รู้ไหมเกลือเสริมไอโอดีนมาจากไหน รู้ไหมว่าการรับประทานเกลือเสริมไอโอดีนที่ได้มาตรฐาน จะสามารถป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนได้
เกลือเสริมไอโอดีน |
|
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน | |
คำถามก่อนเรียน 1. รู้ไหมว่าเกลือในธรรมชาติมีไอโอดีนน้อยมาก ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย 2. เกลือที่บริโภคประกอบด้วยแร่ธาตุอะไรบ้าง 3. เกลือเสริมไอโอดีนมาจากไหน 4. รู้ไหมว่าการรับประทานเกลือเสริมไอโอดีนที่ได้มาตรฐาน จะสามารถป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนได้ 5. เกลือเสริมไอโอดีนที่ได้มาตรฐาน ควรมีไอโอดีนเท่าไหร่ 6. เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเกลือเสริมไอโอดีนได้มาตรฐานหรือไม่ |
ขั้นกิจกรรมการเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้แลสืบค้น
แหล่งข้อมูล:E-Media microsoft : https://www.obec /iodine and Intelligence
มาทำความรู้จักกับเกลือที่เราบริโภคกันเถอะ
เกลือมาจากไหน |
แหล่งกำเนิดของเกลือคือทะเล ทะเลสาบน้ำเค็ม บ่อน้ำเกลือ ดินและใต้ดิน เกลือที่ผลิตได้ใช้ชื่อตามแหล่งกำเนิดของเกลือ |
เกลือทะเลหรือเกลือสมุทร |
เกลือสินเธาว์
รู้มั๊ยว่าเกลือทะเลมีปริมาณไอโอดีนน้อยมากไม่แตกต่างกับเกลือสินเธาว์เลย |
จากการสำรวจปริมาณไอโอดีนในเกลือบริโภคจากแหล่งต่าง ๆ พบว่า ทั้งเกลือทะเลและเกลือสินเธาว์มีปริมาณไอโอดีนไม่แตกต่างกัน คือมีน้อยมากอยู่ในช่วง 2 - 5 ไมโครกรัมต่อเกลือ 1 กิโลกรัมเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ที่ต้องการไอโอดีนเฉลี่ยวันละ 150 ไมโครกรัม |
ปริมาณไอโอดีนในเกลือบริโภคจากแหล่งต่าง ๆ |
(Wannaratana L. Natural Salt in Thailand. Nutition Divition, Department of Health, Ministry of Public Health. March 1994.) |
ชนิด/แหล่งผลิต | ชนิดของเกลือ | ปริมาณไอโอดีน (mg/kg) | |
เกลือเม็ด | เกลือป่น | ||
เกลือทะเล | |||
สมุทรสงคราม | / | 0.44 | |
สมุทรสงคราม | / | 0.36 | |
สมุทรสาคร | / | 0.37 | |
สมุทรสาคร | / | 0.25 | |
เพชรบุรี | / | 0.32 | |
เกลือสินเธาว์ | |||
เลย | / | 0.44 | |
กาฬสินธ์ | / | 0.24 | |
มหาสารคาม | / | 0.35 | |
อุดรธานี | / | 0.34 | |
หนองคาย | / | 0.27 | |
ขอนแก่น | / | 0.28 |
เกลือที่บริโภคประกอบด้วยแร่ธาตุอะไรบ้าง |
กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ออกประกาศกระทรวง ฉบับที่ 153 เมื่อ พ.ศ. 2537 เรื่องเกลือบริโภค เป็นอาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน โดยจะต้องมีปริมาณไอโอดีนไม่น้อยกว่า 30 ppm (30 มิลลิกรัมต่อเกลือบริโภค 1 กิโลกรัม นอกจากนี้เกลือบริโภค อาจมีแร่ธาตุอื่น ๆ ปนได้ ดังนี้ |
น้ำหนักแห้ง (%) | ||||
เกลือบริสุทธิ์ | เกลือแกง | เกลือเม็ด | เกลือสำหรับปรุงอาหาร | |
(Refined salt) | (Table salt) | (Tablet salt) | (Cooking salt) | |
วัตถุที่ไม่ละลายน้ำ ต้องไม่เกิน | 0.03 | 0.20 | 0.10 | 0.20 |
คลอไรด์(Cl) เช่น โซเดียมคลอไรด์ ต้องไม่ต่ำกว่า | 99.60 | 97.00 | 98.00 | 97.00 |
อัลคาไลน์ เช่น โซเดียมคาร์บอเนต ต้องไม่เกิน | 0.10 | 0.20 | 0.20 | - |
แคลเซียม (Ca) ต้องไม่เกิน | 0.01 | 0.10 | 0.10 | - |
แมกนีเซียม (Mg) ต้องไม่เกิน | 0.01 | 0.1 | 0.1 | - |
ซัลเฟต (SO4) ต้องไม่เกิน | 0.30 | 0.50 | 0.50 | - |
เหล็ก (Fe) ต้องไม่เกิน | 10.00 | 50.00 | 50.00 | - |
ตะกั่ว (Pb) ต้องไม่เกิน | 2.00 | 2.00 | 2.00 | - |
อาเซนิก (As) ต้องไม่เกิน | 1.00 | 1.00 | 1.00 | - |
คอปเปอร์ (Cu) ต้องไม่เกิน | 2.00 | - | - | - |
(Wannaratana L. Natural Salt in Thailand. Nutition Divition, Department of Health, Ministry of Public Health. March 1994.) |
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1931