แนวปะการังใหญ่ที่่สุดในโลก (Great Barrier Reef)


674 ผู้ชม


Great Barrier Reef (เกรท แบริเออร์ รีฟ) หรือที่เรียกว่า แนวปะการังยักษ์ เป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ที่สามารถมองเห็นได้จากอวกาศ พวกมันกินพื้นที่กว่า 344,400 ตารางกิโลเมตร เกรท แบริเออร์ รีฟ เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในทะเลที่สดใส รวมทั้   
 
 

 

Great Barrier Reef (เกรท แบริเออร์ รีฟ) หรือที่เรียกว่า แนวปะการังยักษ์ เป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ที่สามารถมองเห็นได้จากอวกาศ พวกมันกินพื้นที่กว่า 344,400 ตารางกิโลเมตร เกรท แบริเออร์ รีฟ เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในทะเลที่สดใส รวมทั้งปะการังชนิดอ่อน และชนิดแข็ง สีสวยกว่า 350 ชนิด ตลอดจนปลา และสิ่งมีชีวิตในทะเลที่น่าพิศวงต่างๆ อีก 1500 ชนิด อีกทั้งยังเป็นแหล่งอนุบาลตัวอ่อนของสัตว์น้ำที่สำคัญยิ่งของบริเวณนั้นด้วย แนวปะการังนี้ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศออสเตรเลีย หรือตอนใต้ของทะเลคอรัล เริ่มตั้งแต่แหลมเคปยอร์ค (Cape York) ซึ่งอยู่ไกลขึ้นไปทางเหนือของรัฐควีนแลนด์ ลงมาถึงบันดะเบอร์ก (Bundaberk) ทางตอนใต้ แนวปะการังอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้ อยู่ในความดูแลขององค์การสวนทางทะเล เกรท แบริเออร์ รีฟ (The Great Barrier Reef Marine Park Authority) และครอบคลุมดูแลพื้นที่ 215,000 ตารางไมล์ หรือ 345,000 ตารางกิโลเมตร ของน่านน้ำรอบๆ แนวปะการัง เป็นสวนทางทะเลที่ใหญ่ทีสุดในโลก ที่ได้รับการดูแลและปกป้องอย่างดี แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
  • แนวปะการังเหนือ (Northern Reef)
  • หมู่เกาะวิทซันเดย์ (Whitsunday Island) และ
  • แนวปะการังใต้ (Southern Reef)


แนวปะการังซึ่งดูเหมือนกับป่าใต้น้ำนี้ เจริญเติบโตในเขตทะเลร้อน กระแสน้ำอุ่น และเป็นที่อยู่อาศัยอย่างหนาแน่นของชีวิตสัตว์ทะเลที่ต่างๆ กัน ได้แก่ ฟองน้ำ 10,000 ชนิด ปะการัง 350 ชนิด หอย 4,000 ชนิด ดาวทะเล และซี เออร์ชิน (Sea Urchin) ซึ่งเป็นสัตว์ประเภทคล้ายหอย 350 ชนิด และปลามากกว่า 1,500 ชนิด นักดำน้ำประมาณว่าจะต้องดำน้ำถึงพันครั้ง จึงจะได้เห็นจุดเด่นของปะการังแห่งนี้ทั้งหมด บริเวณพื้นที่แนวปะการังและเกาะควีนแลนด์ ซึ่งมีพื้นที่กว้างไกลกว่า 1,562 ไมล์ หรือ 2,500 กม. มีแนวปะการังมากกว่า 2,900 แนว รวมทั้งมีเกาะขนาดต่างๆ กันและเกาะที่เกิดจากการรวมตัวของแนวปะการังอีกหลายร้อยเกาะด้วย ความเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติขนาดมหึมา จึงได้รับการพิจารณาจากองค์การ UNESCO ให้อนุรักษ์เป็นมรดกโลก (World Heritage List) และอาจเป็นเพราะความสัมพันธ์ทางระบบนิเวศซึ่งมรดกโลกมหึมานี้ยังเป็นที่อยู่ ให้กับสิ่งมีชีวิตต่างๆ อีกทั้งปลา หอย งู วาฬ เต่า รวมแล้วมากกว่า 6,000 ชนิด นอกจากนี้ยังพบว่า เป็นบริเวณที่มีพะยูนอาศัยมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกอีกด้วย 
เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก

  • เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่างๆ ในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก 
  • เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ทางธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได 
  • เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา 
  • เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ใน สภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความหนาแน่นของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ ความสนใจด้วย

 

 


ที่มาข้อมูล : https://mail.vcharkarn.com
https://wowboom.blogspot.com
https://th.wikipedia.org

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1685

อัพเดทล่าสุด