความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยเศษส่วนโมล
3. สารละลาย CaCl2 เข้มข้น 30 % โดยมวล จะมีความเข้มข้นในหน่วยเศษส่วนโมลเท่ากับเท่าใด
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1405