Social Behavior (พฤติกรรมทางสังคมของสิ่งมีชีวิต)ชีว.O-net


3,403 ผู้ชม


สัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นหมวดหมู่เป็นสังคมที่มีความจำเป็นที่จะต้องสื่อสาร ติดต่อกันเพื่อที่จะทำให้สัตว์สามารถอยู่ร่วมกันได้ เมื่อใดก็ตามที่พฤติกรรมของสัตว์ตัวหนึ่งทำให้พฤติกรรมของสัตว์อีกตัวหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นเพื่อนร่วมสปีชีส์หรือต่างสปีชีส์เปลี่ยนไปได้   

ขั้นนำ  1.ทบทวนความรู้เดิม พฤติกรรมคือ การแสดงปฏิกิริยาตอบสนองสิ่งเร้าที่มากระตุ้นโดยใชระบบประสาท
กลไกการเกิดพฤติกรรม ประกอบด้วย 
สิ่งเร้ากระตุ้น(Receptor)---  ระบบประสาท --- การตอบสนองของEffector  (หน่วยปฏิบัติงาน)--Behavior
             2. ประเด็นคำถาม  พฤติกรรมมีประโยชน์ต่อส่งมีชีวิตในการดำรงชีวิตอย่างไร?
ขั้นสอน(กิจกรรมการสอน) คำสั่งให้นักเรียนสืบค้นหาความรู้ต่อไปนี้เพื่อตอบคำถาม

พฤติกรรมทางสังคม (social behavior)
 สัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นหมวดหมู่เป็นสังคมที่มีความจำเป็นที่จะต้องสื่อสาร ติดต่อกันเพื่อที่จะทำให้สัตว์สามารถอยู่ร่วมกันได้ เมื่อใดก็ตามที่พฤติกรรมของสัตว์ตัวหนึ่งทำให้พฤติกรรมของสัตว์อีกตัวหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นเพื่อนร่วมสปีชีส์หรือต่าง
สปีชีส์เปลี่ยนไปได้ ก็กล่าวได้ว่าเกิดการสื่อสารขึ้น ดังนั้น การสื่อสารจึงมีองค์ประกอบที่สำคัญคือผู้ส่งสัญญาณและผู้รับสัญญาณ การสื่อสารกระทำได้หลายรูปแบบ ซึ่งเหมาะสมกับสถานการณ์และชนิดของผู้ส่งสัญญาณและผู้รับสัญญาณ เราอาจจำแนกพฤติกรรมทางสังคมที่ใช้ในการสื่อสารได้ดังนี้
ก. การสื่อสารด้วยท่าทาง
ท่าทางที่แสดงออกมา อาจเป็นมาแต่กำเนิดหรือเกิดจากการเรียนรู้ โดยการแสดงออกทางท่าทางหรือทางสีหน้า เราคงจะพอนึกออกได้ว่า สัตว์เลี้ยงในบ้าน เช่น สุนัขหรือแมวแสดงท่าทางและลักษณะอย่างไร เมื่อเวลาโกรธ ตกใจ หรือประจบ หรือแม้แต่นักเรียนเองก็สามารถสังเกตอารมณ์และความรู้สึกของเพื่อนๆ ได้จากทางสีหน้าหรือท่าทาง
การสื่อสารด้วยท่าทาง มีประโยชน์ต่อสัตว์ในด้านอื่นๆ หลายประการ เช่น ใช้เป็นสื่อในการเกี้ยวพาราสี และ
การผสมพันธุ์ แบบแผนของพฤติกรรมของสัตว์บางชนิดประกอบด้วยท่าทางหลายขั้นตอนที่สัมพันธ์กันและเป็นแบบเฉพาะ
ในผึ้งงานเมื่อออกไปหาอาหารแล้วกลับมารัง สามารถบอกให้ผึ้งตัวอื่นๆ ทราบถึงแหล่งอาหารได้ด้วย การเต้น ซึ่งมี 2 แบบด้วยกัน คือ แบบเลขแปด แสดงว่าแหล่งอาหารอยู่ไกล แต่ถ้าแหล่งอาหารอยู่ใกล้จะเต้นแบบวงกลมดังภาพ

แหล่งภาพ https://www.manager.comการสื่อสารด้วยท่าทางของผึ้ง


ข. การสื่อสารด้วยเสียง

https://www.manager.com
Social Behavior (พฤติกรรมทางสังคมของสิ่งมีชีวิต)ชีว.O-net
การทดลองดูพฤติกรรมของแม่ไก่เมื่อ
สัตว์หลายชนิดใช้เสียงเป็นสื่อในการติดต่อระหว่างกัน นิโก ทินเบอร์เกน (Niko Tinbergen) ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับพฤติกรรมการสื่อสารด้วยเสียงของสัตว์
การทดลองดังภาพ แม่ไก่จะไม่แสดงพฤติกรรมใดๆ ต่อลูกไก่ที่อยู่ในครอบแก้ว เนื่องจากไม่ได้ยินเสียงร้องของลูกไก่ถึงแม้จะเห็นลูกไก่ก็ตาม ส่วนภาพต่อมาเสียงร้องของลูกไก่ก่อให้เกิดปฏิกิริยากับแม่ไก่ คือพยายามจะไปตามเสียงของลูก ถึงแม้จะไม่เห็นตัวลูกไก่ก็ตาม
จากตัวอย่างดังกล่าว จะเห็นได้ว่า เสียงใช้เป็นสื่อระหว่างสิ่งมีชีวิตและก่อให้เกิดปฏิกิริยาตามชนิดของเสียงนั้น ในธรรมชาติสัตว์มักจะส่งเสียงเมื่อภัยมา เสียงนั้นเป็นการช่วยเตือนภัยให้กับตัวอื่นด้วย เช่น นกร้องเมื่อภัยมาแล้วบินหนี นอกจากนี้สัตว์หลายชนิดยังใช้เสียงเป็นสื่อในการเรียกคู่มาผสมพันธุ์ เช่น เสียงที่เกิดจากการขยับปีกของยุงตัวเมีย ซึ่งนอกจากเรียกยุงตัวผู้แล้ว ยังบ่งบอกถึงสปีชีส์ของยุงได้ด้วย เสียงร้องของนกตัวผู้ที่เรียกร้องความสนใจจากนกตัวเมียแล้วยังเป็นสิ่งเร้าให้เกิดพฤติกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการสืบพพันธุ์ด้วย เช่น ได้มีผู้ทำการทดลองจับกบตัวเมียชนิดหนึ่งมาจำนวนหนึ่ง ปล่อยไว้ในห้องทดลอง แล้วเปิดเทปเสียงของกบตัวผู้ชนิดเดียวกัน ปรากฏว่า กบตัวเมียเข้ามาหาต้นเสียงนั้น และกบตัวเมียหลายตัววางไข่ได้
นอกจากนี้สัตว์ยังใช้เสียงเป็นสื่อแสดงความโกรธ ความกลัว การขู่ การบอกความเป็นเจ้าของสถานที่ สัตว์บางชนิดสามารถกำหนดสถานที่ของแหล่งอาหารโดยรับเสียงสะท้อนกลับ เช่น ค้างคาว เป็นต้น
ค. การสื่อสารด้วยการสัมผัส

การสัมผัสก็นับเป็นสื่อที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งของสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม แสดงพฤติกรรมของลูกลิงที่มีต่อหุ่นที่ใช้แทนแม่ลิง นักพฤติกรรมพบว่า การที่แม่และลูกลิงมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทางอารมณ์ของลูกอ่อน

แสดงการที่ลูกนกนางนวลใช้จะงอยปากจิกที่จะงอยปากของแม่


สัตว์บางชนิดใช้การสัมผัสเป็นสื่อบอกถึงความเป็นมิตรหรืออ่อนน้อมด้วย เช่น สุนัขเข้าไปเลียปากให้กับตัวที่เหนือกว่า หรือลิงชิมแพนซีจะยื่นมือให้ลิงตัวที่มีอำนาจเหนือกว่าจับในลักษณะหงายมือให้จับ สัตว์บางชนิดใช้การสัมผัสเพื่อขออาหาร เช่น ลูกนกนางนวลบางชนิดจะใช้จะงอยปากจิกที่จะงอยปากของแม่เพื่อกระตุ้นให้ตัวแม่ไปหาอาหารมาให้
ง. การสื่อสารด้วยสารเคมี 

ในเรื่องของฮอร์โมน เราทราบมาแล้วว่า สัตว์บางชนิดใช้ฟีโรโมนเป็นท่อกลางดึงดูดเพศตรงข้าม เช่น พวกผีเสื้อกลางคืนตัวเมียสามารถปล่อยฟีโรโมนออกจากร่างกายแม้เพียงปริมาณเล็กน้อย แต่ผีเสื้อกลางคือตัวผู้ที่อยู่ห่างไกลหลายกิโลเมตรก็ยังได้กลิ่นและบินมาหาได้ถูก นักชีววิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของแมลง ได้สกัด
ฟีโรโมนจากแมลงตัวเมียเอามาใช้ล่อแมลงตัวผู้หลายชนิดให้มาหาได้ การค้นพบในทำนองนี้นับว่า มีประโยชน์อย่างยิ่งในการควบคุมประชากรของแมลงอย่างที่ให้คุณและให้โทษต่อพืชเศรษฐกิขของมนุษย์
นอกจากนี้สัตว์บางชนิดยังใช้ฟีโรโมนในการเตือนภัย หรือแสดงความเป็นเจ้าของอาณาเขต เช่น กวางบางชนิด เช็ดสารบางชนิดที่สร้างจากต่อมบริเวณใบหน้ากับต้นไม้ตามทาง หรือสุนัขถ่ายปัสสาวะในที่ต่างๆ เพื่อกำหนดอาณาเขต
หากเคยสังเกตมดที่เดินตามกัน จะเห็นว่า มดเดินตามรอบเดินได้อย่างถูกต้อง แม้กระทั่งทางเดินจะคดโค้งไปอย่างไรก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะมดปล่อยฟีโรโมนที่เป็นสารเคมีพวกกรดฟอร์มิกไว้ตามทางที่มีกลิ่นนั้นไปยังแหล่งอาหารได้ แต่ถ้ามดไม่พบอาหารก็จะไม่ปล่อยสารฟีโรโมนออกมาเวลาเดินกลับรัง
จะเห็นได้ว่า สิ่งมีชีวิตต่างๆ มีการแสดงพฤติกรรมทางสังคมในการอยู่ร่วมกัน พฤติกรรมที่แสดงออกมานั้นมักจะเป็นไปในทางที่จะช่วยปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ในหมู่ของตนให้ดีขึ้น เช่น อาจช่วยให้หาอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยป้องกันหรือหลบหลีกศัตรูที่มาทำอันตราย ช่วยให้สืบพันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น

Social Behavior (พฤติกรรมทางสังคมของสิ่งมีชีวิต)ชีว.O-net


ที่มาข้อมูล : https://www.myfirstbrain.com
สรุปชีววิทยา
 ม.ปลาย โดย นิพนธ์ ศรีนฤมล
หนังสือเรียนวิชาชีววิทยา (ว ๔๔๓) หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ.๒๕๓๓ กระทรวงศึกษาธิการ
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1939

อัพเดทล่าสุด