เมื่อประมาณ 350 ปีก่อนคริสตศักราช นักปรัชญาชาวกรีก ชื่อ อริสโตเติล (Aristotle) ได้พยายามจำแนกสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์เท่าที่รู้จักประมาณ 1,000 ชนิดออกเป็นพวกๆ โดยแบ่งพืชออกเป็นไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม และไม้ล้มลุก ส่วนสัตว์ก็แบ่งเป็นพวกที่มีเลือดสีแดงและไม่มีเ
การจำแนกสิ่งมีชีวิต
วิวัฒนาการทำให้มีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมากมายหลายชนิดมีลักษณะและการดำรงชีวิตแตกต่างกัน เพื่อความสะดวกในการศึกษาต้องมีการจัดจำพวกสิ่งมีชีวิตออกเป็นกลุ่มๆ โดยตั้งเกณฑ์ และใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ จำแนกลักษณะที่ใช้จัดสิ่งมีชีวิตเข้าเป็นกลุ่มใหญ่กลุ่มเดียวกันแล้วจึงใช้ลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันระหว่างสิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในกลุ่มใหญ่กลุ่มเดียวกันทำให้สามารถแบ่งกลุ่มใหญ่ออกเป็นกลุ่มย่อยดังตารางต่อไปนี้ |
อาณาจักร | ลักษณะ | สิ่งมีชีวิต |
โมเนรา | ภายในเซลล์ไม่แสดงขอบเขตของนิวเคลียส | แบคทีเรีย |
โปรติสตา | เป็นเซลล์เดี่ยวๆหรืออยู่เป็นกลุ่มเซลล์ | สาหร่าย โปรโตซัว |
เห็ด รา | ไม่มีคลอโรฟิลล์ มีผนังเซลล์ ได้อาหารโดยการดูดซึม สืบพันธุ์โดยการสร้างสปอร์ | เห็ด รา |
พืช | มีคลอโรฟิลล์เอ คลอโรฟิลล์บี และเนื้อเยื่อต่างๆ ที่ประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ | พืชต่างๆ |
สัตว์ | ไม่มีคลอโรฟิลล์ มีเนื้อเยื่อต่างๆ ที่ประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ | สัตว์ต่างๆ ตั้งแต่ฟองน้ำไปจนกระทั่ง ถึงสัตว์ชั้นสูง |
เมื่อประมาณ 350 ปีก่อนคริสตศักราช นักปรัชญาชาวกรีก ชื่อ อริสโตเติล (Aristotle) ได้พยายามจำแนกสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์เท่าที่รู้จักประมาณ 1,000 ชนิดออกเป็นพวกๆ โดยแบ่งพืชออกเป็นไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม และไม้ล้มลุก ส่วนสัตว์ก็แบ่งเป็นพวกที่มีเลือดสีแดงและไม่มีเลือดสีแดง สัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำจัดเป็นพวกเดียวกับปลา
1. เกณฑ์การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต
เมื่อประมาณ 350 ปีก่อนคริสตศักราช นักปรัชญาชาวกรีก ชื่อ อริสโตเติล (Aristotle) ได้พยายามจำแนกสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์เท่าที่รู้จักประมาณ 1,000 ชนิดออกเป็นพวกๆ โดยแบ่งพืชออกเป็นไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม และไม้ล้มลุก ส่วนสัตว์ก็แบ่งเป็นพวกที่มีเลือดสีแดงและไม่มีเลือดสีแดง สัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำจัดเป็นพวกเดียวกับปลา
คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) นักธรรมชาติวิทยาชาวสวีเดน ได้จำแนกพืชมีดอกเป็นหมวดหมู่ โดยถือเอาจำนวนเกสรตัวผู้เป็นเกณฑ์ ปัจจุบันเกณฑ์ของลินเนียสก็ยังคงใช้กันอยู่ จะเห็นได้ว่า การจัดจำพวกสิ่งมีชีวิตในสมัยนั้นใช้โครงสร้างที่มองเห็นด้วยตาเปล่าเท่านั้นเป็นเกณฑ์ เนื่องจากยังไม่มีเครื่องมือที่จะศึกษาอย่างละเอียด
นักวิทยาศาสตร์มีหลายแนวทางในการจัดจำแนกหมวดหมู่สิ่งมีชีวิต ไดโคโตมัสคีย์ (dichotomous key) เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ใช้จำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นกลุ่มย่อยได้ โดยพิจารณาโครงสร้างทีละลักษณะที่แตกต่างกันเป็นคู่ๆ ดังตัวอย่าง
| ||
1ก | มีขน........................................ | ดูข้อ 2 |
1ข | ไม่มีขน.................................... | ดูข้อ 3 |
2ก | ขนเป็นเส้น................................ | สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม |
2ข | ขนเป็นแผงแบบขนนก.................. | นก |
3ก | มีครีบคู่..................................... | ดูข้อ 4 |
3ข | ไม่มีครีบคู่................................. | ดูข้อ 5 |
4ก | มีแผ่นปิดช่องเหงือก.................... | ปลากระดูกแข็ง |
4ข | ไม่มีแผ่นปิดช่องเหงือก................ | ปลากระดูกอ่อน |
5ก | ผิวหนังมีเกล็ด............................ | สัตว์เลื้อยคลาน |
5ข | ผิวหนังไม่มีเกล็ด........................ | สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก |
จากตัวอย่างไดโคโตมัสคีย์นี้ จะเห็นว่า สิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ที่เป็นกลุ่มเดียวกันจะจำแนกเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีก
โครงสร้างบางชนิดของสัตว์อาจมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน เมื่อพิจารณาดูเพียงแต่ภายนอก เช่น ครีบของปลา กับครีบของวาฬ แต่ถ้าพิจารณารายละเอียดโครงสร้างภายในจะพบว่า กระดูกครีบของวาฬคล้ายคลึงกับกระดูกแขนของมนุษย์มากกว่ากระดูกของ
ครีบปลา
แบบแผนของการเจริญเติบโต : เป็นอีกเกณฑ์หนึ่งที่ใช้ในการจัดจำแนกหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะพวกสัตว์มีกระดูกสันหลัง เช่น ปลา กบ นก คน เอ็มบริโอในระยะแรกๆ มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
การศึกษาซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิต : การจำแนกแบบนี้จะทำให้ทราบบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตในปัจจุบันได้ ตัวอย่างเช่นนกและสัตว์เลื้อยคลานเป็นสัตว์สองพวกที่มีลักษณะค่อนข้างจะแตกต่างกันมาก แต่จากการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์ ปรากฏว่า พบซากสัตว์เลื้อยคลานที่บินได้ชนิดหนึ่ง คือ เทอราโนดอน (Pteranodon) และพบซากของอาร์คีออปเทอริกส์(Archaeopteryx) ซึ่งเป็นนกโบราณชนิดหนึ่ง มีขากรรไกรยาว มีฟัน ปีกมีนิ้ว ตรงปลายนิ้วของปีกยังมีเล็บที่นกปัจจุบันไม่มี ลักษณะเหล่านี้ถือกันว่าเป็นลักษณะของสัตว์เลื้อยคลาน อาจเป็นไปได้ว่า สัตว์พวกนี้อาจมีวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษที่เป็นสัตว์เลื้อยคลาน และเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่จัดเอานกและสัตว์เลื้อยคลานไว้เป็นพวกใกล้เคียงกัน
ในปัจจุบันวิทยาการต่างๆ ได้ก้าวหน้าไปมาก นักวิทยาศาสตร์สามารถจะศึกษาความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตและจำแนกหมวดหมู่ได้ โดยพิจารณาออร์แกเนลล์และสารเคมีภายในเซลล์ เช่น คลอโรพลาสต์ กรดนิวคลีอิก โปรตีน สิ่งมีชีวิตที่มีความใกล้ชิดกันทางด้านพันธุกรรมมากเท่าใดก็ย่อมจะมีออร์แกเนลล์ของเซลล์ และสารเคมีที่คล้ายกันมากเท่านั้น
นอกจากนี้การจัดหมวดหมู่ยังได้พิจารณาถึงพฤติกรรม ความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อม และการแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ด้วย เป็นต้น
2. ลำดับการจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต (biological classification)
นักวิทยาศาสตร์ใช้เกณฑ์หลายๆ เกณฑ์ต่างๆ ข้างต้น จัดจำแนกสิ่งมีชีวิตเป็นหมวดหมู่ใหญ่และหมวดหมู่ย่อย คือ อาณาจักร(kingdom) ไฟลัม (phylum) และดิวิชัน (division) ในกรณีที่เป็นพืช คลาส (class) ออร์เดอร์ (order) แฟมิลี (family) จีนัส(genus) และ สปีชีส์ (species) ตามลำดับ ดังตัวอย่างในตาราง
จากตัวอย่างในตาราง จะเห็นว่า สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในหมวดหมู่ใหญ่ ประกอบด้วยหลายหมวดหมู่ย่อย กล่าวคือ ไฟลัมหนึ่งแบ่งย่อยได้หลายคลาส คลาสหนึ่งแบ่งย่อยได้หลายออเดอร์ ออร์เดอร์หนึ่งมีหลายแฟมิลี แฟมิลีหนึ่งมีหลายจีนัส แสดงว่าสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในหมวดหมู่ย่อยนั้น ยังมีลักษณะแตกต่างกันอยู่มากมาย แต่ในลำดับย่อยที่สุดคือสปีชีส์ เป็นหมวดหมู่เฉพาะของสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1526