"สูงขึ้นไปบนเทือกเขาเชียรา มีสถานที่แห่งหนึ่ง เป็นที่มาของปริศนาหินเดินได้ในตอนกลางคืน ในอดีตนั้นคงจะมีผู้บุกเบิก มาพานพบกับทะเลสาบแห้งกรังหรือ "พลาย่า" ซึ่งสูง จากระดับน้ำทะเล เกือบ 1200 เมตร ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้ เป็นวนอุทยานหุบผามรณะแห่
ปรากฏการณ์ธรรมชาติ "หินเดินได้" | |||||
"สูงขึ้นไปบนเทือกเขาเชียรา มีสถานที่แห่งหนึ่ง เป็นที่มาของปริศนาหินเดินได้ในตอนกลางคืน ในอดีตนั้นคงจะมีผู้บุกเบิก มาพานพบกับทะเลสาบแห้งกรังหรือ "พลาย่า" ซึ่งสูง จากระดับน้ำทะเล เกือบ 1200 เมตร ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้ เป็นวนอุทยานหุบผามรณะแห่งชาติ "เรสแทรค พลาย่า" คือที่ซึ่งมีรอย คดเคี้ยวของทางเดินของหิน ที่เป็นสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยวมากที่สุด" ตามความเชื่อดั้งเดิมเชื่อว่า หินเหล่านี้เคลื่อนไปได้ เพราะน้ำแข็งจะจับหินเป็นแผ่นขนาดใหญ่ เมื่อมีลมพัด หินทั้งกลุ่มก็จะถูกดันให้เคลื่อนไป สมมติฐานใหม่เชื่อว่า น้ำและลมเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้หินเดิน จากผลการศึกษาของ ดร.โรเบิร์ต พี. ชาร์ป แสดงให้เห็นว่า หินเหล่านี้ จะเคลื่อนที่ในช่วงพื้นดินอ่อนยุ่ยแทนที่จะเป็น ช่วงที่พื้นดินแห้งแข็งด้วยเกล็ดน้ำแข็ง ทะเลสาบตื้นๆ เช่นนี้ มีฝั่งด้านหนึ่งซึ่งสูงกว่า หรือเป็นหน้าผากั้นเอาไว้ ในฤดูหนาวเมื่อน้ำในทะเลสาบแข็งตัว จะยึดบรรดาก้อนหินขนาดต่างๆ กันไว้ ในขณะที่น้ำแข็งตัวจะเกิดการขยายตัวดันเอาก้อนหินให้เคลื่อนที่ เมื่อถึงเวลาที่น้ำแข็งละลายก็จะทิ้งก้อนหินในระยะต่างๆ กัน
ข้อมูลเกี่ยวกับเรซแทรค พลาย่า (Racetrack Playa) เรซ แทรค พลาย่า เป็นแอ่งทะเลสาบที่ค่อนข้างราบและแห้งแล้ง มีความยาวในแนวเหนือ - ใต้ประมาณ 4 กิโลเมตร และกว้างในแนวตะวันออก-ตะวันตกประมาณ 2 กิโลเมตร มีลักษณะพื้นผิวเป็นระแหงโคลน (mud cracks) ส่วนมากประกอบด้วยตะกอนขนาดทรายแป้ง (silt) และดินเหนียว (clay) สภาพ ภูมิอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง มีปริมาณน้ำฝนเพียงสองนิ้วต่อปี แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ฝนตก น้ำปริมาณมากจะไหลจากภูเขาสูงชันที่อยู่ล้อมรอบเรซแทรค พลาย่าลงมาปกคลุมพื้นที่แอ่งจนกลายเป็นทะเลสาบตื้น ครอบคลุมเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งขณะนั้นบริเวณพื้นแอ่งจะเต็มไปด้วยดินเหนียวที่เหลวและอ่อนนุ่ม ปรากฏการณ์ ดินเดินได้ เกิดจากมนุษย์ หรือ สัตว์ ใช่หรือไม่ ?
สมมุติฐานของการเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติ หินเดินได้ ทางสมมุติฐานอ้างว่า เกิดจากลม ตัวการที่นิยมนำมาใช้อธิบายปรากฏการณ์นี้ก็คือ ลม โดยส่วนมากลมที่พัดผ่านบริเวณนี้จะมีทิศทางพัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปยัง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และร่องรอยการไถลของหินก็มีทิศทางขนาดกับทิศทางของลมนี้ด้วย แต่ก็มีนักวิทยาศาสตร์บางคน ได้แย้งว่ากระแสลมใน เรซแทรค พลาย่า สามารถทำให้เดินน้อยกว่า 5 เซนติเมตร และถ้าต้องการให้ดินเดินได้เป็นระยะตามที่ปรากฏจะต้องมีกระแสลมแรงกว่า 145 กิโลเมตร/ชั่วโมง บางสมมุติฐาน อ้างว่า เกิดจากน้ำแข็ง คนกลุ่มหนึ่งให้ข้อมูลว่า เคยเห็นเรซแทรค พลาย่าถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็งชั้นบางๆ แนวคิดหนึ่งอธิบายว่า เมื่อน้ำรอบก้อนหินแข็งตัวและแต่ต่อมามีลมพัดผ่านผิว ด้านบนของน้ำแข็ง ทำให้แผ่นน้ำแข็งได้ลากก้อนหินนั้นไปด้วย จึงเกิดรอยครูดไถลบนพื้นผิวแอ่ง นักวิจัยบางคนพบร่องรอยไถลของหินหลายก้อนที่สอดคล้องกับแนวคิดนี้ด้วย แต่อย่างไรก็ตามการเคลื่อนย้ายแผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่นั้นคาดว่าจะต้องมีการ ทิ้งร่องรอยบนพื้นผิวแอ่งในทิศทางอื่นๆ ด้วย แต่ก็ยังไม่พบร่องรอยนั้น และนั้นจึงทำให้มันยังคงเป็นปริศนาที่ต้องมีการศึกษาและหาคำตอบกันอีกต่อไป... | |||||
|