สัตว์ตัวไหนเชื่องไม่เชื่อง ที่แท้ "ยีน" เป็นตัวกำหนด


888 ผู้ชม


คนสมัยก่อนอาจมีความเชื่อเกี่ยวกับสัตว์ที่มีนิสัยเชื่อง ไม่ดุร้าย ว่าเป็นเพราะการถูกชะตา เข้ากันได้หรืออะไรก็ตามแต่ แต่เดี๋ยวนี้นักวิจัยพิสูจน์ได้แล้วว่า เหตุที่ทำสัตว์เชื่องได้มีอยู่ในยีน เป็นความหวังให้นักปรับปรุงพันธุ์เปลี่ยนสัตว์ดุร้ายให้กลายเป็นมิตรกั   

สัตว์ตัวไหนเชื่องไม่เชื่อง ที่แท้ "ยีน" เป็นตัวกำหนด
ควายป่าแอฟริกัน ที่ชาวแอฟริกาใต้พยามทำให้เชื่องและนำมาเลี้ยง แต่ยังไม่เคยทำสำเร็จเลย     (ภาพจาก ไซน์เดลี/iStockphoto/Johan Swanepoel)

        ทีมนักวิทยาศาสตร์จากประเทศเยอรมนี, รัสเซีย และสวีเดน ค้นพบยีนที่ทำให้สัตว์มีนิสัยเชื่อง ไม่ดุร้ายหรือเป็นพิษภัยกับคน โดยได้พีพิมพ์เรื่องดังกล่าวในวารสารเจเนติกส์ (Genetics) ฉบับของเดือน มิ.ย.52 ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อนักปรับปรุงพันธุ์สัตว์ เกษตรกร รวมทั้งนักสัตววิทยา หรือนักวิชาการ ที่จะศึกษาทำความเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นว่าทำไมสัตว์บางชนิดถึงปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ได้ดีกว่าสัตว์ชนิดอื่น รวมถึงการพัฒนาสายพันธุ์สัตว์รุ่นใหม่ให้มีความเชื่องได้อย่างแม่นยำ
       
       "ผมหวังว่าการศึกษาของพวกเรานี้จะนำไปสู่ความเข้าใจในรายละเอียดทางพันธุศาสตร์และชีววิทยาของสัตว์ที่มีนิสัยเชื่องได้ในที่สุด และบางทีเราอาจจะสามารถทำให้สัตว์บางชนิดเชื่องลงหรือนำมาเลี้ยงได้ ซึ่งในอดีตมนุษย์เราไม่เคยทำได้มาก่อน เช่น ควายป่าแอฟริกัน (African Buffalo)" ข้อเสนอแนะของแฟรงก์ อัลเบิร์ต (Frank Albert) นักวิทยาศาสตร์และหัวหน้าทีมวิจัยเรื่องดังกล่าวจากสถาบันมักซ์พลังก์เพื่อการศึกษามานุษยวิทยาวิวัฒนาการ (
Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology) ในเยอรมนี
       
       ทั้งนี้ ไซน์เดลีรายงานว่า ผลสำเร็จการค้นพบยีนส่วนที่ทำให้สัตว์มีนิสัยเชื่องสืบเนื่องย้อนกลับไปได้ถึงปี 2515 เมื่อนักวิจัยรัสเซียสามารถจับหนูแรทที่แพร่กระจายอยู่ทั่วเมืองได้ เมื่อจับหนูเหล่านั้นมาไว้ในห้องแล็บ นักวิจัยก็แยกหนูออกเป็น 2 กลุ่ม โดยหนูกลุ่มแรกส่วนใหญ่มีนิสัยเป็นมิตร ไม่ก้าวร้าวกับคน สามารถสัมผัสและจับต้องได้ ขณะที่หนูอีกกลุ่มหนึ่งส่วนใหญ่จะมีนิสัยก้าวร้าว ชอบร้องส่งเสียงดัง และมักวิ่งหนี หรือจู่โจมกัดนักวิจัย
       
       เมื่อนักวิจัยจับหนูทั้งสองกลุ่มมาผสมพันธุ์กันหลายๆ รุ่น และศึกษาจีโนมของหนูเปรียบเทียบกัน ซึ่งหนูที่เชื่องและไม่เชื่องกับคนก็จะมีพฤติกรรมแตกต่างกันอย่างมาก จนนักวิจัยสามารถระบุได้ว่ายีนบริเวณใดมีส่วนเกี่ยวข้องและทำให้หนูมีนิสัยเชื่องหรือก้าวร้าว
       
       "เป็นเวลาหลายพันปีมาแล้ว ที่มนุษย์นำสัตว์ที่มีนิสัยเชื่องมาเลี้ยง ซึ่งบ้างก็มีความเชื่อ ตำนาน หรือเทพนิยายที่เกี่ยวกับสัตว์ที่มีนิสัยเชื่อง แต่ ณ ขณะนี้เรารู้แล้วว่าพันธุกรรมมีบทบาทสำคัญมากต่อพฤติกรรมเชื่องของสัตว์เหล่านั้น และงานวิจัยเรื่องนี้ก็อธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าวในเชิงวิทยาศาสตร์ได้อย่างน่าเชื่อถือ และอาจทำให้เราสามารถเพาะพันธุ์สัตว์ชนิดที่ครั้งหนึ่งเราเคยเชื่อกันว่าสัตว์นั้นจะไม่มีทางเชื่องเลยให้กลายเป็นสัตว์ที่มีนิสัยเชื่องได้ในที่สุด" มาร์ค จอห์สตัน (Mark Johnston) บรรณาธิการใหญ่ของวารสารเจเนติกส์กล่าวแสดงความเห็น

ยิน (GENE)  คืออะไร
          ตอน  1  ยีน คือ คำสั่งที่ให้สิ่งมีชีวิตมีลักษณะตามพันธุ์ของมัน ยีน อยู่ในเซลล์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตจะมียีนอยู่เป็นจำนวนมากขึ้นอยู่กับความสลับซับซ้อนของสิ่งมีชีวิตนั้น

สัตว์ตัวไหนเชื่องไม่เชื่อง ที่แท้ "ยีน" เป็นตัวกำหนด

ตอนที่ 2 ยีน เป็นสารเคมีที่ เรียกว่า ดีเอ็นเอ ( DNA-Deoxyribonucleic acid ) ซึ่งการเรียงตัวของหน่วยย่อยนี้เป็นตัวกำหนดลักษณะทางพันธุกรรม ที่สามารถถ่ายถอดไปยังลูกหลานได้ เรียกว่า เบส

สัตว์ตัวไหนเชื่องไม่เชื่อง ที่แท้ "ยีน" เป็นตัวกำหนด

ตอนที่ 3 โครโมโซม คือ ดีเอ็นเอ เกลียวคู่ (double helical DNA หรือ double strand DNA ) 1 โมเลกุล ที่จับเป็นสารประกอบเชิงซ้อนกับโปรตีนชนิดต่างๆ และสารอื่นๆ พบได้ในนิวเคลียส ของเซลล์พืชและสัตว์

สัตว์ตัวไหนเชื่องไม่เชื่อง ที่แท้ "ยีน" เป็นตัวกำหนด

ตอนที่ 4 ดีเอ็นเอ คือ โมเลกุลที่เป็นตัวเก็บรหัสกรรมพันธุ์ในสิ่งมีชีวิตทั่วไป

สัตว์ตัวไหนเชื่องไม่เชื่อง ที่แท้ "ยีน" เป็นตัวกำหนด


        การที่เราได้เรียนรู้ความหมายของ ยีน โครโมโซม ดีเอ็นเอ แล้วทำให้เราได้รู้ว่า สิ่งเหล่านี้ทำหน้าที่อะไรบ้าง และอยู่ส่วนไหนในร่างกายมนุษย์เรา

ประเด็นคำถาม
        1.  
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับยีนและโครโมโซมเกี่ยวข้องกับการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตอย่างไร
        คำตอบ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในลำดับของยีน หรือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโครโมโซม อาจทำให้สิ่งมีชีวิตอยู่รอด ลักษณะที่เกิดมิวเทชันถ้ามีการถ่ายทอดและถูกคัดเลือกไว้ในธรรมชาติ และสะสมไว้ในยีนพูล อาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ
        2.  สาเหตุการเกิดมิวเทชันระดับยีนมีอะไรบ้าง?

        คำตอบ 
สาเหตุการเกิดมิวเทชันระดับยีน ได้แก่ รังสีอัลตราไวโอเลต สารเคมีบางอย่าง เช่น สารอะฟลาทอกซิน มีผลทำให้ DNA หรือยีนเปลี่ยนแปลงไป เช่น เบสขาดหายไป เบสมีจำนวนเพิ่มขึ้น เบสเปลี่ยนเป็นชนิดอื่น

กิจกรรมเสนอแนะ
       1.  ให้นักเรียนศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับยีนและโครโมโซมจากอินเตอร์เนต
       2.  ให้นักเรียนฝึกทำข้อสอบจากเวปไซด์ https://61.19.127.107/bionew/gene/postest.htm

แหล่งข้อมูล  
        1.  https://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000065664
        2.  https://student.nu.ac.th/nick_edu/lesson4.html
        3.  https://61.19.127.107/bionew/gene/postest.htm
        4.  https://61.19.127.107/bionew/gene/7mutation/mut2.htm

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1458

อัพเดทล่าสุด