ติวเข้มชีววิทยาเตรียมสอบ O-netเรื่องการศึกษาชีววิทยา


752 ผู้ชม


ชีววิทยาตรงกับภาษาอังกฤษว่า biology ซึ่งมาจากรากศัพท์เดิมที่เป็นภาษากรีก 2 คำ คือ bios หมายถึง ชีวิต และ logos หมายถึง ความคิดและเหตุผล ดังนั้นวิชาชีววิทยาจึงหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตอย่างมีเหตุผล วิชาชีววิทยาเป็นการศึกษาวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสิ่   

เกริ่นนำเข้าสู่เนื้อหา เนื่องจากใกล้จะถึงเวลาของการสอบระดับชาติของนักเรียนระดับชั้นสุดท้ายของ
แต่ละช่วงชั้น โดยเฉพาะช่วงชั้นที่ 4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) นั่นคือการสอบ O-net ที่มีความหมายสำหรับโรงเรียนเพราะเป็นการประเมินคุณภาพของสถานศึกษา สำหรับนักเรียน มีความหมายถึงอนาคต ด้วยการนำคะแนนไปประกอบการสมัครเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยในคณะที่มีความต้องการ ด้วยความเป็นห่วงของครู จึงจัดทำเนื้อหาในวิชาชีววิทยาให้นักเรียนที่ไม่ชอบเรียนในห้องเรียนได้มีโอกาสทบทวนเนื้อหาด้ยตนเองให้เข้าใจได้ง่ายในระยะเวลาที่สั้นๆได้
เรื่องที่ใช้เรียนในระดับม.4 เราจะศึกษาชีววิทยาในเรื่องอะไรบ้าง 
กิจกรรม   ให้นักเรียนศึกษาศัพท์เทคนิคพร้อมกับดูความหมายของศัพท์ประกอบจะทำให้นักเรียนเข้าใจและมีความจำได้ง่ายลดการท่องจำ (เพราะการเรียนรู้แบบนี้นักเรียนที่เชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน)

เนื้อหาสาระสำคัญ
ชีววิทยาตรงกับภาษาอังกฤษว่า biology ซึ่งมาจากรากศัพท์เดิมที่เป็นภาษากรีก 2 คำ คือ bios หมายถึง ชีวิต และ logos หมายถึง ความคิดและเหตุผล ดังนั้นวิชาชีววิทยาจึงหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตอย่างมีเหตุผล วิชาชีววิทยาเป็นการศึกษาวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตแต่เดิมแบ่งออกง่ายๆ เป็น 2 พวก คือ เฟานา (Fauna) ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า เฟานัส (Faunus) ได้แก่ พวกสัตว์ และ ฟลอรา (Flora) มาจากภาษากรีกว่า ฟลอส (Flos) หมายถึง ดอกไม้ แต่ในปัจจุบันยังมีพวกโปรติสตา (Protista) หมายถึง สิ่งมีชีวิตง่ายๆ (The very first) เช่น พวกโปรตัวซัว (protozoa) รา (fungi) และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกมากมาย วิชาชีววิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Biological Science) ที่ประกอบด้วยสาขาวิชาต่างๆ มากมาย ตัวอย่างเช่น


Acarology 
ศึกษาเกี่ยวกับเห็บ (Tick) และ ไร (Mite)

Anatomy 
(กายวิภาคศาสตร์) ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างส่วนต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต

Biochemistry (ชีวเคมี) ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างและกระบวนการเปลี่ยนแปลงของสารชีวโมเลกุลในสิ่งมีชีวิต

Botany 
(พฤกษศาสตร์) ศึกษาเกี่ยวกับพืช

Cytology 
ศึกษาเกี่ยวกับเซลล์

Ecology 
(นิเวศวิทยา) ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกัน และระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

Entomology 
(กีฏวิทยา) ศึกษาเกี่ยวกับแมลง

Embryology 
(คัพภวิทยา) ศึกษาเกี่ยวกับตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิต

Evolution 
(วิวัฒนาการ) ศึกษาเกี่ยวกับการเจริญเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตจากอดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งแนวความคิดของคนเกี่ยวกับวิวัฒนาการ

Genetics 
(พันธุศาสตร์) ศึกษาเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต

Histology 
(เนื้อเยื่อวิทยา) ศึกษาเกี่ยวกับเนื้อเยื่อ (Tissue) ทั้งด้านโครงสร้างและการจัดระเบียบของเนื้อเยื่อ

Helminthology 
ศึกษาเกี่ยวกับหนอนและพยาธิต่างๆ

Ichthyology 
(มีนวิทยา) ศึกษาเกี่ยวกับปลา

Malacology 
(สัขวิทยา) ศึกษาเกี่ยวกับหอย

Mammalogy 
ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

Microbiology 
(จุลชีววิทยา) ศึกษาเกี่ยวกับจุลินทรีย์

Morphology 
(สัณฐานวิทยา) ศึกษาเกี่ยวกับรูปร่างโครงสร้างทั่วๆ ไปของสิ่งมีชีวิต

Nutrition 
(โภชนาการ) ศึกษาเกี่ยวกับสารอาหาร และความสำคัญของสารอาหารต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต

Ornithology 
(ปักษีวิทยา) ศึกษาเกี่ยวกับนก

Paleontology 
(บรรพชีวินวิทยา) ศึกษาเกี่ยวกับซากโบราณ

Parasitology 
(ปรสิตวิทยา) ศึกษาเกี่ยวกับปรสิต และปรสิตของสิ่งมีชีวิต

Taxonomy 
(อนุกรมวิธาน) ศึกษาเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต

Zoology 
(สัตววิทยา) ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ต่างๆ ทั้งพวกมีกระดูกสันหลัง และไม่มีกระดูกสันหลัง

ปัจจุบัน วิชาชีววิทยาพื้นฐาน โดยเฉพาะชีววิทยาระดับโมเลกุลได้พัฒนาและก้าวหน้าไปอย่างมากในด้านเทคโนโลยีชีวภาพ (biotechnology)
เทคโนโลยีชีวภาพ หมายถึง การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตเพื่อประโยชน์เฉพาะอย่าง เช่น การผลิตสารชีวภาพ หรือเซลล์ที่มีประสิทธิภาพสูงตามที่มนุษย์ต้องการ โดยกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม (
genetic engineering) คือ การตัดต่อยีนและเปลี่ยนแปลงยีนในเซลล์ โดยเฉพาะเซลล์ของจุลินทรีย์ ให้มีศักยภาพสูงในการนำมาใช้ประโยชน์ได้ตรงตามความต้องการ ในปริมาณมากและรวดเร็วกว่าที่ดำเนินอยู่ตามธรรมชาติ
เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุวิศวกรรม จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลกับมนุษย์ เช่น การผลิต
อินซูลิน ผลิตกรดอะมิโน การเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อพืชเพื่อศึกษาหาพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ใหม่ ที่ให้ผลผลิตที่สูง มีความทนทานต่อสภาวะแวดล้อมบางประการ และต้านทานโรคได้ การศึกษาหาสายพันธุ์จุลินทรีย์เพื่อใช้กำจัดโลหะหนักในน้ำทิ้ง และเพื่อการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม การใช้จุลินทรีย์เพื่อการผลิตก๊าซชีวภาพทดแทนพลังงานธรรมชาติ เป็นต้น

ขั้นสรุป  ประเด็นปัญหา  ถ้านักเรียนศึกษาที่ภาพนักเรียนจะสามารถบอกได้ไหมว่าเป็นการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องอะไร
(ให้นักเรียนทดลองตอบเป็นความหมายของศัพท์ไม่ต้องเขียนเป็นศัพท์นะคะจะทำให้นักเรียนทบทวนความจำและความเข้าใจ)

สรุปชีววิทยา ม.ปลาย โดย นิพนธ์ ศรีนฤมล แหล่งข้อมูล https://www.myfirstbrain.com

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1933

อัพเดทล่าสุด