"มีมี่" ไวรัสยักษ์


837 ผู้ชม


ไวรัส เป็นจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุด มีขนาดเล็กกว่าแบคทีเรียประมาณ 100 เท่า ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่มีกำลังขยายสูงส่องดูจึงจะสามารถมองเห็นได้ ไวรัสดำรงชีวิตและเพิ่มจำนวนได้โดยการพึ่งพาสิ่งมีชีวิตอื่น   

"มีมี่" ไวรัสยักษ์

 

 


ไวรัส เป็นจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุด มีขนาดเล็กกว่าแบคทีเรียประมาณ 100 เท่า ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่มีกำลังขยายสูงส่องดูจึงจะสามารถมองเห็นได้ ไวรัสดำรงชีวิตและเพิ่มจำนวนได้โดยการพึ่งพาสิ่งมีชีวิตอื่น เพราะตัวมันเองไม่มีสิ่งสำคัญที่เรียกกันว่าออร์กาแนล (organelle) ต่างๆ เหมือนสิ่งมีชีวิตทั่วไป จึงไม่สามารถเจริญเติบโตได้ด้วยตนเอง ต้องอาศัยกลไกภายในเซลล์ของคน สัตว์ พืช และจุลินทรีย์อื่นๆ ที่มันเข้าไปอาศัยอยู่จำลองสารพันธุกรรม เพื่อเพิ่มจำนวนลูกหลานไวรัสในเซลล์สิ่งมีชีวิตเหล่านั้น เมื่อสร้างลูกหลานได้จำนวนหนึ่งมันก็ออกจากเซลล์หนึ่ง รุกรานไปยังอีกเซลล์ เป็นอย่างนี้เรื่อยไป

ภาพไวรัสมีมี

แหล่งที่มาhttps://www.manager.com

"มีมี่" ไวรัสยักษ์
ตั้งแต่ปี 1960 เป็นต้นมา นักวิทยาศาสตร์ถกเถียงกันว่า จะจัดให้ไวรัสเป็นสิ่งมีชีวิต หรือจัดให้เป็นเพียงอนุภาค ในที่สุดก็ลงมติจัดกลุ่มไวรัสให้เป็นอนุภาค เป็นสิ่งไม่มีชีวิต เพราะโครงสร้างง่ายๆ มีเพียงสารพันธุกรรมชนิดดีเอ็นเอ หรือ อาร์เอ็นเอ อย่างใดอย่างหนึ่ง และมีเปลือกโปรตีนที่เรียกว่า แคปซิด (capsid) ล้อมรอบพันธุกรรมไว้ เพียงเท่านี้ก็จัดเป็นอนุภาคไวรัสที่สมบูรณ์แล้ว ไวรัสอาจมีเอนเวโลป (Envelope) ซึ่งประกอบด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน ล้อมรอบเปลือกหุ้มอีกชั้นหนึ่งก็ได้

แต่แล้ว นักวิทยาศาสตร์ก็เกิดความลังเลอีกครั้งว่า จะจัดให้ไวรัสที่ค้นพบใหม่เป็นสิ่งไม่มีชีวิตดังที่เคยเล่าเรียนกันมาหรือไม่ ใช่แล้ว นักวิทยาศาสตร์ค้นพบไวรัสชนิดหนึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 400 นาโนเมตร ใหญ่กว่าไวรัสที่ใหญ่ที่สุดถึง 3-4 เท่า มีการเรียงตัวของแคปซิดเป็นลักษณะสมมาตรกัน (คือมองในมุมไหน ก็มีลักษณะเหมือนกันหมด) ที่เรียกว่าว่า icosahedral symmetry เหมือนกับไวรัส                                                   
ไวรัสนี้ถูกค้นพบโดยบังเอิญในท่อทำความเย็นในโรงงานอุตสาหกรรมในเมืองแบรดฟอร์ด ในอังกฤษ ขณะนักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาโรคลีเจียนแนร์ ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชอบอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง โดยเฉพาะในระบบปรับอากาศ โดยไวรัสชนิดนี้อาศัยอยู่ในอะมีบา Acanthamoeba polyphaga ตอนนั้น นักวิทยาศาสตร์ได้แต่แปลกใจกับไวรัสชนิดใหม่ที่มีขนาดใหญ่เท่านั้น 
ต่อมาในปี 2546 นักวิทยาศาสตร์จาก Universit de la Mditerranee ในประเทศฝรั่งเศส ได้ศึกษารายละเอียดเพื่อการจัดจำแนกไวรัสชนิดนี้ ตามมาด้วยการถอดรหัสพันธุกรรมในปี 2547 ผลการศึกษา ทำให้นักวิทยาศาสตร์ตั้งชื่อไวรัสชนิดนี้ว่า "มีมี่"

เปรียบเทียบขนาดของ มีมี่ไวรัส กับ ไมโครพลาสมา


มีมี่ไวรัส มีที่มาจาก Mimicking bacteria ซึ่งหมายถึง มีความคล้ายคลึงแบคทีเรีย แม้จะมีรูปร่างลักษณะเหมือนไวรัสทั่วไป แต่มิมีมีความซับซ้อนมากกว่า เมื่อนักวิทยาศาสตร์วัดขนาดอีกครั้งพบว่า มีความยาว 800 นาโนเมตร ภายในอนุภาคประกอบด้วยสายดีเอ็นเอซึ่งมีขนาด 1.2 ล้านเบส มียีนอยู่ถึง 1,260 ยีน ในจำนวนนี้มียีนที่ควบคุมให้มีการสร้างโปรตีนได้ถึง 50 ชนิด (ซึ่งไวรัสปกติไม่มีความสามารถนี้ ในสายวิวัฒนาการสิ่งมีชีวิตที่มีความสามารถเช่นนี้ พบได้ตั้งแต่แบคทีเรียขึ้นไปเท่านั้น) ที่สำคัญไวรัสนี้มียีน 7 ชนิดที่เป็นยีนชนิดเดียวกับที่พบในสิ่งมีชีวิต ไวรัสโดยทั่วไปจะมีดีเอ็นเอหรือ อาร์เอ็นเออย่างใดอย่างหนึ่งเป็นสารพันธุกรรม แต่มีมี่มีทั้งสองอย่าง นอกจากนี้ดีเอ็นเอของไวรัสนี้ยังสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ใหม่ด้วย Didier Raoult หัวหน้าทีมที่ศึกษาเรื่องนี้ถึงกับกล่าวว่า "ไวรัสที่ค้นพบนี้น่าจะจัดว่าเป็นสิ่งมีชีวิต เพราะมันสามารถสร้างโปรตีนได้มากมาย"

รูปเปรียบเทียบระหว่างเซลล์ยูคาริโอต และเซลล์โปรคาริโอต


โดยปกติ นักวิทยาศาสตร์จะแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็น 2 กลุ่ม คือ โปรคาริโอต (Prokaryote) และยูคาริโอต (Eukaryote) โดยที่โปรคาริโอตเป็นสิ่งมีชีวิตที่ประกอบด้วยเซลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส และอวัยวะในเซลล์ (Organelle) ก็ไม่มีเยื่อหุ้ม เพราะฉะนั้นสารพันธุกรรมหรือกรดนิวคลีอิกก็อยู่ปะปนกับอวัยวะในเซลล์ สิ่งมีชีวิตในกลุ่มนี้ ได้แก่ แบคทีเรีย ส่วนสิ่งมีชีวิตชั้นสูง เช่น พืช สัตว์ รวมทั้งมนุษย์ จัดเป็นพวกยูคาริโอต เป็นสิ่งมีชีวิตที่ประกอบด้วยเซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส รวมถึงเยื่อหุ้มอวัยวะในเซลล์ 
มีนักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มตั้งสมมติฐานว่า ยูคาริโอตเกิดจากวิวัฒนาการการรวมกันระหว่างแบคทีเรียและไวรัส โดยไรโบโซม และโปรตีนวิวัฒนาการมาจากแบคทีเรีย ส่วนสารพันธุกรรมมาจากไวรัส อย่างไรก็ตามสมมติฐานนี้ต้องพับไป เนื่องจากแบคทีเรียมียีนบางตัวที่พบในยูคาริโอต ส่วนไวรัสไม่มียีนร่วมดังกล่าวเลย จนกระทั่งมาเจอมิมีสมมติฐานนี้ จึงได้รับความสนใจอีกครั้ง 
ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษายีนต่างๆ ในมีมี่ว่ามีหน้าที่อะไรบ้าง ดังนั้น มีมี่จึงยังถูกจัดอยู่ในกลุ่มของไวรัสต่อไป จนกว่าจะได้มีการศึกษารายละเอียดต่างๆ มากกว่านี้ 
จากการค้นพบนี้ หลายคนคงเห็นด้วยกับผู้เขียนว่า บนโลกใบนี้ มีอีกหลายสิ่ง หลายอย่าง หลายเรื่องราวที่เรายังไม่รู้ ไม่ค้นพบ...
 


ที่มาข้อมูล : มาลินี อัศวดิษฐเลิศ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ - https:// www.myfirstbrain.com

 
"มีมี่" ไวรัสยักษ์ 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
"มีมี่" ไวรัสยักษ์

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1865

อัพเดทล่าสุด