แหล่งพลังงานที่สำคัญ คือแหล่งปิโตรเลียม น้ำมันดิบและปิโตรเลียมสามารถนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร พบแหล่งน้ำมันดิบแหล่งใหม่ในพิจิตร ( ข่าว ASTV 1 สิงหาคม 2552 ) นายสมชัย หทยะตันติ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร เปิดเผยว่า พบแหล่งน้ำมันดิบ ในจังหวัดพิจิตร เตรียมรายงานกระทรวงพลั งงานเพื่อ นำแหล่งน้ำมันดิบมาใช้ในโอกาสต่อไป น้ำมันดิบคืออะไร น้ำมันดิบ คือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดหนึ่งที่เกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ อาจจะมีสารอื่น ๆปะปนอยู่ด้วย เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจน ออกซิเจน มีลัษณะเป็นของเหลวหนืด น้ำมันดิบเกิดจากอะไร น้ำมันบเกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ และมีจุลินทรีย์ทำหน้าที่ในการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์นั้น ในขณะที่เกิดการทับถามอยู่ สมบัติของน้ำมันดิบ สมบัติทางกายภาพ 1. สีของน้ำมันดิบ มีหลายสี เช่น สีเหลือง เขียว น้ำตาล และดำ 2. ความหนาแน่นอยู่ในช่วง 0.79 - 0.94 กรัมต่อมิลลิลิตร 3. มีน้ำหนักเบากว่าน้ำ ทำให้น้ำมันดิบลอยตัวที่ผิวน้ำ หมายเหตุ การบอกค่าความหนาแน่นของน้ำมันดิบนิยมกำหนดเป็นค่าความโน้มถ่วงของน้ำมันดิบเป็น องศา เอ พี ไอ (° API) องศา เอ พี ไอ = (141.5/ค่าความถ่วงจำเพาะที่ 60°F) - 130.5 น้ำมันดิบโดยทั่วไปมีค่าองศา เอ พี ไออยู่ในช่วง 5 ถึง 61 4. ค่าความหนืดของน้ำมันดิบอยู่ในช่วงค่อนข้างกว้างมาก คือ ตั้งแต่ 0.7 - 8200 เซนติปอยส์ 5. น้ำมันดิบสามารถเรืองแสงได้ภายใต้รังสีอัลตราไวโอเลตหรือแสงเหนือม่วง ส่วนประกอบที่สำคัญของน้ำมันดิบ ส่วนประกอบทางเคมีที่สำคัญโดยทั่วไปของน้ำมันดิบ 1. คาร์บอนร้อยละ 82.2 - 87.1 2.ไฮโดรเจนร้อยละ 11.7 - 14.17 3. กำมะถันร้อยละ 0.1 - 5.5 กระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ การกลั่นน้ำมันคือการเปลี่ยนสภาพน้ำมันดิบให้เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปชนิดต่างๆ ตามที่ต้องการเพื่อความสะดวกและเหมาะสมแก่การใช้ประโยชน์ ขั้นตอนในการกลั่นน้ำมันดิบ 1. แยกน้ำและสารประกอบต่าง ๆ ออกจากน้ำมันดิบ เพื่อให้เหลือเฉพาะ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน 2. นำสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ที่แยกสิ่งแยกสิ่งเจือปนออกแล้ว ผ่านท่อเข้าไปในเตาเผาที่มีอุณหภูมิ 320 – 385 OC น้ำมันดิบบางส่วนเปลี่ยนสถานะเป็นไอปนไปกับของเหลว 3. ส่งสารประกอบไฮโดรคาร์บอนทั้งที่เป็นของเหลวและไอผ่านเข้าไปในหอกลั่น ( หอกลั่นเป็นหอสูงที่ภายในประกอบด้วยชั้นเรียงกันหลายสิบชั้น แต่ละชั้นจะมีอุณหภูมิแตกต่างกัน ชั้นบนมีอุณหภูมิต่ำ ชั้นล่างมีอุณหภูมิสูง ) โรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทย ในปรเทศไทยมีโรงกลั่นน้ำมัน 6 โรงกลั่น คือ โรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ โรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ โรงกลั่นน้ำมันบางจาก โรงกลั่นน้ำมันระยอง โรงกลั่นน้ำมันสตาร์ปิโตรเลียมและโรงกลั่นน้ำมันทีพีไอ
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีมวลโมเลกุลต่ำและจุดเดือดต่ำจะระเหยขึ้นไปและควบแน่นเป็นของเหลวบริเวณชั้นที่อยู่ส่วนบนของหอกลั่น ส่วนสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีมวลโมเลกุลสูงและจุดเดือดสูงกว่าจะควบแน่นเป็นของเหลวอยู่ในชั้นต่ำลงมาตามช่วงอุณหภูมิของจุดเดือด สารประกอบไฮโดรคาร์บอนบางชนิดที่มีจุดเดือดใกล้เคียงกันจะควบแน่นปนกันออกมาชั้นเดียวกัน การเลือกช่วงอุณหภูมิในการเก็บผลิตภัณฑ์จึงขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ มี 3 ประเภทตือ 1.แก๊สปิโตรเลียม 2. น้ำมันชนิดต่าง ๆ ได้แก่ น้ำมันเครื่องบิน ( แนฟทา ) น้ำมันเบนซิน , น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันหล่อลื่น 3. บิทูเมน ตารางแสดงผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์ที่ได้ | จุดเดือด (OC) | สถานะ | จำนวน C | การใช้ประโยชน์ | แก๊สปิโตรเลียม | < 30 | แก๊ส | 1-4 | ทำสารเคมี วัสดุสังเคราะห์ เชื้อเพลิงแก๊สหุงต้ม | แนฟทาเบา | 30 -100 | ของเหลว | 5-7 | น้ำมันเบนซิน ตัวทำละลาย | แนฟทาหนัก | 65 - 170 | ของเหลว | 6 -12 | น้ำมันเบนซิน แนฟทาหนัก | น้ำมันก๊าด | 170 – 250 | ของเหลว | 10 -19 | น้ำมันก๊าด เชื้อเพลิงเครื่องยนต์ไอพ่น และตะเกียง | น้ำมันดีเซล | 250 – 340 | ของเหลว | 14 - 19 | เชื้อเพลิงเครื่องยนต์ดีเซล | น้ำมันหล่อลื่น | > 350 | ของเหลว | 19 -35 | น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเครื่อง | ไข | > 500 | ของแข็ง | > 35 | ใช้ทำเทียนไข เครื่องสำอาง ยาขัดมัน ผลิตผงซักฟอก | น้ำมันเตา | > 500 | ของเหลวหนืด | > 35 | เชื้อเพลิงเครื่องจักร | ยางมะตอย | > 500 | ของเหลวหนืด | > 35 | ยางมะตอย เป็นของแข็งที่อ่อนตัวและเหนียวหนืดเมื่อถูกความร้อน ใช้เป็นวัสดุกันซึม | การขนส่งน้ำมัน 1.ท่อ 2. เรือ 3.รถบรรทุก 4. รถไฟ
การปรับปรุงคุณภาพของน้ำมัน 1. แอลคิเลชั่น 2. รีฟอร์มิง 3. โอลิโกเมอร์ไรเซชั่น 4. การแตกสลาย
ประเด็นคำถาม 1. น้ำมันดิบและปิโตรเลียมมีลักษณะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร 2. ถ้าต้องการผลิตภัณฑ์น้ำมันชนิด น้ำมันเบนซิน มากกว่าน้ำมันชนิดอื่น ๆ สามารถทำได้หรือไม่อย่างไร 3. ในบรรจุบันความต้องการใช้น้ำมันชนิดต่าง ๆ มีมากขึ้น ทานคิดว่าจะมีผลต่อราคาน้ำมันหรือไม่อย่างไร 4. หากไม่ต้องการสั่งซื้อน้ำมันดิบมาจากต่างประเทศได้ นักเรียนคิดว่าจะมีวิธีการใช้น้ำมันอย่างไรเพื่อให้มีน้ำมันเพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ
อ้างอิง https://viky.exteen.com/20060417/crude-oil-1 https://guru.sanook.com https://www.promma.ac.th https://www.ptit.org หอกลั่น ภาพจากhttps://www.geocities.com ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1423 |