สรุปวิวัฒนาการของสัตว์


1,159 ผู้ชม


สัตว์หลายเซลล์พวกแรกที่ปรากฏในทะเลเมื่อ 750 ล้านปีมาแล้ว สันนิษฐานว่าวิวัฒนาการมาจากสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เป็นสัตว์ไม่มักระดูกสันหลังที่ไม่มีเปลือกแข็งห่อหุ้ม เมื่อสัตว์เหล่านี้ตายลง จะสลายตัวโดยธรรมชาติ จึงไม่ค่อยทิ้งร่องรอยของซากดึกดำบรรพ์เอาไว้   
วิวัฒนาการของสัตว์ 
สัตว์หลายเซลล์พวกแรกที่ปรากฏในทะเลเมื่อ 750 ล้านปีมาแล้ว สันนิษฐานว่าวิวัฒนาการมาจากสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เป็นสัตว์ไม่มักระดูกสันหลังที่ไม่มีเปลือกแข็งห่อหุ้ม เมื่อสัตว์เหล่านี้ตายลง จะสลายตัวโดยธรรมชาติ จึงไม่ค่อยทิ้งร่องรอยของซากดึกดำบรรพ์เอาไว้ เมื่อวิวัฒนาการเป็นสัตว์ที่มีเปลือกแข็งหุ้มและวิวัฒนาการต่อไปเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังพวกแรกเมื่อ 500 ล้านปีมาแล้ว ได้แก่ปลาไม่มีขากรรไกร ซึ่งเชื่อกันว่า มีกำเนิดมาจากบรรพบุรุษที่คล้ายเพรียงหัวหอม ปลาไม่มีขากรรไกรจะวิวัฒนาการเป็น 2 สาย สายหนึ่งเป็นปลาปากกลม อีกสายหนึ่งเป็นปลามีขากรรไกร พวกหลังนี้จะวิวัฒนาการเป็นปลากระดูกอ่อนซึ่งได้แก่ ปลาฉลาม ปลากระเบน และปลาฉนาก และอีสายหนึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง ซึ่งวิวัฒนาการต่อไปเรื่อยๆจนเป็นสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก 
สรุปได้ว่า จากการศึกษาซากดึกดำบรรพ์และกายวิภาคต่างๆพบว่า การวิวัฒนาการของสัตว์เริ่มขึ้นเมื่อ 750 ล้านปีมาแล้ว โดยสัตว์หลายเซลล์พวกแรกเกิดขึ้นในทะเลและมหาสมุทรซึ่งวิวัฒนาการจากสัตว์เซลล์เดียว ดำรงชีวิตอยู่ตามพื้นทะเล ได้แก่พวกฟองน้ำ แมงกะพรุน ปะการัง ปลิงทะเล เป็นต้น ต่อมาจึงวิวัฒนาการแยกเป็น 2 สาย สายหนึ่งเป็นพวกที่มีช่องเปิดทางอาหารแรกเป็นทวาร และอีสายหนึ่งเป็นพวกที่มีช่องเปิดทางอาหารแรกเป็นปาก(เป็นการเจริญในระยะเอมบริโอ) ซึ่งแต่ละสายมีวิวัฒนาการเป็นเป็นสัตว์ประเภทต่างๆทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง 
ยกตัวอย่างของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังพร้อมทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลังในปัจจุบัน 
ตัวอย่างสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ ฟองน้ำ ไฮดรา แมงกะพรุน ปะการัง กัลปังหา ดอกไม้ทะเล พลานาเรีย พยาธิใบไม้ พยาธิตัวตืด พยาธิตัวกลม พยาธิปากขอ พยาธิเส้นด้าย หอย ปลากหมึก กุ้ง ปู แมลง ไส้เดือน ตะขาบ กิ้งกือ เพรียงหิน เห็บ หมัด แมงดาทะเล ดาวทะเล ปลิงทะเล ฯลฯ 
ตัวอย่างสัตว์มีกระดูกสันหลังได้แก่ ปลา กบ งู เต่า จระเข้ นก แมว กา ไก่ คน ฯลฯ 
ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังพวกแรกที่พบคือ พวกปลาไม่มีกระดูกขากรรไกร พวกเดียวกับพวกปลาปากกลม (แต่ไม่ใช่ปลาไหลถึงแม้จะมีรูปร่างเหมือนกันก็ตาม) ปลาพวกนี้คาดว่ามีอายุประมาณ 500 ล้านปี จากนั้นอีก 150 ล้านปี จึงเริ่มมีขากรรไกร 
ปลาที่มีขากรรไกร วิวัฒนาการออกเป็น 2 พวก คือ ปลากระดูกอ่อน ได้แก่ พวกฉลาม กระเบน ฉนาก กับอีกพวกคือ ปลากระดูกแข็ง ได้แก่ พวกปลาซ่อน ปลาดุก ปลาตะเพียน เป็นต้น 
ปลากระดูกแข็งวิวัฒนาการแยกไปเป็น 2 พวก คือ ปลากระดูกแข็งทั่วๆไป กับปลากระดูกแข็งที่ครีบมีเนื้อ เช่น ปลาซีลาแคนท์ ซึ่งเป็นปลาโบราณ ซึ่งต่อๆไป มีวิวัฒนาการไปเป็นสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก 
ปลาตีนเป็นปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ซึ่งมีอวัยวะแสดงถึงวิวัฒนาการจากสัตว์น้ำมาเป็นสัตว์บก คือครีบคู่หน้าที่หนาแข็งแรงจนสามารถยกลำตัวส่วนหน้าให้สูงขึ้น และยังใช้คลานได้คล้ายสัตว์บก 
จากหลังฐานของสิ่งมีชีวิตที่ยังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน และหลักฐานทางซากดึกดำบรรพ์ นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าปลาหลายชนิดได้เปลี่ยนสภาพเป็นสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก และสัตว์เลื้อยคลาน 
สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบกในยุคแรกจะมีรูปร่างใหญ่โต ไม่เหมาะกับสภาพแวดล้อมจึงสูญพันธุ์ เหลือแต่สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบกขนาดเล็กๆในปัจจุบัน สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบกจะวิวัฒนาการต่อไปเป็นสัตว์เลื้อยคลาน ซึ่งถือว่าเป็นสัตว์บกพวกแรกอย่างแท้จริง ผิวหนังเป็นเกล็ดปกคลุมเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ วางไข่บนบก ไข่ไม่มีเปลือกหุ้ม 
ในยุคบรรยากาศของโลกเลี่ยนแปลง พืชต่างๆอุดมสมบูรณ์เหมาะสมกับสัตว์เลื้อยคลาน ทำให้มีสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ เช่นพวกไดโนเสาร์ ซึ่งแพร่พันธุ์มากเมื่อ 180 ล้านปีมาแล้ว แต่ได้สูญพันธุ์ไปเมื่อ 65 ล้านปีมาแล้ว เหตุที่สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบกในยุคแรกๆสูญพันธุ์เพราะส่วนใหญ่ของสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบกมีขนาดใหญ่โตเกินไป รวมทั้งแหล่งน้ำต่างๆจะแห้งขอดในฤดูแล้ง ทำให้สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบกส่วนใหญ่ตายไป เหลือแต่สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบกขนาดเล็กๆ 
ตัวอย่างสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบกในปัจจุบัน ได้แก่ พวกกบ เขียด ปาด จงโคร่ง งูดิน ซาลามานเดอร์ 
สัตว์เลื้อยคลานจะวิวัฒนาการต่อไปเป็นสัตว์จำพวกนก โดยอนุมานจากซากดึกดำบรรพ์ของบรรพบุรุษของนกที่มีชื่อว่า อาร์คีออฟเทอริกซ์ พบว่ามีฟัน และกระดูกหางเป็นกระดูกหลายท่อนต่อกันเหมือนลักษณะสัตว์เลื้อยคลาน มีขนเหมือนนก นกในปัจจุบันไม่มีฟันและกระดูกหางเป็นกระดูกเล็กๆท่อนเดียว อีกสายหนึ่งของสัตว์เลื้อยคลานจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ซึ่งวิวัฒนาการต่อไปเป็นพวกที่ออกลูกเป็นไข่และออกลูกเป็นตัว พวกที่ออกลูกเป็นตัวจะวิวัฒนาการเป็นพวกที่มีถุงหน้าท้องและพวกที่มีรก 
สัตว์มีกระดูกสันหลัง 
ปลาไม่มีขากรรไกร      ปลาปากกลม ปลามีขากรรไกร 
          ปลากระดูกอ่อน    ได้แก่     ปลาฉลาม ปลากระเบน ปลาฉนาก    ปลากระดูกแข็งครีบมีเนื้อ ปลากระดูกแข็งครีบมีเส้น ปลามีปอด ปลาซีลาแคนท์ สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบกพวกแรก ปลากระดูกแข็งปัจจุบัน สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบกปัจจุบัน สัตว์เลื้อยคลานพวกแรก นกแรกเริ่ม สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ออกลูกเป็นไข่ ออกลูกเป็นตัว มีถุงหน้าท้อง มีรก 
          สาเหตุของการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ ยังไม่แน่ชัดแต่จะพอสรุปได้ว่ามีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง ไดโนเสาร์ซึ่งเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่มีขนาดใหญ่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ เป็นไปตามกฎการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ไดโนเสาร์จึงสูญพันธุ์ไปในที่สุด 
แต่อย่างไรก็ตามมีผู้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ไว้มากมายพอจะรวบรวมได้ดังนี้ 
1. เพราะสภาพบรรยากาศของโลก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงฉับพลันเป็นเหตุให้ไดโนเสาร์ปรับตัว 
2. เพราะไดโนเสาร์แพร่ขยายพันธุ์มากมาย จนเกิดภาวะขาดแคลนอาหาร ได้แก่พืชน้ำซึ่งไดโนเสาร์ใช้เป็นอาหาร พืชมีวิวัฒนาการมากขึ้น ทำให้มีพืชบกจำนวนมาก ไดโนเสาร์ไม่สามารถบริโภคได้ และตายในที่สุด 
3. เพราะเกิดปรสิตระบาดทำให้ไดโนเสาร์ล้มตาย 
4. เพราะไดโนเสาร์บางชนิดมีร่างกายใหญ่ น้ำหนักตัวมากเกินไปและเมื่อสภาพภูมิประเทศเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทำให้ไม่อาจทรางตัว หรือเคลื่อนที่ไปมาได้ 
5. เพราะเกิดภัยธรรมชาติ เช่นภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว น้ำท่วม น้ำเหือดแห้ง และเกิดการระเบิดแผ่รังสีจากดาวฤกษ์ 
6. เพราะมีไดโนเสาร์ชนิดกินเนื้อเป็นอาหารขยายพันธุ์เพิ่มมากขึ้นจึงทำร้ายไดโนเสาร์ที่กินหญ้า แต่ผลสุดท้ายไดโนเสาร์ชนิดที่กินเนื้อก็ขาดแคลนอาหารและตายในที่สุด 
7. เพราะไดโนเสาร์หลายชนิดมีการเจริญเติบโตทางร่างกายแต่ขาดความเจริญเติบโตทางสมอง จึงไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ 
8. เพราะถูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมบางชนิดกินไข่ของไดโนเสาร์เป็นอาหารทำให้การขยายพันธุ์ของไดโนเสาร์น้อยลงและสูญพันธุ์ไปในที่สุด 
ด้วยเหตุผลหลายประการทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปจากโลก เมื่อ 65 ล้านปีมาแล้ว เหลือแต่ซากโครงกระดูก เปลือกไข่ และรอยเท้าของไดโนเสาร์ไว้ให้มนุษย์ได้ศึกษากัน 
สัตว์ที่มีวิวัฒนาการมาพร้อมๆกับสัตว์เลื้อยคลาน ได้แก่ สัตว์จำพวกนก ซึ่งกล่าวกันว่ามีสัตว์เลื้อยคลานบางชนิดวิวัฒนาการไปเป็นสัตว์ปีก 
นอกจากสัตว์เลื้อยคลานจะวิวัฒนาการเป็นสัตว์จำพวกนกแล้ว จากหลักฐานพบว่าสัตว์เลื้อยคลานได้วิวัฒนาการเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม โดยแยกออกเป็น 2 พวกคือ เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแต่ออกไข่ เช่น ตุ่นปากเป็ด กับเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแต่ออกลูกเป็นตัว ซึ่งพวกที่ออกลูกเป็นตัวยังมีวิวัฒนาการต่อไปเป็นพวกมีกระเป๋าหน้าท้อง เช่น จิงโจ้ และอีกพวกหนึ่งไม่มีกระเป๋าหน้าท้องแต่มีรก เช่น สุนัข แมว ม้า แพะ ตลอดจนถึงคน เป็นต้น กล่าวกันว่าบรรพบุรุษตัวแรกของพวกไพรเมท(Primate) คือ กระแต ดังนั้นกระแตอาจเป็นบรรพบุรุษของลิงและคน 
กิจกรรม 
ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้พร้อมแสดงเหตุผลประกอบ 
1. คำถาม ปัจจุบันยังคงมีปลาอะไรบ้างที่มีอวัยวะบางอย่างแสดงถึงการวิวัฒนาการจากสัตว์น้ำมาเป็นสัตว์บก 
2. คำถาม นักเรียนบอกได้หรือไม่ว่า เพราะเหตุใดไดโนเสาร์ซึ่งมีจำนวนมาก ขนาดใหญ่ยังสูญพันธุ์ไปจาก
โลกได้ 
1. คำตอบ ปลาตีนเป็นปลามีขากรรไกรอีกชนิดหนึ่งที่มีอวัยวะแสดงถึงการวิวัฒนาการจากสัตว์น้ำมาเป็นสัตว์บก โดยมีครีบคู่หน้าที่หนา สามารถยกลำตัวส่วนหน้าให้สูงขึ้น และคืบคลานบนดินคล้ายเท้าของสัตว์บก 
2. คำตอบ สาเหตุของการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ ยังไม่แน่ชัดแต่จะพอสรุปได้ว่ามีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง ไดโนเสาร์ซึ่งเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่มีขนาดใหญ่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ เป็นไปตามกฎการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ไดโนเสาร์จึงสูญพันธุ์ไปในที่สุด 
แต่อย่างไรก็ตามมีผู้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ไว้มากมายพอจะรวบรวมได้ดังนี้ 
1. เพราะสภาพบรรยากาศของโลก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงฉับพลันเป็นเหตุให้ไดโนเสาร์ปรับตัว 
2. เพราะไดโนเสาร์แพร่ขยายพันธุ์มากมาย จนเกิดภาวะขาดแคลนอาหาร ได้แก่พืชน้ำซึ่งไดโนเสาร์ใช้เป็นอาหาร พืชมีวิวัฒนาการมากขึ้น ทำให้มีพืชบกจำนวนมาก ไดโนเสาร์ไม่สามารถบริโภคได้ และตายในที่สุด 
3. เพราะเกิดปรสิตระบาดทำให้ไดโนเสาร์ล้มตาย 
4. เพราะไดโนเสาร์บางชนิดมีร่างกายใหญ่ น้ำหนักตัวมากเกินไปและเมื่อสภาพภูมิประเทศเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทำให้ไม่อาจทรางตัว หรือเคลื่อนที่ไปมาได้ 
5. เพราะเกิดภัยธรรมชาติ เช่นภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว น้ำท่วม น้ำเหือดแห้ง และเกิดการระเบิดแผ่รังสีจากดาวฤกษ์ 
6. เพราะมีไดโนเสาร์ชนิดกินเนื้อเป็นอาหารขยายพันธุ์เพิ่มมากขึ้นจึงทำร้ายไดโนเสาร์ที่กินหญ้า แต่ผลสุดท้ายไดโนเสาร์ชนิดที่กินเนื้อก็ขาดแคลนอาหารและตายในที่สุด 
7. เพราะไดโนเสาร์หลายชนิดมีการเจริญเติบโตทางร่างกายแต่ขาดความเจริญเติบโตทางสมอง จึงไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ 
8. เพราะถูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมบางชนิดกินไข่ของไดโนเสาร์เป็นอาหารทำให้การขยายพันธุ์ของไดโนเสาร์น้อยลงและสูญพันธุ์ไปในที่สุด 
ด้วยเหตุผลหลายประการทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปจากโลก เมื่อ 65 ล้านปีมาแล้ว เหลือแต่ซากโครงกระดูก เปลือกไข่ และรอยเท้าของไดโนเสาร์ไว้ให้มนุษย์ได้ศึกษากัน 

วิวัฒนาการของมนุษย์ 
จากการศึกษาลักษณะกะโหลกของกอริลล่า และมนุษย์มีลักษณะแตกต่างกันดังนี้ 
ลักษณะที่ใช้พิจารณา กอริลล่า มนุษย์ ส่วนบนกะโหลกศีรษะ สันคิ้วขากรรไกร ฟัน ขนาดสมอง คาง มีสันนูนด้านบน นูนเด่นชัด ยื่น เขี้ยวยาวกว่าฟันอื่นๆระหว่างกลุ่มฟันหน้ากับเขี้ยวมีการเว้นช่องห่างเล็กน้อย มีขนาดเล็ก ไม่มีส่วนยื่น ด้านบนกลมเรียบ เกือบราบเสมอกับหน้าผาก ไม่ยื่น เขี้ยวมีขนาดเท่ากับฟันอื่นๆ มีขนาดใหญ่กว่า มีส่วนยื่นออกมาด้านหน้าเมื่อเปรียบเทียบกะโหลกของกอริลล่ากับมนุษย์จะพบว่าหน้าผากของมนุษย์เรียบแบน แต่หน้าผากของกอริลล่ามีสันกระดูกยื่นออกมาเหนือตา ขากรรไกร และฟันยื่นไปข้างหน้า มีเขี้ยวยาว ฟันไม่เรียบเสมอกัน ไม่มีคางยื่นเหมือนมนุษย์ ช่องบรรจุสมองน้อยกว่ามนุษย์มาก แต่บริเวณที่กล้ามเนื้อเกาะท้ายทอยของกะโหลกมีมากกว่ามนุษย์ ช่องบรรจุสมองน้อยกว่ามนุษย์มาก แต่บริเวณที่กล้ามเนื้อเกาะท้ายทอยของกะโหลกมีมากกว่ามนุษย์ 
บริเวณกล้ามเนื้อเกาะท้ายทอยกะโหลกของกอริลล่า และมนุษย์แตกต่างกันกล้ามเนื้อคอที่เกาะบริเวณที่ท้ายทอยของมนุยษ์มีพื้นที่น้อยและแคบแสดงให้เห็นว่าหัวกะโหลกของมนุษย์ตั้งอยู่ในแนวเดียวกับลำตัว ทำให้มนุษย์ยกส่วนศีรษะตั้งตรงได้ ซึ่งเป็นลักษณะของมนุษย์ในปัจจุบันที่วิวัฒนาการแล้วส่วนกะโหลกกอริลล่านั้น บริเวณกล้ามเนื้อมาเกาะติดมีบริเวณมากกอริลล่าจึงไม่สามารถเดินตัวตั้งตรงได้ 
มนุษย์ที่วิวัฒนาการแล้ว บริเวณที่กล้ามเนื้อคอมาเกาะติดจะมีพื้นที่น้อยและแคบแสดงให้เห็นว่าหัวกะโหลกตั้งอยู่ในแนวเดียวกับลำตัว ซึ่งแนะเป็นนัยๆว่ามนุษย์สามารถเดินตัวตั้งตรงและยกศีรษะขึ้นในแนวระดับได้ เป็นเหตุให้จุดศูนย์กลางของกะโหลศีรษะตกลงบริเวณกึ่งกลาง มนุษย์ปัจจุบันจึงเดินตัวตั้งตรงได้มากกว่ามนุษย์โบราณ หรือลิงไม่มีหางดังกล่าว 
ลักษณะสำคัญของมนุษย์ปัจจุบัน กระดูกสันหลังจะตั้งตรง กระดูกคอจะอยู่ใต้ฐานหัวกะโหลกกล้ามเนื้อที่ยึดเกาะบริเวณท้ายทอยจะช่วยในการรับน้ำหนักของศีรษะ ทำให้ศีรษะตั้งตรงได้ดี ไม่ยื่นไปข้างหน้าเหมือนลิงกอริลล่า ซึ่งทำให้การทรงตัวไม่ดี กระดูกสันหลังโค้งงอต้องใช้แขนที่ยาวช่วยพยุงในการเดิน แต่มนุษย์สามารถยืนตัวตรงเดินได้เพียงขา 2 ขา ช่วงขาจะยาวกว่าช่วงแขน 
จากข้อเปรียบเทียบระหว่างกอริลล่าซึ่งเป็นลิงขนาดใหญ่ไม่มีหางกับมนุษย์ จะพบว่าแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นการที่กล่าวว่า “มนุษย์มีวิวัฒนาการมาจากลิง” จึงไม่สามารถสรุปให้แน่ชัดได้ประกอบกับยังไม่มีผู้ใดขุดพบซากบรรพบุรุษร่วมระหว่างคนกับลิง 
การวิวัฒนาการของมนุษย์และลิงมีวิวัฒนาการมาคนละสาย แต่อาจจะมีบรรพบุรุษร่วมกัน ซึ่งไม่สามารถสรุปให้แน่ชัดได้ ดังนั้นสายวิวัฒนาการจึงขีดเป็นเส้นประไว้จะเป็นเส้นมาบรรจบกันได้ก็ต่อเมื่อมีการขุดพบหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ของบรรพบุรุษร่วม แต่ในปัจจุบันยังไม่สามารถหาหลักฐานได้ ภาพ แสดงสายวิวัฒนาการของมนุษย์ 
จากหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ของมนุษย์เท่าที่ขุดพบได้ มีรายงานว่าสายวิวัฒนาการของมนุษย์เริ่มจากมนุษย์วานร บรรพบุรุษมนุษย์ มนุษย์แรกเริ่ม และมนุษย์ยุคปัจจุบัน ระดับ สปีชีส์ มีอายุประมาณ ขนาดสมอง เครื่องมือเครื่องใช้ 
          มนุษย์วานร ออสตราโลพิทีคัส ออสตราโลพิทีคัส แอฟริกานัส 3 – 5 ล้านปี 400 – 600 cm3 
มีขนกระจายทั่วตัว สูงประมาณ 4 ฟุต สามารถนำวัสดุต่างๆในธรรมชาติมาใช้เป็นเครื่องมือ แต่ยังไม่รู้จักประดิษฐ์เครื่องมือและสะสมเครื่องมือ 
บรรพบุรุษมนุษย์ โฮโม แฮบิลิส 3 – 4 ล้านปี 800 cm3 มีขนแบบลิง สามารประดิษฐ์เครื่องมือหินกะเทาะ ใช้ไม้ กระดูก เขาสัตว์ ทำเป็นเครื่องมือล่าสัตว์ 
มนุษย์แรกเริ่ม โฮโมอีเลคตัส 500,000 ปี 1,000 cm3 ไม่มีขนแบบลิง มีลักษณะคล้ายคนมาก สามารถประดิษฐ์ขวานหินไม่มีด้าม รู้จักใช้ไฟ 
มนุษย์ยุดปัจจุบัน มนุษย์โครมันยอง โฮโมเซเปียนส์ นีแอนเดอธัล 100,000 ปีขึ้นไป 1,100 cm3 - 1,200 cm3 มีความเฉลียวฉลาด สามารถประดิษฐ์เครื่องมือมีความสามารถในเชิงศิลป์ มนุษย์ ปัจจุบัน โฮโมเซเปียนส์ เซเปียนส์ ปัจจุบัน เผ่านิกรอยด์ เผ่ามองโกรอยด์ เผ่าคอเคซอยด์ ปัจจุบัน 

กิจกรรม 
ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้พร้อมแสดงเหตุผลประกอบ 
1. คำถาม ลักษณะกะโหลกของกอริลล่าและมนุษย์ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร 
2. คำถาม บริเวณกล้ามเนื้อเกาะท้ายทอยกะโหลกบ่งบอกถึงการทรงตัวของกอริลล่าและมนุษย์ แตกต่างกันอย่างไร 
3. คำถาม จงจัดเรียงลำดับวิวัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันตามตารางต่อไปนี้ 
คำตอบ 
1. คำตอบ จากการศึกษาลักษณะกะโหลกของกอริลล่า และมนุษย์มีลักษณะแตกต่างกันดังนี้ 
ลักษณะที่ใช้พิจารณา กอริลล่า มนุษย์ 
ส่วนบนกะโหลกศีรษะ สันคิ้ว ขากรรไกร ฟัน ขนาดสมอง คาง มีสันนูนด้านบน นูนเด่นชัด ยื่น เขี้ยวยาวกว่าฟันอื่นๆระหว่างกลุ่มฟันหน้ากับเขี้ยวมีการเว้นช่องห่างเล็กน้อย มีขนาดเล็ก ไม่มีส่วนยื่น ด้านบนกลมเรียบ เกือบราบเสมอกับหน้าผาก ไม่ยื่น เขี้ยวมีขนาดเท่ากับฟันอื่นๆ มีขนาดใหญ่กว่า มีส่วนยื่นออกมาด้านหน้า 
2. คำตอบ บริเวณกล้ามเนื้อเกาะท้ายทอยกะโหลกของกอริลล่า และมนุษย์แตกต่างกันกล้ามเนื้อคอที่เกาะบริเวณที่ท้ายทอยของมนุยษ์มีพื้นที่น้อยและแคบแสดงให้เห็นว่าหัวกะโหลกของมนุษย์ตั้งอยู่ในแนวเดียวกับลำตัว ทำให้มนุษย์ยกส่วนศีรษะตั้งตรงได้ ซึ่งเป็นลักษณะของมนุษย์ในปัจจุบันที่วิวัฒนาการแล้วส่วนกะโหลกกอริลล่านั้น บริเวณกล้ามเนื้อมาเกาะติดมีบริเวณมากกอริลล่าจึงไม่สามารถเดินตัวตั้งตรงได้ 
3. คำตอบ 
ระดับ            สปีชีส์                 มีอายุประมาณ        ขนาดสมอง 
มนุษย์วานร ออสตราโลพิทีคัส 
ออสตราโลพิทีคัส แอฟริกานัส      3 – 5 ล้านปี          400 – 600 cm3 มีขนกระจายทั่วตัว สูงประมาณ 4 ฟุต 
          บรรพบุรุษมนุษย์ โฮโม แฮบิลิส     3 – 4 ล้านปี         800 cm3 มีขนแบบลิงมนุษย์แรกเริ่ม โฮโมอีเลคตัส       500,000 ปี           1,000 cm3 ไม่มีขนแบบลิง มีลักษณะคล้ายคนมาก 
มนุษย์ยุดปัจจุบัน มนุษย์โครมันยอง โฮโมเซเปียนส์ นีแอนเดอธัล 100,000 ปีขึ้นไป 1,100 cm3 - 1,200 cm3 มีความเฉลียวฉลาด 
มนุษย์ ปัจจุบัน โฮโมเซเปียนส์ เซเปียนส์ ปัจจุบัน เผ่านิกรอยด์ เผ่ามองโกรอยด์ เผ่าคอเคซอยด์ 

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1547

อัพเดทล่าสุด