พิษภัยใกล้ตัว


984 ผู้ชม


อันตรายจากแอมโมเนียมีให้เห็นเป็นประจำในหน้าหนังสือพิมพ์ ทำอย่างไร เราจึงจะปลอดภัย   

พิษภัยใกล้ตัว ตอน อันตรายจากแอมโมเนีย

      5 ส.ค. 52   สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนรายงานว่า แก๊สแอมโมเนียรั่วที่โรงงานผลิตยาทางภาคเหนือ ทำให้มีผู้ป่วยกว่า 200 คน   เนื่องจากการขนถ่ายแอมโมเนียกว่า  ออกจากรถ   ในเขตมองโกเลีย  ทำให้ชาวบ้านที่อยู่ใต้ลมห่างจากโรงงาน 2 กิโลเมตร ต้องอพยพหนี ส่วนผู้ป่วยมีอาการปวด  วิงเวียนศีรษะ และส่งผลกระทบระบบทางเดินหายใจต้องนำตัวส่งโรงพยาบาล
ที่มา : เดลินิวส์ออนไลน์ 
            
แอมโมเนีย
      
แอมโมเนีย (AMMONIA) เป็นสารอนินทรีย์    ประกอบด้วยธาตุไนโตรเจนและไฮโดรเจน   สูตรเคมี NH3  น้ำหนักโมเลกุล 17.03    ชื่อเรียกอื่น   คือ AMMONIA ANHYDROUS
        แอมโมเนีย จัดอยู่ในหมู่สินค้าอันตราย    ใน Class 2.3  คือเป็นก๊าซพิษและกัดกร่อน    จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3  ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535  รหัสทะเบียน วอ.3005 
         แอมโมเนียในบรรยากาศปกติจะเป็นแก๊สไม่มีสี    มีกลิ่นฉุนระคายเคือง  สภาวะที่อยู่ภายใต้ความกดดันอุณหภูมิต่ำจะมีสภาพเป็นของเหลว  (Liquid  fied)
รูปร่างโมเลกุล
       
โมเลกุลของแอมโมเนีย  มีลักษณะถูกอัดเป็น พีระมิดฐานสามเหลี่ยม    มีลักษณะเป็นไดโพล (dipole) และทำให้มันเป็นขั้ว ดังนั้นแอมโมเนียจึงละลายในน้ำ ได้ดีมากอะตอมไนโตรเจนในโมเลกุลจะมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว (lone electron pair) และทำให้แอมโมเนียมีฤทธิ์เป็นเบสในสารละลายน้ำ (aqueous solution) ที่เป็นกรด หรือเป็นกลางมันสามารถจะมีพันธะกับไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) ปลดปล่อยโมเลกุลของน้ำ (H2O) แล้วเกิดเป็นประจุบวกของแอมโมเนียมไอออน (NH4+), ซึ่งรูปร่างปกติทรงสี่หน้า    

พิษภัยใกล้ตัว

โครงสร้างของแอมโมเนีย จาก https://student.mahidol.ac.th/~u4903019/compound_clip_image002.jpg

สมบัติทางกายภาพ

รายการ

สมบัติ

สถานะ ที่ อุณหภูมิ       15 0C ความดัน    1 atm แก๊ส
จุดเดือดที่ ความดัน  1 atm  -33.4  0
จุดหลอมเหลว -77.7  0C
Specific Gravity at –33.4 0C   (liquid) 0.682
Vapor  (gas) Specific Gravity 0.6
Vapor Pressure at 21.1 0C 888.0 kPa
Latent Heat of Evaporization 327.4 kcal/Kg
Solubility in Water at 20 0C , 1 atm 53 g NH3/100 gH2O
Colour - Odor  colourless – pungent
Explosive Limits (by volume) 15 -28 %
Autoignition  Temperature 651 0C

คุณสมบัติทางเคมี 
         1. กัดกร่อนและเป็นเบสสูง เช่น สารละลายแอมโมเนีย 1.0  N   มี pH  11.6 สารละลายแอมโมเนีย 0.1  N มี pH  11.1   และสารละลายแอมโมเนีย 0.01  N มี pH  10.6
         2. แอมโมเนียทำให้ยาง (Rubber)  พลาสติก  และสารเคลือบผิว  บูดบวมหมดสภาพ
         3. ทำปฏิกิริยารุนแรงกับเอไมด์ และกรด
         4. ติดไฟได้เมื่อทำปฏิกิริยากับกรดไนตริก
         5. ปฏิกิริยากับสารอ๊อกซิไดซ์ สารประกอบของธาตุหมู่ฮาโลเจน เงิน ปรอท โบรอน โปตัสเซียม ฟอสฟอรัส และแคลเซียม  จะเกิดการลุกไหม้และระเบิดอย่างรุนแรง
         6. ทำปฏิกิริยากัดกร่อนสารตะกั่ว  อลูมิเนียม  ดีบุก  ทองแดง หรือโลหะผสมทองแดง   เช่น ทองเหลือง สังกะสี หรือเหล็กที่ผ่านขบวนการกัลวาไนท์
        7. ทำปฏิกิริยากับน้ำให้แอมโมเนียมไฮดร๊อกไซด์(NH4OH) และความร้อน (exothermic)
        8. การสลายตัวโดยความร้อนจะให้ละอองฟูมกัดกร่อน (Corrosive fume of ammonia) และเกิดก๊าซพิษกลุ่มอ๊อกไซด์ ของไนโตรเจน
 

 ประโยชน์
       1. ใช้ดมเวลาเป็นลม 
       2. สารทำความสะอาดในบ้านเรือน (แอมโมเนียผสมแอลกอฮอล์ ) เช่น น้ำยาล้างกระจก 
       3. แอมโมเนียในสถานะก๊าซใช้เป็นสารนำความเย็นบรรจุในแผงท่อโลหะของตู้เย็น หรือเครื่องทำความเย็นของโรงงาน 
       4. ใช้ในการผลิตปุ๋ย  ( ปุ๋ยยูเรียหรือแอมโมเนียมไนเตรต )
       5. ใช้ในการผลิตพลาสติกประเภทเส้นใยไนล่อนที่ทำจากคาโปรแลคแทมหรือไฮโดรไซยาเนต 
       6. ใช้แอมโมเนียเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ในการผลิตเม็ดพลาสติกที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาของยูเรีย-
ฟอร์มัลดีไฮด์
       7. ใช้แอมโมเนียในการล้างฤทธิ์กรดของน้ำมันดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม
       8. ใช้ป้องกันการกัดกร่อนของโลหะ
      9. ใช้เติมลงไปเพื่อไม่ให้น้ำยางแข็งตัว ในกระบวนการขนส่งน้ำยางดิบที่กรีดจากต้นยาง
อันตรายจากแอมโมเนีย
     1.ทำให้เกิดการระคายเคือง แสบตา อาจทำให้ตาบอดได้ 
      2. เมื่อสูดเข้าไป ในปริใณมาก   จะทำให้
           2.1 สำลักหายใจไม่ออก เพราะเกิดการบวมน้ำของทางเดินหายใจ
           2.2 มีอาการคลื่นไส้อาเจียน 
           2.3 ปวดท้องรุนแรง 
           2.4 เจ็บหน้าอก 
          2.5 ชักและถึงตายได้ 
     3. เมื่อสูดดมเข้าไปปริมาณน้อย 
         3.1ปอดบวม 
         3.2 เยื่อจมูกและตาอักเสบ เพราะละลายน้ำได้ดีและเกิดความร้อนด้วย 
    4. แอมโมเนียเหลวถ้าถูกผิวหนัง จะกัดผิวหนังด้วยความเย็นจัด 
การป้องกัน
     ถ้าจะมีโอกาสประสบอุบัติเหตุจากก๊าซรั่ว ซึ่งเกิดจากการรั่วจากเครื่องทำความเย็น หรือถังก๊าซรั่วระหว่างขนส่ง  มีวิธีป้องกันและแก้ไขดังนี้
      1. ใช้อุปกรร์ป้องกัน หากต้องเกี่ยวข้องโดยตรงกับแก๊สชนิดนี้ เช่น ผู้ที่อยู่ในโรงงาน ผลิตแก๊ส
      2.  เก็บถังก๊าซไว้ในที่อากาศระบายได้ดี ห่างจากแหล่งติดไฟ ห้ามสูบบุหรี่ 
      3.  เมื่อได้กลิ่นเพียงเล็กน้อย ต้องหาทางป้องกันตัวเองก่อนเข้าไปปิดการรั่วไหล และเคลื่อนย้ายไปยังที่โล่ง 
      4. ในกรณีไฟไหม้ ห้ามใช้น้ำ 
      5. ถ้ามีผู้ป่วยต้องช่วยให้ได้รับอากาศบริสุทธิ์เร็วที่สุด ถ้าจำเป็นให้ใช้การช่วยหายใจแบบปากต่อปาก
 หรือใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจ 
      6. ถ้าถูกผิวหนังควรชะล้างด้วยนํ้าปริมาณมาก ๆ ทาด้วยพอลลีเอธีลีน ไกลคอล 400 และส่งแพทย์..

แอมโมเนียกับปาท่องโก๋
       สารให้ความกรอบใน ปาท่องโก๋    คือ เฉาก่า หรือ เบคกิ้งแอมโมเนีย (Baking Ammonia) หรือ หรือแอมโมเนียมไบคาร์บอเนต (Ammonium Bicabonate)     ลักษณะทางกายภาพของแอมโมเนียมไบคาร์บอเนต   มีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว  ที่อุณหภูมิห้อง    มีกลิ่นของแอมโมเนียเล็กน้อย และสามารถละลายน้ำได้ (ละลายได้ประมาณ 17.4% ในน้ำสะอาดอุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส)   แต่ไม่ละลายในอะซิโตนและแอลกอล์ฮอล มีฤทธิเป็นกลาง pH ประมาณ 7.8
       แอมโมเนียม ไบคาร์บอเนต (Ammonium Biabonate) จัดเป็นสารเติมแต่งในอาหารที่ให้คุณสมบัติ
       1. ทำให้อาหารขึ้นฟู
       2. ทำให้อาหารมีความกรอบ
      3. ช่วยฆ่าแบคทีเรียได้ 
      แอมโมเนียมไบคาร์บอนเนต   นิยมใช้ในอาหารที่ทำจากแป้งจำพวก ซาลาเปา ปาท่องโก๋ 
      แอมโมเนียมไบคาร์บอเนต จะสลายตัวเมื่อได้รับความร้อนที่อุณหภูมิ 36-60 องศาเซลเซียส โดยเมื่อสลายตัวจะให้แก๊ส 3 ชนิด คือ คาร์บอนไดออกไซค์ แอมโมเนีย และไอน้ำ   ดังสมการ
   NH4HCO3   ------->   NH3 + CO2 + H2O
 
ประเด็นคำถาม
    1. ในชีวิตประจำวันนักเรียนเกี่ยวข้องกับแอมโมเนียหรือไม่อย่างไร
    2. หากนักเรียนสูดดมแอมโมเนียเข้าไปมาก ๆ จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของนักเรียนอย่างไร
    3. การทำขนม จำพวก ปาท่องโก้   ซาละเปา  เหตุใดต้องใช้แอมโมเนียมไบคาร์บอนเนต เป็นองค์ประกอบ   ถ้าใช้แอมโมเนียหอม แทนจะได้หรือไม่  เพราะเหตุใด

อ้างอิง
https://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=1&ID=33
https://student.mahidol.ac.th/~u4903148/index.html
https://www.pharmacafe.com/board/viewtopic.php?f=18&t=18387
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1449

อัพเดทล่าสุด