แบบฝึกทักษะความหลากหลายทางชีววิทยา


890 ผู้ชม


ระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยสูญเสียพื้นที่ป่าเป็นจำนวนมาก เนื่องจากหลายสาเหตุด้วยกัน อาทิ การเพิ่มของประชากรทำให้มีการบุกเบิกป่าเพิ่มขึ้น การให้สัมปทานป่าไม้ที่ขาดการควบคุมอย่างเพียงพอ การตัดถนนผ่านพื้นที่ป่า การเกษตรเชิงอุตสาหกรรม การแพร่ของเทคโนโ   

สาระสำคัญ       “ความหลากหลายทางชีวภาพ”

สิ่งมีชีวิตที่ปรากฏอยู่ในโลกปัจจุบันมีความหลากหลาย  ทั้งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการทั้งของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมควบคู่กันซึ่งมีความสำคัญต่อมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง เพราะความหลากหลายทางชีวภาพเป็นต้นทุนสำคัญของทรัพยากรสิ่งมีชีวิตที่เป็นพื้นฐานของการเกษตรกรรม การประมง การแพทย์ การท่องเที่ยวและการศึกษาทางธรรมชาติวิทยา  อีกทั้งยังเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาสมดุลบนโลกด้วย การใช้มากเกินขีดจำกัดทำให้เสื่อมโทรมลงไปจนส่งผลย้อนกลับโดยตรงมาสู่สภาพการดำรงชีวิตของมนุษย์ในที่สุดได้

 

จงอธิบายคำถามต่อไปนี้มาให้เข้าใจ

1. ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity)  หมายถึง …ภาวการณ์ที่มีสิ่งมีชีวิตมากชนิด (Species  Diversity)  หรือ มากสายพันธุ์  (Genetic Diversity)……

2. ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ  พอสรุปได้ดังนี้  คือ

    2.1  ทำให้มนุษย์มีโอกาสได้มาซึ่งปัจจัยสี่ที่หลากหลาย..           

  2.2  ทำให้มนุษย์มีโอกาสได้มาซึ่งปัจจัยการผลิตทางการอุตสาหกรรม

    2.3  …เป็นแหล่งค้นคว้าทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ                       

   2.4  ทำให้มนุษย์มีต้นทุนสำคัญทางการเกษตรกรรม

    2.5  …เป็นแหล่งทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญ                                                  

    2.6  เป็นต้นทุน (Stock) สำคัญของทรัพยากรชีวภาพ 

3. ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตหรือความหลากหลายของชนิดพันธุ์ (Species Diversity)  หมายถึง ………

    ภาวการณ์ที่มีสิ่งมีชีวิตจำนวนมากชนิดมากน้อยเช่นไร  เช่น การมีมะม่วง  มะพร้าว  สิงโต  เสือ ชะนี  ช้าง  ม้า  วัว  ควาย  เป็นต้น    

 4.  ความหลากหลายของพันธุกรรม  (Genetic Diversity)  หมายถึง ……………………………………………..

    ภาวการณ์ที่มีสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งมีความแตกต่างทางสายพันธุ์กันมากน้อยเช่นไร  เช่น  มะม่วง  มี หลากหลายสายพันธุ์  เป็นมะม่วงเขียวเสวย    มะม่วงอกร่อง  มะม่วงน้ำดอกไม้   มะม่วงพิมเสน   มะม่วงโชคอนันต์    มะม่วงกะล่อน  มะม่วงสามฤดู   เป็นต้น

5. ภาวะพันธุ์แท้ (Homocigosity) หมายถึง  ……………………………………………………………………..

        สภาวะที่สิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งมีคุณลักษณะทางสายพันธุ์คงที่  กล่าวคือ  ลูกจะมีคุณลักษณะเหมือน พ่อ แม่ นั่นเอง 

 6. ภาวะพันธุ์แท้ (Homocigosity)  มีผลดีผลเสียพอสรุปได้ดังนี้

     ผลดี

    6.1  ได้สิ่งมีชีวิตที่ตรงตามความต้องการใช้ประโยชน์ของมนุษย์                                      
     6.2  มีคุณลักษณะตอบสนองการตลาดได้ดี...

     ผลเสีย

    6.3  มีลักษณะอ่อนแอทางยีนส์                                                                                                   
    6.4  มีโรคภัย หรือ ศัตรูรบกวนมาก...

 7.  สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในภาวะพันธุ์แท้ในชุมชนของข้าพเจ้า ได้แก่.............................................................

           (  ขึ้นกับท้องถิ่นของแต่ละคน  )

8.       โลกนี้มีสิ่งชีวิตอยู่ประมาณ.......สิ่งมีชีวิตในโลกนี้มีประมาณ 5  ล้านชนิด........

9.  ประเทศไทยมีอยู่ประมาณ...          350,000 ... ชนิด             คิดเป็น   7   % ของโลก  

       ถือว่ามีอยู่มากหรือน้อย.....มาก..

10.        ในรอบ ๓๐ ปีที่ผ่านมา  ประเทศไทยมีภาวะลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพค่อนข้างรุนแรง  ทั้งนี้เพราะมีสาเหตุมาจากสิ่งต่อไปนี้ .................

             ระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยสูญเสียพื้นที่ป่าเป็นจำนวนมาก เนื่องจากหลายสาเหตุด้วยกัน อาทิ การเพิ่มของประชากรทำให้มีการบุกเบิกป่าเพิ่มขึ้น การให้สัมปทานป่าไม้ที่ขาดการควบคุมอย่างเพียงพอ การตัดถนนผ่านพื้นที่ป่า การเกษตรเชิงอุตสาหกรรม การแพร่ของเทคโนโลยีที่ใช้ทำลายป่าได้อย่างรวดเร็ว การครอบครองที่ดินเพื่อเก็งกำไร เป็นต้น พื้นที่ป่าไม้ซึ่งเคยมีมากถึงประมาณ  2.7 แสนตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 53 ของพื้นที่ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2504 เหลือเพียงประมาณ  1.3 แสนตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ26 ในปี พ.ศ. 2536   แสดงว่าพื้นที่          ป่าไม้ลดลงเท่าตัวในช่วงเวลา 32 ปี และ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับป่าบนภูเขาและป่าชายเลน ยังผลให้พืชและสัตว์สูญพันธุ์ อาทิ เนื้อสมัน แรด กระซู่  กูปรี และเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้นี้อีกเป็นจำนวนมาก อาทิ ควายป่า ละอง ละมั่ง เนื้อทราย กวางผา เลียงผา สมเสร็จ เสือลายเมฆ เสือโคร่ง และช้างป่า รวมทั้งนก สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก สัตว์เลื้อยคลาน แมลง และ สัตว์น้ำอีกเป็นจำนวนมาก

11.    “สายพันธุ์พืชทางการเกษตรดั้งเดิม เป็นทรัพยากรทางพันธุกรรมที่มีคุณค่า เพราะเป็นสายพันธุ์ ที่ได้รับการพัฒนาตามธรรมชาติมาเป็นหลายช่วยอายุคนจนมีความเหมาะสมกับพื้นที่ เช่น มีความต้านทางโรคสูง หรือต้องการธาตุอาหารน้อย เช่น ในระยะประมาณ  พ.ศ. 2523-2533  ได้เกิดการระบาดของโรคโคนข้าวเน่า นักวิทยาศาสตร์ พบว่าข้าวเพียงสายพันธุ์เดียวเท่านั้น จากข้าวทั้งหมด 10,000 สายพันธุ์ ที่มีภูมิต้านทานโรคดังกล่าว ซึ่งสายพันธุ์นั้นคือสายพันธุ์ข้าวดั้งเดิม  การละทิ้งสายพันธุ์พืชทางการเกษตรดั้งเดิมของไทย เป็นสาเหตุทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลงอย่างน่าเสียดาย”

        จากข้อความข้างบนผู้เขียนมีความคิดเห็นพอสรุปได้ดังนี้   เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งเพราะสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ดั้งเดิมใช้เวลาในการปรับตัวให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมต่างๆ มาเป็นเวลานานมากๆ  จนมีสภาพที่สอดคล้องกันกับสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี         การศึกษาสมัยใหม่จะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับวิชาการและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า แต่การใช้เทคโนโลยีและวิชาการอย่างไม่เข้าใจหลักการและความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ย่อมนำไปสู่หายนะในระยะยาว  แม้ว่าในระยะสั้นจะดูเหมือนว่ามีความเจริญรุ่งเรืองก็ตาม

12.    ทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน  มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพพอสรุปได้ดังนี้

        ทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นแนวคิดที่ช่วยให้ความหลากหลายทางชีวภาพเพิ่มมากขึ้น  เพราะการแบ่งพื้นที่มาใช้ในกิจกรรมต่างๆ อย่างหลากหลาย  ทั้งพื้นที่แหล่งน้ำ   เลี้ยงสัตว์น้ำ  พื้นที่เพาะปลูกธัญพืช  พื้นที่ปลูกพืชสวน  พืชไร่  พื้นที่ปลูกพืชสวนครัว  สิ่งเหล่านี้จะปรับเปลี่ยนจากแนวทางการเกษตรกรรมที่ทำกันอยู่ปัจจุบันที่เป็นเกษตรเชิงเดี่ยว ปลูกพืชชนิดเดียวทั้งแปลง  ซึ่งเป็นการทำหลายความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง  ……

13.  ในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ นักเรียนคิดว่าท้องถิ่นของนักเรียนถือว่ามีอยู่มากหรือน้อย.....    (  ขึ้นกับท้องถิ่นของแต่ละคน  )

14.   นักเรียนคิดว่าจะจัดการกับความหลากหลายทางชีวภาพของท้องถิ่นดังนี้ .....................................

  (  ขึ้นกับท้องถิ่นของแต่ละคน  )…........……………………………………………………………

   

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1590

อัพเดทล่าสุด