อิวิคต้าคือมดคันไฟแบบไหนกันแน่ ทำไมกัดแล้วถึงตายได้ แล้วทำไมต้องระวัง หาคำตอบได้ที่นี่....
ภาพจาก https://www.ryt9.com
ข่าวจากไทยรัฐออนไลน์ (วันที่ 31 สิงหาคม 2552 เวลา 05.00 น.) ระบุว่ามดคันไฟอิวิคต้ามีพิษร้ายกัดถึงตาย ฝังเหล็กในที่มีพิษสะสมทำให้ผิวไหม้และคันอย่างรุนแรง นักชีววิทยาเผยเป็นมดหมาหมู่ชอบรุมกัดเป็นร้อยๆตัว ขยายรังใหญ่กว่ามดคันไฟธรรมดาถึง 50 เท่า โดยรศ.ดร.เดชา วิวัฒน์วิทยา อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ใน KU News ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ว่าการอพยพเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของมดคันไฟ “อิวิคต้า”(Solenopsis invicta) ว่า มดคันไฟอิวิคต้า ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ ต่อมาได้แพร่กระจายไปเกือบทั่วโลก และขณะนี้ได้เริ่มขยายพันธุ์เข้ามาในเอเชียเมื่อประมาณ 2-3 ปีมาแล้ว โดยพบในไต้หวันและฮ่องกง มดคันไฟอิวิคต้าชอบสร้างถิ่นอาศัยบริเวณที่มีน้ำไหลเวียน อาทิ พื้นที่การเกษตร สวนป่า ทุ่งหญ้า ฝั่งแม่น้ำลำคลอง ชายฝั่งทะเล ทะเลทราย และสนามกอล์ฟ มักสร้างถิ่นอาศัยเป็นแบบรังหรือเป็นจอมโดยใช้มูลดิน ซึ่งจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 1 เมตร ความสูงประมาณ 4-24 นิ้ว มีจำนวนประชากรมากถึง 500,000 ตัวต่อรัง ขณะที่มดคันไฟที่มีอยู่ในไทยจะสร้างรังเรียบๆกับพื้นไม่มีจอม และมีจำนวนประชากรประมาณ 10,000 ตัวต่อรัง รูปร่างหน้าตาภายนอกของมดคันไฟอิวิคต้าแทบจะไม่มีความแตกต่างจากมดคันไฟที่ พบเห็นในประเทศไทย แต่จะมีผิวลำตัวเรียบและสดใสกว่า ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่ามีฟันตรงกลางริมฝีปากบน ซึ่งส่วนใหญ่จะมองด้วยตาเปล่าไม่ค่อยเห็น ในแง่ของระบบนิเวศวิทยา มดคันไฟชนิดนี้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ เพราะอาณาจักรของมดชนิดนี้ชอบทำลายอย่างมาก โดยพวกมันจะครอบคลุมอาณาเขตบ้าน เนื่องจากมดชนิดนี้มีจำนวนมากและชอบรุกราน ขาดศัตรูธรรมชาติจึงทำให้ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สำหรับผลกระทบต่อมนุษย์ เหล็กในจากมดชนิดนี้มีพิษสะสมทำให้เกิดอาการไหม้และคันอย่างรุนแรง พิษจะออกฤทธิ์อยู่นานเป็นชั่วโมงและเป็นเม็ดตุ่มพองซึ่งจะมีหนองสีขาว เมื่อตุ่มหนองนี้แตกก็สามารถที่จะมีแบคทีเรียเข้าไปและเนแผลเป็น บางคนที่มีอาการแพ้อย่างรุนแรงจะก่อให้เกิดอาการหมดสติและเสียชีวิตได้ มดชนิดนี้มีคนี้มีความก้าวร้าวสูงมาก เมื่อมันต่อยจะฉีดสารพิษกลุ่ม alkaloid ทำให้เนื้อเยื่อตาย มีรายงานว่าทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกามีประชาชนประมาณ 25,000 คนที่ต้องหาหมอเพื่อรักษาจากการโดนต่อยของมดชนิดนี้และด้วยวิธีการโจมตี เหยื่อแบบรุมต่อยเป็นร้อยๆตัวทำให้เหยื่อที่มีขนาดไม่ใหญ่มากได้รับบาดเจ็บ ถึงขั้นวิกฤติได้ นอกจากนี้ในสหรัฐอเมริกามดชนิดนี้สร้างความเสียหายทางการเกษตรได้ในวงกว้างด้วยการเข้าไปทำลายระบบรากของพืช เช่น ถั่วเหลือง พืชตระกูลส้ม ข้าวโพด กะหล่ำ มันฝรั่ง ถั่วลิสง ทานตะวัน ข้าวฟ่าง มะเขือ ถั่วเขียว รวมทั้งทำความเสียหายในเครื่องมือการเกษตร สัตว์เลี้ยง สัตว์ป่า พื้นที่สาธารณะ อุปกรณ์ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ สร้างมูลค่าความเสียหายต่ออุตสาหกรรมการเกษตรนับพันล้านบาทต่อปี และขณะนี้มีแนวโน้มสูงมากกว่า มดคันไฟอิวิคต้า จะเข้ามาในประเทศไทย โดยติดมากับเรือสินค้าและการขนส่งอื่นๆ
ที่นี้เรามาทำความรู้จักกับเจ้ามดคันไฟตัวร้ายนี่กันดีกว่าค่ะ
มดคันไฟอิวิคต้า (อังกฤษ: Red imported fire ant) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Solenopsis saevissima wagneri อยู่ในวงศ์ Formicidae ถูกตีพมพ์โดยบูเรน(Buren) ในปี ค.ศ. 1972 เป็นชื่อรองหรือ ชื่อตั้งสงวนไว้(nomen protectum) เนื่องจากความจริงแล้วชื่อแรกของมดชนิดนี้คือ Solenopsis saevissima wagneri ถูกตั้งโดยแซนต์ชิ(Santschi) ในปี ค.ศ. 1916 ซึ่งกลายเป็น ชื่อตั้งไม่นิยม(nomen oblitum) เพราะมีเอกสารมากกว่าพันฉบับที่ตีพิมพ์ภายใต้ชื่อ invicta ก่อนที่จะมีคนค้นพบว่าเป็นชื่อพ้อง และในปี ค.ศ. 2001 ICZN บังคับให้ invicta เป็นลำดับเหนือกว่า wagneri
ภาพจาก https://ithai.jp อ้างใน www.myrmecos.net
มดคันไฟอิวิคต้า มีรูปร่างและขนาดที่แทบจะไม่แตกต่างจากมดคันไฟในประเทศไทย แต่จะมีผิวลำตัวเรียบและสดใสกว่า ถ้าสังเกตโดยใช้แว่นขยายจะพบว่ามีฟันตรงกลางริมฝีปากบน
ถิ่นอาศัย มดคันไฟอิวิคต้า มีถิ่นกำเนิดอยู่ในอเมริกาใต้ ชอบสร้างถิ่นอาศัยบริเวณที่มีน้ำไหลเวียน มีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 550 มิลลิเมตร / ปี ทั้งในสวนป่า ทุ่งหญ้า ริมฝั่งแม่น้ำลำคลอง ชายฝั่งทะเล ไปจนถึงทะเลทราย โดยมักจะสร้างรังเป็นจอมโดยใช้มูลดิน ซึ่งจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 1 เมตร ความสูงประมาณ 4 – 24 นิ้ว และมีจำนวนประชากรประมาณ 500,000 ตัวต่อรัง
ประโยชน์ มดคันไฟอิวิคต้า เป็นศัตรูสำหรับศัตรูพืชหลายชนิด เช่น หนอนเจาะต้นอ้อย มวนที่เป็นศัตรูข้าว แมลงหางหนีบ เพลี้ยอ่อน ด้วงงวง หนอนคืบถั่วเหลือง หนอนกินใบฝ้าย ต่อสน เป็นต้น
ผลกระทบต่อมนุษย์ มดคันไฟอิวิคต้า มีความก้าวร้าวสูงมาก เวลาที่ต่อยเหล็กในจะฉีดพิษกลุ่ม alkaloid ซึ่งทำให้เกิดอาการไหม้และคันอย่างรุนแรง โดยพิษจะออกฤทธิ์อยู่นานหลายชั่วโมงและเกิดเป็นเม็ดตุ่มพอง ซึ่งจะกลายเป็นหนองสีขาวเมื่อตุ่มหนองนี้แตกก็สามารถมีแบคทีเรียเข้าไปทำให้เนื้อเยื่อตาย ในรายที่มีอาการแพ้รุนแรงจะก่อให้เกิดอาการหมดสติและอาจเสียชีวิตได้
ผลกระทบต่อการเกษตร มดคันไฟอิวิคต้า เป็นตัวทำลายแมลงพวกผสมเกสร เช่น ผึ้งที่สร้างรังใต้ดิน และกินเมล็ด ใบ ราก เปลือก น้ำหวาน น้ำเลี้ยง เชื้อราและมูลต่างๆ เป็นอาหาร ซึ่งสร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมการเกษตรเป็นวงกว้าง ด้วยการเข้าไปทำลายระบบรากของพืช เช่น ถั่วเหลือง พืชตระกูลส้ม ข้าวโพด กะหล่ำ มันฝรั่ง ถั่วลิสง ทานตะวัน ข้าวฟ่าง มะเขือ ถั่วเขียว เป็นต้น
การแพร่กระจาย มดคันไฟอิวิคต้า สามารถปรับตัวและขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว และสร้างความเสียหายมากกว่า 320 ล้านเอเค่อร์ใน 12 รัฐทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกาและเปอร์โตริโก้ ปัจจุบันพบแพร่กระจายไปเกือบทั่วโลก โดยเริ่มขยายพันธุ์เข้ามาในเอเชีย ประมาณปี ค.ศ. 2007 ในไต้หวันและฮ่องกง และมีแนวโนมการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วโดยการติดมากับเรือสินค้าหรือการขนส่งอื่นๆ
เนื้อหานี้เหมาะสำหรับนักเรียนตั้งแต่ระดับช่วงชั้นที่ 2 - 4 และผู้ที่สนใจทั่วไป
การบูรณาการ วิชาศิลปะ(ภาพมดในจินตนาการ) วิชาภาษาอังกฤษ(คำศัพท์เกี่ยวกับมด) วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี(เกษตร)
ประเด็นคำถาม
- มดคันไฟธรรมดาแตกต่างจากมดอิวิคต้าอย่างไร
กิจกรรม
ทดลองหาวิธีการกำจัดมดคันไฟด้วยพืชสมุนไพรหรือวิธีอื่น
ขอบคุณข้อมูลจาก
1. ไทยรัฐออนไลน์
2. วิกิพีเดีย
ภาพจาก
1. https://www.ryt9.com
2. https://ithai.jp
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1552