ของขวัญจากสวรรค์ "สุริยุปราคารับปีใหม่ 15 ม.ค. 53"


1,183 ผู้ชม


กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เชิญชวนประชาชนคนไทยทั่วประเทศร่วมสัมผัสสุริยุปราคาครั้งแรกและครั้งเดียวของปี 2553 ต้อนรับศักราชใหม่ “สุริยุปราคา 15 มกราคม 2553” พลาดคราวนี้ต้องรอไปอีก 2 ปี   

       ในวันที่ 15 ม.ค. 53 จะเกิดปรากฏการณ์ “สุริยุปราคาวงแหวน” ขึ้น โดยมีเส้นทางของแนวคราสวงแหวนกว้างกว่า 300 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางของแนวคราสใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง 45 นาที แนวคราสวงแหวนได้เริ่มต้นที่ทวีปแอฟริกา ผ่านประเทศสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ยูกันดา เคนยา และโซมาเลีย แล้วออกจากทวีปแอฟริกาเข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย หลังจากนั้นจะผ่านเข้าสู่ทวีปเอเชีย ผ่านบังกลาเทศ อินเดีย พม่าและเข้าสู่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน สำหรับปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วนสามารถมองเห็นได้เป็นบริเวณกว้างตามบริเวณที่เงามัวของดวงจันทร์พาดผ่าน เช่น ยุโรปตะวันออก ทวีปแอฟริกา เอเชียและประเทศอินโดนีเซีย
       สำหรับในประเทศไทย จะสังเกตปรากฏการณ์ครั้งนี้เป็นสุริยุปราคาแบบบางส่วน โดยสามารถสังเกตเห็นได้ทั่วทุกภูมิภาค โดยแต่ละภูมิภาคจะเห็นปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นในเวลาที่แตกต่างกัน ที่กรุงเทพฯ นั้นดวงจันทร์จะเริ่มเคลื่อนเข้าสู่สัมผัสที่ 1 ในเวลาประมาณ 14.00 น. และสิ้นสุดเหตุการณ์ในเวลา 16.58 น. ปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วนในครั้งนี้จะเกิดนานที่สุดในภาคเหนือ คือ ประมาณ 3 ชั่วโมง 6 นาทีที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยดวงอาทิตย์จะถูกดวงจันทร์บดบังมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 77 ของพื้นที่ดวงอาทิตย์ (ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 3 มกราคม 2553) https://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000154359

        ข่าวนี้ถือว่าเป็นของขวัญปีใหม่สำหรับผู้ที่ชื่นชอบเรื่องดาราศาสตร์ และผู้สนใจทั่วไป แต่เชื่อว่าบางคนเมื่ออ่านข่าวแล้วอาจจะงง ๆ กับคำว่า สุริยุปราคาวงแหวน และสุริยุปราคาบางส่วน  มันเหมือนหรือต่างกันอย่างไรนะ ? อยากรู้ลองมาศึกษาเพิ่มเติมกันเถอะ  (สาระนี้เหมาะกับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 - 3 และผู้สนใจทั่วไป)
   1. สุริยุปราคาคืออะไร ?
                โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ในขณะที่ดวงจันทร์ก็โคจรรอบโลก ดังนั้นในบางเวลาจะพบว่า ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์อาจจะมาอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน สุริยุปราคาเป็นอุปราคาที่เกิดขึ้นกับดวงอาทิตย์ จะเกิดในเวลากลางวันประมาณวันแรม 14-15 ค่ำหรือวันขึ้น 1 ค่ำ สุริยุปราคา เกิดจากโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน โดยดวงจันทร์อยู่ตรงกลางระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก แสงจากดวงอาทิตย์ส่องมากระทบดวงจันทร์ ทำให้เกิดเงาของดวงจันทร์ไปปรากฏบนโลก คนที่อยู่บนโลกบริเวณเงาดวงจันทร์จะไม่สามารถมองเห็นแสงอาทิตย์ จะเห็นดวงอาทิตย์มืดไปหมดเมื่ออยู่บริเวณเงามืด และเห็นดวงอาทิตย์มืดบางส่วนเมื่ออยู่บริเวณเงามัว 

ของขวัญจากสวรรค์ "สุริยุปราคารับปีใหม่ 15 ม.ค. 53"
 แผนภาพแสดงตำแหน่งของดวงอาทิตย์ โลกและดวงจันทร์ขณะเกิดสุริยุปราคา
https://www.rmutphysics.com/charud/scibook/eclipse/index2.htm

  2. ประเภทของสุริยุปราคา
                 เราสามารถแบ่งสุริยุปราคาตามลักษณะการเกิดได้ 3 ประเภท คือ
      2.1 สุริยุปราคาเต็มดวง (Total Solar Eclipse) เกิดขึ้นเมื่อผู้สังเกตการณ์อยู่ในตำแหน่งเงามืดบนพื้นผิวโลก (A) ดวงจันทร์จะบังดวงอาทิตย์จนหมดสิ้น จึงมองเห็นดวงอาทิตย์มืดไปทั้งดวง
      2.2 สุริยุปราคาบางส่วน (Partial Solar Eclipse) เกิดขึ้นเมื่อผู้สังเกตการณ์อยู่ในตำแหน่งของเงามัว (B) จึงมองเห็นดวงอาทิตย์เป็นสว่างเป็นเสี้ยว(แหว่งเป็นเสี้ยว)
      2.3 สุริยุปราคาวงแหวน (Annular Solar Eclipse) เนื่องจากวงโคจรของดวงจันทร์เป็นรูปวงรี บางครั้งดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกมากเสียจนเงามืดของดวงจันทร์จะทอดยาวไม่ถึงผิวโลก (C) ดวงจันทร์จะมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์เฉพาะตรงกลาง จะเห็นส่วนของของดวงอาทิตย์เป็นวงแหวนสีส้มล้อมรอบดวงจันทร์สีดำ ทำให้ผู้สังเกตการณ์มองเห็นดวงอาทิตย์ปรากฏเป็นรูปวงแหวน
        การเกิดสุริยุปราคาจะมองเห็นได้ในบางส่วนของโลก  สุริยุปราคาเต็มดวงจะมีระยะการมองเห็นเป็นบริเวณไม่กว้างเฉพาะผู้อยู่ใต้เงาดำสนิทเท่านั้น  ส่วนสุริยุปราคาบางส่วนจะมองเห็นได้ในบริเวณที่กว้างกว่า สุริยุปราคาจะเกิดขึ้นชั่วคราว เมื่อดวงจันทร์โคจรออกจากบริเวณที่ทำให้เกิดเงาบนโลก จะทำให้คนในบริเวณนั้นเห็นแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ตามปกติ

ของขวัญจากสวรรค์ "สุริยุปราคารับปีใหม่ 15 ม.ค. 53"

สุริยุปราคาประเภทต่าง ๆ  https://www.lesa.in.th/2/effect_astronomy/solar_eclipse/solar_eclipse.html

3. ประเด็นศึกษา
1. สุริยุปราคาคืออะไร
2. โลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์มีการโคจรอย่างไรจึงจะเกิดเป็นสุริยุปราคา
3. สุริยุปราคาแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
4. สุริยุปราคาแต่ละประเภทมีลักษณะเป็นอย่างไร

4. ศึกษาเพิ่มเติมจากสื่อการสอนเรื่องสุริยุปราคา

                                                          (สนใจชมสื่อคลิกที่นี่)

ของขวัญจากสวรรค์ "สุริยุปราคารับปีใหม่ 15 ม.ค. 53"

5. อ่านเสริมเพิ่มความรู้
1.https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2
2. https://www.prc.ac.th/Astronomy/SSun%20EEclipse.htm
3. https://rmutphysics.com/charud/scibook/eclipse/index2.htm
4. https://www.radompon.com/resourcecenter/?q=node/39

 6. ขอขอบคุณภาพและข้อมูลดี ๆ จาก
1.https://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000154359
2.https://www.rmutphysics.com/charud/scibook/eclipse/index2.htm
3.https://www.lesa.in.th/2/effect_astronomy/solar_eclipse/solar_eclipse.html
4.https://www.lib.kmutt.ac.th/st4kid/nonFlash/index.jsp?id=171

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1900

อัพเดทล่าสุด