รูปแบบการคิด (cognitive style) และ รูปแบบการเรียนรู้ (learning style) ในฐานะที่เป็นปัจจัยทางจิตวิทยาสำคัญ ที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ และเพิ่มสัมฤทธิผลทางการเรียนของผู้เรียนได้ ทั้งในการจัดการศึกษาในระดับโรงเรียน ระดับอุดมศึกษา และในการฝึ ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางความคิดของมนุษย์ที่สำคัญนั้น นอกจากความเชื่อและทัศนคติแล้ว ปัจจุบันนี้ในบริบทของ การจัดการศึกษา นักจิตวิทยา นักการศึกษา และนักวิจัยกำลังให้ความสนใจและให้ความสำคัญมากขึ้นทุกที ต่อสิ่งที่เรียกว่า รูปแบบการคิด cognitive styleและ รูปแบบการเรียนรู้ learning style ในฐานะที่เป็นปัจจัยทางจิตวิทยาสำคัญ ที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ และเพิ่มสัมฤทธิผลทางการเรียนของผู้เรียนได้ ทั้งในการจัดการศึกษาในระดับโรงเรียน ระดับอุดมศึกษา และในการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาวิชาชีพขององค์กรต่างๆ ความหมายของคำว่า รูปแบบ คำว่า รูปแบบ (style)ในทางจิตวิทยา หมายถึงลักษณะที่บุคคลมีอยู่หรือเป็นอยู่ หรือใช้ในตอบสนองต่อสภาพ แวดล้อมอย่างค่อนข้างคงที่ ดังที่เรามักจะใช้ทับศัพท์ว่า “สไตล์” เช่น สไตล์การพูด สไตล์การทำงาน และสไตล์การแต่งตัว เป็นต้น ซึ่งก็หมายถึงลักษณะเฉพาะตัวของเราเป็นอยู่ หรือเราทำอยู่เป็นประจำ หรือค่อนข้างประจำ ความหมายของ รูปแบบการคิด(Cognitive style) และ รูปแบบการเรียนรู้(learning style) รูปแบบการคิด (cognitive style) รูปแบบการเรียนรู้ (Learning style) ดังนั้นรูปแบบการคิดและรูปแบบการเรียนรู้ จึงเป็นลักษณะของการคิด และลักษณะของการเรียนที่บุคคลหนึ่งๆ ใช้หรือทำเป็นประจำ อย่างไรก็ตามรูปแบบการคิด และรูปแบบการเรียนรู้ไม่ได้หมายถึง ตัวความสามารถโดยตรง แต่เป็นวิธีการที่บุคคลใช้ความสามารถของตนที่มีอยู่ในการคิดและการเรียนรู้ ด้วยลักษณะใดลักษณะหนึ่ง มากกว่าอีกลักษณะหนึ่งหรือลักษณะอื่นๆที่ตนมีอยู่ ความเกี่ยวข้องระหว่างรูปแบบการคิดและรูปแบบการเรียนรู้ แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการคิด (Cognitive Style) พัฒนามาจากความสนใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งในช่วงแรกของการศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการคิดนักจิตวิทยาได้เน้นศึกษาเฉพาะความแตกต่างระหว่างบุคคลในแง่ของการประมวลข่าวสารข้อมูล ยังไม่ได้ประยุกต์เข้ามาสู่การเรียนการสอนในชั้นเรียน ต่อมานักจิตวิทยากลุ่มที่สนใจการพัฒนาประสิทธิภาพของการเรียนการสอนในชั้นเรียน ได้นำแนวคิดของรูปแบบการคิดมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์โดยเน้นสู่บริบทของการเรียนรู้ในชั้นเรียนและพัฒนาเป็นแนวคิดใหม่ เรียกว่า รูปแบบการเรียนรู้ (learning style) Riding และ Rayner (1998) กล่าวว่า รูปแบบการเรียนรู้ ประกอบด้วยรูปแบบการคิด (cognitive style) และกลยุทธ์การเรียนรู้ (learning strategy) ซึ่งหมายถึงวิธีการที่ผู้เรียนใช้การจัดการหรือตอบสนองในการทำกิจกรรมการเรียนเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์และงานในขณะนั้นๆ> ความสำคัญของรูปแบบการคิดและรูปแบบการเรียนรู้ การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการคิดและรูปแบบการเรียนรู้ได้เป็นไปอย่างกว้างขวางและต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 20 ปี ผลการวิจัยได้ชี้ชัดว่ารูปแบบการคิดและรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนมีผลต่อความสำเร็จทางการเรียน โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนจะเพิ่มขึ้นและผู้เรียนจะสามารถจดจำข้อมูลที่ได้เรียนนานขึ้น เมื่อวิธีสอน วัสดุ/สื่อการสอน และ สภาพแวดล้อมของการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับรูปแบบการคิดและรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน (Davis, 1991; Jonassen & Grabowski, 1993; Caldwell & Ginthier ,1996 ; Dunn, et al.,1995 ) เช่น ผู้เรียนที่มีรูปแบบการคิดเป็นรูปภาพ จะเรียนรู้ได้ดีเมื่อผู้สอนใช้สื่อการสอนที่มีภาพประกอบ หรือผู้เรียนที่มีรูปแบบการคิดแบบอิสระ จะเรียนรู้ได้ดีในกิจกรรมการเรียนที่มีการค้นคว้าด้วยตนเอง หรือผู้เรียนที่มีรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ ก็จะเรียนรู้ได้ดีในกิจกรรมการเรียนที่มีส่วนร่วม มีการร่วมมือกันทำงานเป็นกลุ่ม เป็นต้น นอกจากนี้การวิจัยยังพบประเด็นที่น่าสนใจอีกว่า นักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่ต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน จากผลการเรียนไม่ถึงเกณฑ์จำนวนมาก มีรูปแบบการเรียนรู้ที่ไม่สอดคล้องกับรูปแบบการสอน ที่ครูส่วนใหญ่ใช้สอนกัน (Caldwell & Gintheir, 1996; Rayner & Riding,1996) อีกทั้งยังพบว่านักเรียนที่มีปัญหาการเรียนส่วนใหญ่ มีรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างไปจากนักเรียนผู้สนใจเรียนและเรียนดี (Shaughnessy, 1998) จึงอาจเป็นไปได้ว่า ปัญหาการเรียนของนักเรียนเหล่านี้ มีสาเหตุมาจากการที่มีรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกับนักเรียนทั่วไป และไม่สอดคล้องกับรูปแบบการสอนทั่วไปของครู จึงกล่าวได้ว่าความรู้ความเข้าใจในเรื่องรูปแบบการคิดและรูปแบบการเรียนรู้ มีความสำคัญต่อการส่งเสริมประสิทธิภาพของการเรียนการสอน และพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ และอาจช่วยลดปัญหาผลการเรียนต่ำ ปัญหาการหนีเรียน และไม่สนใจเรียนของผู้เรียนได้ด้วย การจำแนกประเภทของรูปแบบการคิด ได้มีการเสนอแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการคิด (cognitive style) อย่างหลากหลาย ซึ่ง ไรดิงก์ และชีมา ได้จัดกลุ่มแนวคิดรูปแบบการคิดต่างๆเหล่านั้น เพื่อง่ายแก่การเข้าใจและเห็นภาพชัดขึ้น โดยจำแนกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ . รูปแบบการคิดในกลุ่มการคิดแบบภาพรวมและแบบวิเคราะห์ ในกลุ่มของแนวคิดที่จำแนกรูปแบบการคิดในลักษณะของการคิดภาพรวมและการคิดวิเคราะห์ ได้แก่ 1.1 รูปแบบการคิดแบบพึ่งพาและแบบอิสระ รูปแบบการคิดแบบพึ่งพาและแบบอิสระเป็นรูปแบบการคิด 2 ขั้ว ซึ่งแต่ละขั้วต่างมีประโยชน์ มีคุณค่า และมีความเหมาะสมกับสภาพการณ์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นแต่ละรูปแบบการคิดจะมีคุณค่าต่อเมื่อรูปแบบการคิดถูกใช้ได้เหมาะสมกับสภาพการณ์นั้นๆ ลักษณะเด่นของบุคคลที่มีรูปแบบการคิดแบบพึ่งพา คือ มีการรับรู้และจดจำข้อมูลข่าวสาร ในลักษณะภาพรวมและคงสภาพของข้อมูลไว้เหมือนเดิมตามที่ข้อมูลปรากฏ โดยไม่มีการปรับเปลี่ยนหรือจัดระบบข้อมูลใหม่ มีความสามารถและทักษะทางสังคมดี เป็นบุคคลที่ชอบทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความสามารถในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีความเข้าใจผู้อื่น ต้องการมิตรภาพ ต้องการความคิดเห็นของผู้อื่นร่วมในการตัดสินใจและแก้ปัญหา ชอบที่จะเรียนเป็นกลุ่มและชอบการเรียนที่มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนในชั้นเรียน รวมทั้งกับผู้สอนด้วย ต้องการการเสริมแรงภายนอก(extrinsic Reinforcement) เช่น คำชมเชยของผู้อื่น มากกว่าการเสริมแรงภายใน สามารถเรียนรู้ได้ดีเมื่อผู้สอนมีการจัดลำดับ ระบบระเบียบ และโครงสร้างของเนื้อหาที่สอนแล้วอย่างดี เรียนรู้เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสังคมได้ดีบุคคลที่มีรูปแบบการคิดแบบอิสระ 1.2 รูปแบบการคิดแบบปรับให้เรียบและแบบลับให้คม การ์ดเนอร์ และคณะ อธิบายความแตกต่างของบุคคลในแง่ของการรับรู้และการเก็บจำข่าวสารข้อมูล โดยจำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1.2.1 รูปแบบการคิดแบบปรับให้เรียบ หมายถึง การที่บุคคลมีแนวโน้มที่จะรับรู้สิ่งเร้าหรือเหตุการณ์ใหม่ในลักษณะเดิมๆเหมือนที่เคยเก็บจำไว้แล้ว จึงมักจะรับรู้ว่าสิ่งใหม่เหมือน/คล้ายของเดิม ชอบการใช้เหตุผลเชิงนามธรรม ภาพในความจำมักไม่คงที่ พร่ามัว และ ไม่แม่นยำ 1.2.2 รูปแบบการคิดแบบลับให้คม หมายถึง ลักษณะที่บุคคลมีแนวโน้มที่จะรับรู้สิ่งเร้า/เหตุการณ์ใหม่ในลักษณะที่แยกแยะเพ่งความสนใจเพื่อพิจารณา ให้เห็นชัดเจนในความแตกต่างระหว่างสิ่งใหม่กับกับสิ่งที่เคยเก็บจำไว้แล้ว ชอบการใช้เหตุผลเชิงรูปธรรม มีการรับรู้เกี่ยวกับเวลาที่ชัดเจน ภาพในความจำจะคงอยู่นาน ความทรงจำหลักจะอยู่ในลักษณะ ของภาพ 1.3 รูปแบบการคิดแบบหุนหันและแบบไตร่ตรอง คาแกน และคณะ แบ่งรูปแบบการคิดเป็น 4 ลักษณะ คือ 1.3.1 คิดแบบหุนหัน 1.3.2 คิดแบบไตร่ตรอง 1.3.3 คิดเร็ว 1.3.4 คิดช้า 1.4 รูปแบบการคิดแบบดัดแปลงและแบบสร้างใหม่ เคอร์ตัน แบ่งลักษณะรูปแบบการคิดตามลักษณะการแก้ปัญหาเป็น 2 ลักษณะ คือ 1.4.1 นักดัดแปลง 1.4.2 นักสร้างใหม่ เป็นผู้ที่ชอบ “ทำสิ่งที่แตกต่าง” มีแนวทาง การทำงานในลักษณะที่ไม่มีลำดับขั้นตอน ตัดสินใจโดยอิสระ เป็นผู้ที่เปลี่ยนแปลงความคิดได้ตลอดเวลา มีอุดมการณ์ และสามารถบริหารจัดการในภาวะวิกฤติได้ดีเป็นผู้ที่ชอบ ทำสิ่งที่ดีกว่า/ดีขึ้นกว่าเดิม” โดยมีแนวทางในการทำงานที่มีระเบียบและแม่นยำ เป็นนักคิดหาคำตอบสรุป (convergence) แสวงหามติเอกฉันท์โดยอิงวิธีการที่กำหนดขึ้น สามารถจัดการบริหารได้ดีในขอบเขตของระบบที่วางไว้แล้ว ของ เคอร์ตัน (Kirton,1987)มีการตอบสนองต่อสิ่งที่ได้รับรู้ช้าและผิดพลาดมาก"MS Sans Serif" มีการโต้ตอบต่อสิ่งที่เร้าหรือสิ่งที่รับรู้ได้อย่างรวดเร็วแต่ผิดพลาดน้อย(cognitively reflective) มีการใคร่ครวญ พิจารณาอย่างรอบคอบระมัดระวังเกี่ยวกับทางเลือกทุกทางก่อนที่จะตัดสินใจ และมักมีความผิดพลาดในการตัดสินใจเพียงเล็กน้อย(cognitively impulsive) มีการตัดสินใจอย่างรวดเร็วหลังจากได้ข้อมูลทางเลือกเพียงย่อๆ และมักเป็นการตัดสินใจที่มีความผิดพลาดบ่อยๆ(impulsive / reflectiveness) ของ คาแกน และคณะ (Kagan et al.,1964)ของ การ์ดเนอร์ และคณะ (Gardner et Field Independence) ลักษณะเด่นของบุคคลที่มีรูปแบบการคิดแบบนี้ คือ มีการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และจดจำในลักษณะวิเคราะห์แยกแยะข้อมูล และมีการเปรียบเทียบความแตกต่างและความเหมือนระหว่างข้อมูลที่ได้รับมาใหม่ กับข้อมูลเก่าที่มีอยู่เดิม มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและจัดระเบียบข่าวสารข้อมูลที่ได้รับใหม่ตามความเข้าใจของตนเอง มักจะมีความสามารถและทักษะทางสังคมน้อย มีความเป็นตัวของตัวเองสูง มีการตัดสินใจโดยอาศัยความคิดของตนเองเป็นหลัก สามารถเรียนรู้ได้ดีในสภาพการเรียนรู้ที่มีลักษณะเป็นรายบุคคลและให้อิสระแก่ผู้เรียน ชอบการเรียนที่ให้ผู้เรียนตั้งเป้าหมายของงานด้วยตนเอง และตอบสนองต่อการเสริมแรงภายใน(เช่น ความต้องการ มาตรฐาน และค่านิยมของตนเอง)มากกว่าการเสริมแรงภายนอก ชอบที่จะพัฒนากลวิธีการเรียนด้วยตนเอง ชอบที่จะจัดระบบโครงสร้างของเนื้อหาที่เรียนด้วยตัวเอง จึงไม่มีปัญหาแม้เอกสาร/วัสดุประกอบการเรียนจะอยู่ในรูปแบบที่ขาดการจัดระบบโครงสร้างของเนื้อหาบุคคลที่มีรูปแบบการคิดแบบพึ่งพา(Field-dependent / field-independent cognitive style) ของ วิทคินและคณะ(Witkin, et al., 1971) 2. รูปแบบการคิดในกลุ่มมิติของถ้อยคำ-ภาพ แนวคิดนี้แบ่งบุคคลออกเป็นประเภท ตามกระบวนการประมวลสารสนเทศและการเก็บจำ ซึ่งในกระบวนการของการประมวลข่าวสารข้อมูลนั้น เมื่อบุคคลรับข่าวสารข้อมูลมาแล้ว จะมีการแปลงรูปข่าวสารและเก็บจำไว้ใน 2 ลักษณะ คือ เป็นรูปภาพและเป็นคำพูด และจะดึงสิ่งที่เก็บจำนี้ออกมาใช้ในการคิดตามลักษณะที่เก็บจำไว้ เช่น ถ้าเราเก็บจำข้อมูลนั้นไว้ในลักษณะที่เป็นรูปภาพ เมื่อเวลาที่เราคิดถึงสิ่งนั้นหรือเรียกข้อมูลนั้นออกมาใช้งาน ข้อมูลนั้นก็จะออกมาในลักษณะของรูปภาพ แต่ถ้าเราเก็บจำไว้ในลักษณะของถ้อยคำ เวลาที่เราเรียกข้อมูลออกมาใช้ในการคิด ข้อมูลที่เรานึกก็จะออกมาเป็นถ้อยคำ โดยปรกติบุคคลจะมีการแปลงรูปข้อมูลข่าวสารได้ในทั้งสองลักษณะ แต่อย่างไรก็ตามการวิจัยพบว่า บุคคลหนึ่งๆมีแนวโน้มที่จะใช้การแปลงข่าวสารข้อมูลในรูปแบบหนึ่งมากกว่าอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า เป็นสไตล์ของผู้นั้น (Riding & Rayner, 1998) และก็มีเพียงบางคนเท่านั้นที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการคิด ให้มีทั้งการคิดที่เป็นคำพูดและการคิดที่เป็นภาพได้เท่าๆกัน โดยยืดหยุ่นไปตามสภาพการณ์ที่เหมาะสม แนวคิดนี้จึงแบ่งบุคคลตามรูปแบบการคิด ได้เป็น 2 ประเภท คือผู้ที่คิดเป็นคำพูด ผู้ที่คิดเป็นภาพ (Visualiser) หมายถึงผู้ที่เมื่อรับรู้ข่าวสารข้อมูลแล้ว มีแนวโน้มที่จะการแปลงรูปและเก็บจำ และดึงออกมาใช้ในการคิดในลักษณะของรูปภาพมากกว่าในลักษณะของคำพูด (Verbaliser) หมายถึงผู้ที่เมื่อรับรู้ข่าวสารข้อมูลแล้ว มีแนวโน้มที่จะการแปลงรูปข่าวสารข้อมูลนั้น แล้วเก็บจำ และดึงออกมาใช้ในการคิดในรูปของคำพูดมากกว่าในลักษณะของรูปภาพการจำแนกประเภทของรูปแบบการเรียนรู้ ได้มีการเสนอแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้ ไม่ต่ำกว่า 21 แนวคิด (Moran, 1991) ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเพียง 4 แนวคิดซึ่งเป็นแนวคิดที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป 1. รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดของโคล์บ (Kolb’s Learning Style Model, 1976) แนวคิดนี้ได้จำแนกผู้เรียนออกเป็น 4 ประเภท ตามความชอบในการรับรู้และประมวลข่าวสารข้อมูล ดังนี้ (diverger) เป็นผู้ที่สามารถเรียนรู้ได้ดีในงานที่ใช้การจินตนาการ การหยั่งรู้ การมองหลากหลายแง่มุม สามารถสร้างความคิดในแง่มุมต่างๆกัน และรวบรวมข่าวสารข้อมูลจากแหล่งต่างๆหรือที่ต่างแง่มุมเข้าด้วยกันได้ดี และมีความเข้าใจผู้อื่น แต่มีจุดอ่อนที่ตัดสินใจยาก ไม่ค่อยใช้หลักทฤษฎีและระบบทางวิทยาศาสตร์ในการคิดและตัดสินใจ มีความสามารถในการประยุกต์น้อย 1.1 นักคิดหลายหลากมุมมอง 1.2 นักคิดสรุปรวม (converger) เป็นผู้ที่มีความสามารถในการใช้เหตุผลแบบสรุปเลือกคำตอบที่ดีที่สุดเพียงหนึ่งคำตอบ มีความสามารถในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ไม่ใช้อารมณ์ ประยุกต์แนวความคิดไปสู่การปฏิบัติได้ดี และมีความสามารถในการสร้างแนวคิดใหม่และทำในเชิงการทดลอง แต่มีจุดอ่อนที่มีขอบเขตความสนใจแคบ และขาดการจินตนาการ 1.3 นักซึมซับ 1.4 นักปรับตัว (assimilator) เป็นนักจัดระบบข่าวสารข้อมูล มีความสามารถในการใช้หลักเหตุผล วิเคราะห์ข่าวสารข้อมูล ชอบทำงานที่มีลักษณะเป็นนามธรรมและเชิงปริมาณ งานที่มีลักษณะเป็นระบบและเชิงวิทยาศาสตร์ และการออกแบบการทดลอง มีการวางแผนอย่างมีระบบ มีจุดอ่อนที่ ไม่ค่อยสนใจที่จะเกี่ยวข้องกับผู้คนและความรู้สึกของผู้อื(accomodator) เป็นผู้ที่สามารถเรียนรู้ได้ดีที่สุดโดยผ่านประสบการณ์จริง มีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ๆได้ดี มีการหยั่งรู้ (intuition) ชอบแสวงหาประสบการณ์ใหม่ๆ ชอบงานศิลปะ ชอบงานที่เกี่ยวข้องกับผู้คน มีความสามารถในการปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามแผน ชอบการเสี่ยง ใช้ข้อเท็จจริงตามสภาพการณ์ปัจจุบัน จุดอ่อนของผู้ที่มีรูปแบบการเรียนแบบนี้คือ วางใจในข้อมูลจากผู้อื่น ไม่ใช้ความสามารถในเชิงวิเคราะห์ของตนเอง ไม่ค่อยมีระบบ และชอบแก้ปัญหาโดยวิธีการลองผิดลองถูก 2. รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดของ แนวคิดนี้แบ่งผู้เรียนตามความชอบของการเรียนรู้โดยมีพื้นฐานความคิดมาจากทฤษฎีบุคลิกภาพของคาร์ล ยุง (Carl Jung) โดยแบ่งผู้เรียนออกเป็นประเภทดังนี้ (Felder, 1996 ; Griggs, 1991) 2.1 ผู้สนใจสิ่งนอกตัวและผู้สนใจสิ่งในตัวผู้สนใจสิ่งนอกตัว ผู้สนใจสิ่งในตัว 2.2 การสัมผัส และ การหยั่งรู้ การสัมผัส 2.3 การคิดและการรู้สึก การคิด การรู้สึก 2.4 การตัดสิน และ การรับรู้ การตัดสิน การรับรู้(perception) หมายถึงผู้เรียนที่มีแนวโน้มที่จะพยายามรวบรวมข้อมูลให้มากกว่าที่มีอยู่และมักจะยืดเวลาการตัดสินใจออกไปเรื่อยๆ(judging) หมายถึง ผู้เรียนที่เมื่อได้รับข่าวสารข้อมูลใดๆแล้ว มักจะประมวลข่าวสารด้วยการตัดสินและสรุปลงความเห็นเกี่ยวกับข้อมูลนั้นๆperception) เป็นการจำแนกผู้เรียนตามกระบวนการประมวลข่าวสารข้อมูล(feeling) เป็นผู้ที่ตัดสินใจบนฐานของความความรู้สึก ค่านิยมส่วนตัว ค่านิยมของกลุ่ม และสนใจในประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับผู้คน เป็นผู้ที่มีความสามารถในการสื่อสารระหว่างบุคคล และมักประสบความสำเร็จในการทำงานเป็นทีม(thinking) หมายถึงผู้เรียนที่รับข้อมูลแล้วคิดตัดสินใจบนฐานของการใช้กฏเกณฑ์และหลักเหตุผล สามารถทำงานได้ดีในงานที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินและแก้ปัญหาที่มีคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว(thinking / feeling) เป็นการจำแนกผู้เรียนตามลักษณะของกระบวนหาทางเลือกในการตัดสินใจ(intuition) ผู้เรียนที่มุ่งเน้นความรู้ที่มีลักษณะของความเป็นไปได้ใหม่ๆ ปัญหาที่ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน และอาศัยการจินตนาการในการให้ได้มาซึ่งความรู้เหล่านี้(sensing) หมายถึงผู้เรียนที่มุ่งเน้นความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริง กฎ และกระบวนการ โดยผ่านการปฏิบัติด้วยประสาทสัมผัส 5(Sensing / intuition) เป็นการจำแนกผู้เรียนตามวิธีการให้ได้มาซึ่งความรู้(introversion) หรือผู้เรียนที่มุ่งเน้นความคิดเกี่ยวกับโลกภายใน ของตนและชอบงานรายบุคคลที่เน้นการใช้การคิดแบบไตร่ตรอง(extroversion) หมายถึงผู้เรียนที่มุ่งเน้นข่าวสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโลกภายนอกของตน และชอบการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม และมีการปฏิสัมพันธ์กัน 3. รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Dunn และ Dunn และ Price (1991) Dunn และคณะ ( Dunn et al.,1995) ได้เสนอแนวคิดรูปแบบการเรียนรู้ว่า ตัวแปรที่มีผลทำให้ความสามารถในการรับรู้และการตอบสนอง ในการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลแตกต่างกันนั้น มีทั้งตัวแปรที่เป็นสภาพแวดล้อมภายนอกของบุคคล และสภาพภายในตัวบุคคล ซึ่งมี 5 ด้าน ได้แก่ 3.1 ตัวแปรสภาพแวดล้อมภายนอก ระดับเสียง แสงอุณหภูมิที่นั่ง 3.2 สภาพทางอารมณ์ แรงจูงใจในการเรียนให้สำเร็จความเพียร/ความมุ่งมั่นทำงานที่ได้รับมอบหมายในการเรียนให้เสร็จความรับผิดชอบในตนเองเกี่ยวกับการเรียนความต้องการการบังคับจากสิ่งภายนอกหรือมีการกำหนดทิศทางที่แน่นอน เช่น เวลาที่ผู้สอนกำหนดให้ส่งงาน การหักคะแนนถ้าส่งงานล่าช้า หรือ การทำสัญญา เป็นต้น 3.3 ความต้องการทางสังคม ขนาดกลุ่มเรียนลักษณะผู้ร่วมงานลักษณะกลุ่มเรียนบางคนชอบเรียนรู้จากกลุ่มที่แตกต่างหลายๆกลุ่มและมีกิจกรรมที่หลากหลาย แต่บางคนชอบเรียนกับกลุ่มประจำและมีลีกษณะกิจกรรมที่แน่นอนบางคนชอบทำงานร่วมกับผู้ที่มีลักษณะมีอำนาจ ในขณะที่บางคนชอบทำงานร่วมกับผู้ที่มีลักษณะเป็นเพื่อนร่วมคิด ร่วมทำ บางคนชอบเรียนคนเดียว จับคู่กับเพื่อน เรียนเป็นกลุ่มเล็ก หรือเรียนกลุ่มใหญ่(sociological variable) แต่ละบุคคลมีความต้องการทางสังคมในสภาพของการเรียนรู้แตกต่างกันได้แก่เป็นคุณลักษณะของบุคคลที่มีมากน้อย ต่างกันไปในแต่ละบุคคล ซึ่งมีผลต่อความสามารถในการเรียนรู้ ได้แก่บางคนเรียนรู้ได้ดีในสถานที่มีการจัดที่นั่งไว้อย่างเป็นระเบียบ แต่บางคนชอบเรียนในที่จัดที่นั่งตามสบายบางคนเรียนชอบและเรียนรู้ได้ดีกว่าในสภาพแวดล้อมที่มี อุณหภูมิอุ่น ในขณะที่บางคนชอบเรียนในที่มีอากาศค่อนข้างเย็น บางคนเรียนรู้ได้ดีในที่มีแสงสว่างมากๆ แต่บางคนเรียนรู้ได้ดีในที่มีแสงสลัว บางคนเรียนรู้ได้ดีในที่เงียบๆ แต่บางคนเรียนรู้ได้ดีในที่ที่มีเสียงอื่นประกอบบ้าง เช่น เสียงดนตรี หรือเสียงสนทนา(environmental variable) แต่ละบุคคลมีความชอบและสามารถเรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมทางการเรียนที่แตกต่างกัน ดังนี้ 3.4 ความต้องการทางกายภาพช่องทางการรับรู้ช่วงเวลาของวันการกินระหว่างเรียนหรืออ่านหนังสือ บางคนเรียนรู้ได้ดีเมื่อมีการกิน การเคี้ยว ระหว่างที่มีสมาธิ แต่บางคนจะเรียนรู้ได้ดีต้องหยุดกิจกรรมการกินทุกชนิด> บางคนเรียนรู้ได้ดีในช่วงเช้าหรือสาย แต่บางคนเรียนรู้ได้ดีในช่วงบ่ายหรือเย็นแต่ละบุคคลชอบและสามารถเรียนรู้ได้ดีโดยผ่านประสาทสัมผัสต่างช่องทางกัน เช่น ผ่านทางการได้ยิน/ฟัง การเห็น การสัมผัส และการเคลื่อนไหว(kinesthetic) 3.5 กระบวนการทางจิตวิทยาการคิดเชิงวิเคราะห์หรือแบบภาพรวมความเด่นของซีกสมองการคิดแบบหุนหันหรือแบบไตร่ตรอง (impulsivity/reflectivity) บางคนมีการตัดสินใจอย่างรวดเร็วหลังจากได้ข้อมูลเพียงย่อๆ แต่บางคนจะมีการใคร่ครวญ พิจารณาอย่างรอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจ(hemisphericity) บุคคลมีแนวโน้มที่จะใช้สมองซีกใดซีกหนึ่ง ในการประมวลข่าวสารมากกว่าอีกซีกหนึ่ง โดยบางคนมีแนวโน้มที่จะใช้สมองซีกซ้ายมากว่าซีกขวา ในขณะที่บางคนมีแนวโน้มที่จะใช้สมองซีกขวามากว่าซีกซ้ายบางคนเมื่อรับรู้ข่าวสารข้อมูลแล้ว มักจะใช้กระบวนการวิเคราะห์ในการแยกแยะ เพื่อทำความเข้าใจ ในขณะที่บางคนใช้กระบวนการคิดแบบภาพรวม 4. รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดของ กราชาและริเอชแมนน์ กราชาและริเอชแมนน์ (Grasha & Riechmann, 1974) ได้เสนอรูปแบบของการเรียนรู้ในลักษณะของความชอบและทัศนคติของบุคคล ในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนและเพื่อนในการเรียนทางวิชาการ เป็น 6 แบบ ดังนี 4.1 แบบมีส่วนร่วม 4.2 แบบหลีกหนี 4.3 แบบร่วมมือ 4.4 แบบแข่งขัน 4.5 แบบอิสระ 4.6 แบบพึ่งพา ประโยชน์ของความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการคิดและรูปแบบการเรียนรู้เป็นผู้ที่ต้องอาศัยครูให้คำแนะนำ ต้องการการช่วยเหลือ และแรงจูงใจภายนอก (เช่น คำชม รางวัล) ในการจูงใจให้การเรียน ไม่ค่อยไวในการตอบสนอง/โต้ตอบ มีความกระตือรือร้นในการเรียนไม่มาก และมักจะทำตามความคิดของผู้นำ(Independent) เป็นผู้ที่ทำงานด้วยตนเอง สามารถทำงานให้เสร็จสมบูรณ์ ไวต่อการตอบสนอง/โต้ตอบได้รวดเร็ว และมีความคิดอิสระ เป็นตัวของตัวเอง(Competitive) เป็นผู้เรียนที่มีลักษณะของการแข่งขันและยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง สนใจแต่ตนเอง และมีแรงจูงใจในการเรียนจากการได้ชนะผู้อื่น สนุกกับเกม/กีฬาการต่อสู้ ชอบกิจกรรมที่มีการแพ้-ชนะ สนุกในเกมที่เล่นเป็น กลุ่ม(Collaborative) เป็นผู้เรียนที่ชอบกิจกรรมการเรียนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมและการร่วมมือกัน ชอบการมีปฏิสัมพันธ์กัน รู้สึกสนุกในการทำงานกลุ่ม(Avoidant) เป็นผู้เรียนที่ไม่มีความต้องการที่จะรู้เกี่ยวเนื้อหารายวิชาที่เรียน ไม่ชอบเข้าชั้นเรียน ไม่สนใจที่จะเรียนรู้ รู้สึกต่อต้านทิศทางของการเรียนการสอน(participant) เป็นผู้เรียนที่สนใจอยากจะรู้เกี่ยวกับเนื้อหาของรายวิชาที่เรียน อยากเรียน สนุกกับการเรียนในชั้นเรียน และคล้อยตามและติดตามทิศทางของการเรียนการสอนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคลในรูปแบบการคิดและรูปแบบการเรียนรู้มีประโยชน์ต่อทั้งผู้เรียนและผู้สอน ในแง่การส่งเสริมการเรียนรู้ การพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และการจัดการศึกษาได้อย่างประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ก. ประโยชน์ของความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการคิดและรูปแบบการเรียนรู้ต่อผู้เรียน ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคลในรูปแบบการคิดและรูปแบบการเรียนรู้ จะช่วยให้นักศึกษาเข้าใจตนเองและเข้าใจในความแตกต่างระหว่างตนเองและผู้อื่น และใช้ประโยชน์จากความรู้ความเข้าใจในจุดเด่นของรูปแบบการคิดและรูปแบบการเรียนรู้ของตนไปให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อการเรียนทางวิชาการ การเรียนรู้ในสภาพการณ์ทั่วไป และการทำงานในอนาคตต่อไป พร้อมทั้งปรับปรุงแก้ไขจุดอ่อนของตนในรูปแบบการคิดและรูปแบบการเรียนรู้ที่ไม่เคยใช้หรือไม่ค่อยได้ใช้ให้แข็งแกร่งขึ้น เพื่อจะได้เป็นผู้มีรูปแบบการคิดและรูปแบบการเรียนรู้หลายรูปแบบ ซึ่งจะทำให้สามารถเลือกนำออกมาใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะถ้าผู้เรียนที่ยึดมั่นในการใช้รูปแบบการคิดและรูปแบบการเรียนรู้แบบใดแบบหนึ่งเพียงรูปแบบเดียว ก็จะสามารถเรียนรู้ได้ดีเฉพาะในบางรายวิชาหรือบางสถานการณ์ ที่สอดคล้องกับการจัดการสอนเท่านั้น แต่ในบางรายวิชาหรือบางสถานการณ์ ที่ต้องการรูปแบบการคิดและรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างออกไป ก็จะเกิดความรู้สึกยุ่งยากหรืออาจเป็นปัญหาการเรียนได้ ข.ประโยชน์ของความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการคิดและรูปแบบการเรียนรู้ต่อผู้สอน ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคลในรูปแบบการคิดและรูปแบบการเรียนรู้ ทำให้นักจิตวิทยาและนักการศึกษาเห็นถึงความจำเป็น ที่ผู้สอนจะต้องปรับสภาพการเรียนการสอน และกลวิธีการสอนให้เข้ากับลักษณะของผู้เรียน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเรียนการสอน และช่วยให้ผู้เรียนบรรลุถึงจุดมุ่งหมายของการเรียน (Saracho, 1997; Morgan, 1997) โดยผู้สอนควรจะสร้างความสมดุลในการจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนทุกคน ด้วยการจัดรูปแบบการเรียนการสอนให้มีความหลากหลายและยืดหยุ่น เพื่อสอดรับกับรูปแบบการเรียนของผู้เรียนที่แตกต่างกัน และช่วยให้นักศึกษามีทักษะในการใช้รูปแบบการคิดและรูปแบบการเรียนรู้ที่ตนชอบมากกว่า และอีกทั้งจัดรูปแบบการเรียนการสอน ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เพิ่มทักษะการใช้รูปการเรียนที่ตนชอบน้อยกว่าให้สูงขึ้นด้วย ดังที่ Robotham (1995) เสนอแนะว่า ในช่วงแรกของการเรียน ผู้สอนควรจัดรูปแบบการสอนให้สอดคล้องกับรูปแบบการเรียน เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ได้ดีกว่า และเมื่อผู้เรียนมีความสามารถเพิ่มขึ้นแล้ว ผู้สอนควรใช้รูปแบบการสอนที่ไม่สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนของผู้เรียน เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนารูปแบบการเรียนของตนให้กว้างขึ้น และจะได้สามารถใช้เลือกรูปแบบการเรียนให้เหมาะสมกับงานที่แตกต่างได้ต่อไป โดยไม่ติดยึดกับรูปแบบการเรียนแบบใดแบบหนึ่งเพียงแบบเดียว นอกจากนี้ผู้สอนยังสามารถนำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคล ในรูปแบบการคิดและรูปแบบการเรียนรู้ ไปใช้ในการออกแบบหลักสูตร การเขียนตำรา การพัฒนาชุดการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ และออกแบบวิธีสอน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพได้อีกด้วย (Felder,1996 ; Saracho, 1997) แนวทางการใช้ประโยชน์จากรูปแบบการคิดและรูปแบบการเรียนรู้ของตนเองเลือกกิจกรรมการเรียนที่ตรงกับรูปแบบการคิดและรูปแบบการเรียนรู้ของตนเอง เพื่อจะได้ใช้ความสามารถของตนได้อย่างเต็มที่ เช่น งานเดี่ยว/งานกลุ่ม งานที่ผู้สอนกำหนดให้/งานอิสระที่ผู้เรียนกำหนดเอง งานที่เปิดโอกาสให้คิดได้หลากหลาย/ ต้องการคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียวเลือกแหล่งความรู้ที่มีการนำเสนอในรูปแบบที่สอดคล้องกับรูปแบบการคิดของตนเอง เช่น หนังสือ/ตำราที่มีการเรียบเรียงจัดระบบเนื้อหาอย่างดีและมีภาพประกอบ หรือวีดีทัศน์จัดสภาพการณ์การเรียนให้กับตนเองให้สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนรู้ของตน เช่น อ่านหนังสือในที่สงบเงียบ/มีดนตรีเบาๆ มีแสงสว่างมาก/สลัว เลือกสิ่งจูงใจภายใน/แรงจูงใจภายนอกเพื่อกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจในการเรียน แนวทางการพัฒนารูปแบบการคิดและรูปแบบการเรียนรู้ของตนเอง 1. สำรวจรูปแบบการคิดและรูปแบบการเรียนรู้ที่ตนเองชอบใช้และสอดคล้องกับสิ่งที่เรียน (ซึ่งถือว่าเป็นจุดแข็ง) และพิจารณาว่ารูปแบบการคิดและรูปแบบการเรียนรู้ใดที่จำเป็นต่อการเรียนของตน แต่ตนเองยังขาดทักษะในการใช้หรือไม่ค่อยได้นำมาใช้ (ซึ่งถือว่าเป็นจุดอ่อน) 2. พัฒนาและปรับปรุงตนเองจุดอ่อนของตนเองจากที่ได้จากการสำรวจในข้อที่ 1 โดยฝึกฝนตนเองในการใช้รูปแบบการคิด และรูปแบบการเรียนที่จำเป็น โดยเรียนรู้จากเพื่อนที่มีรูปแบบการคิดและรูปแบบการเรียนรู้ที่เราต้องการฝึก ด้วยการเลือกทำงานกลุ่มหรือทำงานคู่กับเพื่อนที่มีรูปแบบการคิดต่างไปจากตนเพื่อเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และฝึกตนเองในลักษณะที่ต่างไปจากเดิม เช่น เรียนรู้ทักษะทางสังคม ทักษะการสื่อสาร การทำงานร่วมกัน การเลือก/กำหนดเป้าหมายของงานด้วยตนเอง การวิเคราะห์และประเมินข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ เป็นต้น แหล่งข้อมูลดร.เอมอร กฤษณะรังสรรค์ บุคคลมีความแตกต่างกันกระบวนการที่ใช้ในการประมวลข่าวสารข้อมูล หมายถึง ลักษณะทางกายภาพ ความคิด และความรู้สึก ที่บุคคลใช้ในการรับรู้ ตอบสนอง และมีปฎิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางการเรียนอย่างค่อนข้างคงที่ (Keefe, 1979 อ้างใน Hong & Suh, 1995) หมายถึง หนทางหรือวิธีการที่บุคคลชอบใช้ในการรับรู้ เก็บรวบรวม ประมวล ทำความเข้าใจ จดจำข่าวสารข้อมูลที่ได้รับและใช้ในการแก้ปัญหา โดยรูปแบบการคิดของแต่ละบุคคลมีลักษณะค่อนข้างคงที่
ที่มา :
https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1698