เสียงดัง : อันตรายที่มองไม่เห็น


831 ผู้ชม


โดยทั่วไปประสาทหูจะเริ่มเสื่อมลงตั้งแต่อายุ 20 ปี จนสร้างปัญหาเรื่องการได้ยินเมื่ออายุประมาณ 55-65 ปี เมื่อหูเสื่อมแล้วไม่มีทางกลับมาได้ยินชัดเจนเหมือนเดิม ต้องอาศัยเครื่องช่วยฟังไปตลอดชีวิต ที่สำคัญเสียงจากเครื่องช่วยฟังไม่เสนาะหูเหมือนเสียงตามธรรมชาติ แ   

เสียงดัง : อันตรายที่มองไม่เห็น

เสียงดัง : อันตรายที่มองไม่เห็น

 

ประเด็นคำถามนำสู่การศึกษา  หูมีความสำคัญอย่างไรต่อการดำรงชีวิตของคน

กิจกรรมการเรียนรู้  ผู้ศึกษาได้จากเนื้อหาต่อไปนี้

ประเด็นเนื้อหา
โดยทั่วไปประสาทหูจะเริ่มเสื่อมลงตั้งแต่อายุ 20 ปี จนสร้างปัญหาเรื่องการได้ยินเมื่ออายุประมาณ 55-65 ปี เมื่อหูเสื่อมแล้วไม่มีทางกลับมาได้ยินชัดเจนเหมือนเดิม ต้องอาศัยเครื่องช่วยฟังไปตลอดชีวิต ที่สำคัญเสียงจากเครื่องช่วยฟังไม่เสนาะหูเหมือนเสียงตามธรรมชาติ และอาจทำให้ผู้ที่ใช้ในระยะแรกๆ เป็นโรคซึมเศร้าด้วย 

  หูเสื่อม : โรคฮิตมาแรง (แซงทางโค้ง) 

ประสาทหูเสื่อมหรือที่เรียกง่ายๆ ว่า "หูเสื่อม" เป็นภาวะที่ได้ยินเสียงลดลง หรือไม่ได้ยินเลย เกิดจากการรับเสียงดังเกินไปและนานเกินไป แต่ปัญหาหูเสื่อมไม่จำเป็นต้องมาจากเสียงรบกวนเสมอไป อาจเกิดขึ้นจากเสียงที่พึงปรารถนาด้วยพฤติกรรมต่างๆ เช่น ติดนิสัยฟัง MP3 ตลอดเวลาโดยเปิดในระดับดังมากๆ การเที่ยวกลางคืนบ่อยๆ ทำให้เซลล์รับเสียงคลื่นในความถี่ 2,000-6,000 เฮิร์ตท์ (Hz) ถูกกระทบกระเทือนจนทำงานไม่ได้ ผู้ป่วยจึงไม่ได้ยินเสียงพูดคุยระดับปกติและต้องฟังเสียงดังขึ้นเรื่อยๆ 
โรคหูเสื่อมแบ่งเป็น
 

โรคหูหนวก หรือหูบอดสนิท

สาเหตุ : แก้วหูทะลุและหูอักเสบที่รุนแรง หูหนวกแต่กำเนิด พิษจากยา (สเตรปโตไมซิน, คาน่าไมซิน, เจนตาไมซิน) โรคคางทูม ไข้หวัดใหญ่บางสายพันธุ์ รูปแบบการดำเนินชีวิต เช่น การดำน้ำ 
อาการ

  • ไม่สามารถได้ยินเสียงใดๆ เลย ต้องอาศัยเครื่องช่วยฟัง หรือผ่าตัด
  • เป็นใบ้ ถ้าหากเกิดขึ้นก่อนสองขวบ ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กกำลังพัฒนาการพูด
โรคหูตึง แบ่งเป็น 

  • หูตึงแบบไม่มีเสียงในหู
  • หูตึงแบบมีเสียงในหู (หูอึง) คือ มีเสียงหวีดก้องในหู โดยหาที่มาของเสียงไม่ได้ มักมีเสียงดังอยู่ตลอดเวลา และมีเสียงดังมากขึ้น เมื่อต้องอยู่ในสถานที่เงียบสงัด เช่น ในห้องนอน
สาเหตุ : กรรมพันธุ์ เยื่อหูชั้นในฉีกขาดและเซลล์รับเสียงถูกกระทบกระเทือน ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 
อาการ 
  • ความสามารถในการได้ยินลดลงเรื่อยๆ จนต้องฟังเสียงดังมากขึ้น
  • อาจมีอาการร่วม เช่น เวียนหัว มึนงง รู้สึกบ้านหมุน
เสียงดังทำให้หูเสื่อมได้ทั้งหูหนวก และหูตึง ใน 2 ลักษณะ คือ หูเสื่อมแบบเฉียบพลัน หลังจากฟังเสียงดังมากๆ แค่ไม่กี่นาที เนื่องจากเยื่อหูชั้นในฉีกขาด เสียน้ำในหูและเซลล์รับเสียงไม่สามารถทำงาน ซึ่งหากแผลไม่ใหญ่เกินไป เนื้อเยื่อกลับมาประสานกันหรือน้ำในหูคืนสู่สภาพเดิม ความสามารถในการได้ยินอาจกลับคืนมาเป็นปกติภายใน 2 สัปดาห์ แต่ถ้าเนื้อเยื่อฉีกขาดมากจนไม่สามารถประสานกันได้จะทำให้หูหนวกถาวร 
หูเสื่อมแบบค่อยเป็นค่อยไป เกิดจากฟังเสียงดังเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ แม้จะไม่ต่อเนื่องครั้งละหลายชั่วโมงก็ตาม 
สัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าหูเริ่มเสื่อม ได้แก่ ปวดหูเวลาได้ยินเสียงดัง ทั้งๆ ที่เสียงนั้นอาจไม่ดังมากเกินไป ปวดหูมากขึ้นเรื่อยๆ ตามระดับความดังของเสียง ทนฟังเสียงรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์วิ่งผ่านไม่ได้ เพราะเกิดอาการปวดหู บาดหู บางครั้งอาจรู้สึกปวดร้าวไปถึงสมอง หรือไม่สามารถแยกแยะคำพูดของคู่สนทนาได้ เป็นต้น 
  MP3 Player : ความสุขราคาแพงของหู 
เมื่อฟังเพลงจากเครื่องเล่น MP3 คุณอาจรู้สึกว่าเสียงไม่ดังเท่าไหร่ แต่ถ้าวัดอย่างจริงจังจะพบว่าบางคนฟังเพลงดังมากกว่า 100 เดซิเบลเอ ทำให้หูเสื่อมเช่นเดียวกับการได้ยินเสียงดังรูปแบบอื่นๆ วิธีสังเกตว่าเครื่องเล่นเพลง MP3 ดังเกินไปหรือไม่ดูได้จาก 
คุณเซ็ตความดังเสียงเครื่องเล่นไว้เกินกว่า 60% ของระดับเสียงสูงสุดหรือไม่ ?
เมื่อฟังเพลงจากเครื่องเล่น MP3 ยังสามารถได้ยินเสียงจากสิ่งรอบตัวหรือไม่ ?
คนอื่นๆ ได้ยินเสียงจากเครื่องเล่น MP3 ของคุณหรือไม่ ?
เมื่อฟังเครื่องเล่น MP3 คุณต้องตะโกนคุยกับคนอื่นหรือไม่ ?
หลังจากฟังเครื่องเล่น MP3 คุณมีอาการหูอื้อหรือไม่ ?
หากมีพฤติกรรมต่างๆ ข้างต้นแสดงว่าคุณฟังเพลงเสียงดังเกินไป ควรปรับระดับเสียงให้ต่ำลงและลดระยะเวลาฟัง MP3 ลง 
 
 
  ปัญหาที่มากับเสียงดัง 
  • การได้ยิน คือสูญเสียการได้ยิน หูอื้อ หูหนวก หรือหูอึง ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว มือเท้าเย็น ระบบไหลเวียนโลหิตบกพร่อง จนอาจนำไปสู่โรคหัวใจ และปอดแตกฉับพลัน
  • สุขภาพจิต รบกวนการทำงาน การพักผ่อน ทำให้เกิดความเครียด หรือการตื่นตระหนก และอาจพัฒนาไปสู่อาการซึมเศร้า และโรคจิตประสาท
  • สมาธิ ความคิด และการเรียนรู้ ทำให้ขาดสมาธิ ประสิทธิภาพการคิดค้น การวิเคราะห์ข้อมูล การเรียนรู้และการรับฟังข้อมูลลดลง ลดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงาน รบกวนระบบและความต่อเนื่องของการทำงาน ทำให้ทำงานล่าช้า คุณภาพและปริมาณงานลดลง
  • การติดต่อสื่อสาร ขัดขวางการได้ยิน ทำให้การสื่อสารบกพร่อง ต้องตะโกนคุยกัน ได้ยินเพี้ยน ในเด็กเล็กทำให้พัฒนาการด้านการฟัง การพูด และการออกเสียงเพี้ยนไป
  • กระตุ้นพฤติกรรมก้าวร้าว เสียงดังจะเร้าอารมณ์ให้สร้างความรุนแรง และอาจถึงขั้น "สูญเสียการควบคุมตนเอง" จนทำร้ายผู้อื่นได้ แม้ได้ยินเสียงดังเพียงเล็กน้อย
  ป้องกันมลพิษทางเสียง : เรื่องนี้คุณช่วยได้ 
  • รู้จักความพอดีและมีกาลเทศะ เช่น ไม่พูดโทรศัพท์หรือส่งเสียงดังรบกวนความสงบของผู้อื่นทั้งในบ้านและที่สาธารณะ
  • หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีเสียงดัง หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรออกจากสถานที่แห่งนั้นให้เร็วที่สุด
  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงดัง ทุกครั้งที่ต้องอยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดัง
  • ไม่ฟังเพลงหรือเปิดโทรทัศน์ดังเกินไป
  • ใช้หูฟังแบบครอบหูแทนหูฟังแบบเสียบในหู
  • ตรวจความสามารถการได้ยินเป็นประจำทุกปี
  • สังเกตเสียงต่างๆ รอบตัว หากไม่สามารถพูดคุยด้วยระดับเสียงปกติในระยะห่าง 1 ช่วงแขนแสดงว่าเสียงที่นั้นดังเกินไป
  • ช่วยกันดูแลสถานที่ทำงานและสถานที่สาธารณะ ให้ควบคุมเสียงไม่ให้ดังเกินไป
  • ร้องเรียนเหตุเสียงดัง โทร.1555 (กรุงเทพมหานคร) หรือกรมควบคุมมลพิษ โทร.1650
  ตัวอย่างอุปกรณ์ป้องกันเสียง : การใช้ปลั๊กอุดหู
ใช้สอดเข้าไปในช่องหู โดยใช้มือด้านตรงข้ามกับหูที่จะใส่ อ้อมผ่านหลังศีรษะดึงใบหูขึ้นไปด้านหลัง อีกมือจับปลั๊กอุดหู สอดเข้าช่องหูจนกระชับ ลึกพอสมควร ระยะแรกอาจรู้สึกรำคาญ จึงค่อยๆ เพิ่มเวลาการใส่ ครั้งแรกใส่นาน 10-30 นาทีแล้วค่อย เพิ่มมากขึ้นตามตาราง หลัง 5 วันยังรู้สึกไม่สบาย ให้เปลี่ยนแบบใหม่

วันที่
ระยะเวลาในการใส่ปลั๊กอุดหู
ช่วงเช้า
ช่วงบ่าย
1
30 นาที
1 ชั่วโมง
2
1 ชั่วโมง
1 ชั่วโมง
3
2 ชั่วโมง
2 ชั่วโมง
4
3 ชั่วโมง
3 ชั่วโมง
5
4 ชั่วโมง
4 ชั่วโมง

คำถามหลังศึกษา  ปัจจุบนนี้ปัจจัยอะไรบ้าที่ทำให้เกิดเกี่ยวกับ "หู"
เสียงดัง : อันตรายที่มองไม่เห็น
เสียงดัง : อันตรายที่มองไม่เห็น
เสียงดัง : อันตรายที่มองไม่เห็น


ที่มาข้อมูล : กองอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
https://www.school.net.th
https://variety.teenee.c แหล่งที่มา https://www.myfirsbrain.com
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1917

อัพเดทล่าสุด