เร่งศึกษาคาร์บอนเครดิตในระบบผลิตอ้อย หนุนไทยลดปล่อย CO2


741 ผู้ชม


นักศึกษาเจจีซีศึกษาการหมุนเวียนของคาร์บอนในระบบการผลิตอ้อย พืชเศรษฐกิจที่ประเทศไทยนำมาใช้ผลิตน้ำตาลเพื่อส่งออกสูงเป็นลำดับที่ 2 ของโลก ชี้ "ลดการเผา-หยุดใช้สารเคมี" ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ เผยเตรียมใช้ข้อมูลเป็นแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซค   
เร่งศึกษาคาร์บอนเครดิตในระบบผลิตอ้อย หนุนไทยลดปล่อย CO2
 
นักศึกษาเจจีซีศึกษาการหมุนเวียนของคาร์บอนในระบบการผลิตอ้อย พืชเศรษฐกิจที่ประเทศไทยนำมาใช้ผลิตน้ำตาลเพื่อส่งออกสูงเป็นลำดับที่ 2 ของโลก ชี้ "ลดการเผา-หยุดใช้สารเคมี" ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ เผยเตรียมใช้ข้อมูลเป็นแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และคำนวณคาร์บอนเครดิตในระบบผลิตอ้อยของประเทศไทย

แหล่งที่มาของภาพ:https://www.myfirstbrain.com
เร่งศึกษาคาร์บอนเครดิตในระบบผลิตอ้อย หนุนไทยลดปล่อย CO2
 
ความเข้มข้นของการประชุมอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ณ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก สะท้อนให้เห็นว่า การดำเนินมาตรการเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก คือปัญหาระดับโลกที่นานาชาติต้องร่วมกันแก้ไข และประเทศไทยเองแม้จะไม่ได้อยู่ภายใต้พันธกรณีพิธีสารเกียวโตที่จะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ภายในปี พ.ศ.2555 แต่ขณะนี้ทางสหภาพยุโรปและอีกหลายประเทศทั่วโลกต่างก็เริ่มมีโครงการการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาให้เห็นบ้างแล้ว ดังเช่น เครื่องบินที่บินเข้าน่านฟ้าสหภาพยุโรปจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 3% ภายในปี 2555 ซึ่งประเทศไทยเองก็หลีกเลี่ยงมาตรการดังกล่าวไม่ได้

ดังนั้นการสร้างข้อมูลและแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย จึงเป็นสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการอย่างยิ่ง ซึ่งล่าสุด น.ส.มณฑิรา ยุติธรรม นักศึกษาปริญญาเอก สายวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม หรือ เจจีซี (JGSEE) ได้ศึกษาการหมุนเวียนเชิงปริมาณของคาร์บอนในระบบการผลิตอ้อยในประเทศไทย โดยหวังใช้เป็นกรณีศึกษาและหนึ่งในฐานข้อมูลสำหรับแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย
แหล่งที่มาของภาพ:https://www.myfirstbrain.com
เร่งศึกษาคาร์บอนเครดิตในระบบผลิตอ้อย หนุนไทยลดปล่อย CO2
 
น.ส.มณฑิรา กล่าวว่า การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นับเป็นแนวทางการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ ซึ่งในประเทศไทยเองยังไม่มีการศึกษาตัวเลขการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นระบบ ยิ่งเฉพาะในภาคเกษตร จึงทำให้สนใจศึกษาในอ้อย เนื่องจากอ้อยเป็นพืชพลังงานที่สามารถนำเศษวัสดุเหลือใช้ไปผลิตเป็นพลังงานได้ อีกทั้งประเทศไทยมีการปลูกอ้อยจำนวนมาก มีการผลิตอ้อยสูงเป็นลำดับที่ 4 ของโลก รองจาก บราซิล อินเดีย และจีน ขณะที่การส่งออกน้ำตาลมีสูงมากเป็นลำดับที่ 2 ของโลก รองจาก บราซิล เลยทีเดียว

ในงานวิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลทั้งระบบ ได้แก่ การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และ มีเทน (CH4) จากดิน การย่อยสลายของเศษซากอ้อย การประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการจัดการการเกษตร เช่น การไถพรวน การขนส่ง รวมทั้งการจัดการการปลูกอ้อย เช่น การใส่ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลงและยาปราบวัชพืช ฯลฯ นอกจากนี้ยังเก็บข้อมูลปริมาณการหมุนเวียนคาร์บอนที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตน้ำตาล โดยเน้นที่การนำของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตน้ำตาล เช่น ชานอ้อย ไปผลิตพลังงานทดแทน
ผลการศึกษา พบว่า การหมุนเวียนคาร์บอนในดิน มีบทบาทสำคัญในการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงถึง 50% ของการปลดปล่อยในขบวนการเกษตรกรรมอ้อย และหากมีการเผาใบอ้อยหลังการเก็บเกี่ยวจะทำให้มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วย ส่วนในการจัดการการปลูกอ้อย พบว่า การใช้ปุ๋ยเคมีก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด รองลงมาคือ การใช้ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง นอกจากนั้นจะเป็นในส่วนของการการใช้พลังงานฟอสซิลในจัดการอื่นๆ ได้แก่ การไถพรวน ให้น้ำ และการขนส่ง ตามลำดับ

นางสาวมณฑิรา กล่าวอีกว่า หากพิจารณาจากภาพรวมทั้งหมดของการศึกษา จะพบว่า หากมีการจัดการที่ดีพอ 
การปลูกอ้อยจะสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศได้มาก เช่น การลดการเผาใบอ้อยก่อนหรือหลังเก็บเกี่ยว รวมถึงการเปลี่ยนจากการใช้ปุ๋ยเคมีมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทน จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เกือบ 40% ของการปลดปล่อยในภาคการเขตกรรมอ้อย ส่วนโรงงานน้ำตาลหากมีการนำชานอ้อยมาใช้ผลิตพลังงาน เพื่อทดแทนการใช้พลังงานไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จะสามารถช่วยลดการปลดปล่อย ก๊าซเรือนกระจก จากการใช้พลังงานฟอสซิลได้มากกว่า 80% ของก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยมาในกระบวนการผลิตน้ำตาลทั้งหมดด้วย
อย่างไรก็ดี จากผลการศึกษาครั้งนี้เชื่อว่าไม่เพียงจะช่วยให้เกิดการวางแผนการจัดการเกษตรกรรมอ้อยมีคุณภาพมากขึ้น สามารถใช้ของเสียจากโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ข้อมูลการหมุนเวียนของคาร์บอนในระบบการผลิตอ้อยยังใช้เป็นแนวทางในการวางแผนลดการปลดปล่อย ก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย และอาจเป็นประโยชน์ต่อศักยภาพการผลิตคาร์บอนเครดิตในประเทศไทยในอนาคตอันใกล้นี้อีกด้วย


ที่มาข้อมูล : ASTV ผู้จัดการออนไลน์
วันที่ 21 ธันวาคม 2552-https://www.myfirstbrain.com

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1866

อัพเดทล่าสุด