สรุปเตรียมสอบO-netเรื่อง การเจรญเติบโตของคน


981 ผู้ชม


เราทราบมาแล้วว่าไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิจากตัวอสุจิเป็นไซโกตที่ท่อนำไข่ส่วนต้น จากนั้นก็แบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนกลายเป็นเอ็มบริโอพร้อมกับเคลื่อนที่มาตามท่อนำไข่ส่วนต้น จากนั้นก็แบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนกลายเป็นเอ็มบริโอพร้อมกับเคลื่อนที่มาตามท่อนำไข่ เริ่มฝังตัวในผนัง   
1.การเจริญเติบโตของคนในระยะเอ็มบริโอ
เราทราบมาแล้วว่าไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิจากตัวอสุจิเป็นไซโกตที่ท่อนำไข่ส่วนต้น จากนั้นก็แบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนกลายเป็นเอ็มบริโอพร้อมกับเคลื่อนที่มาตามท่อนำไข่ส่วนต้น จากนั้นก็แบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนกลายเป็นเอ็มบริโอพร้อมกับเคลื่อนที่มาตามท่อนำไข่ เริ่มฝังตัวในผนังมดลูกเมื่ออายุได้ประมาณ 7 วัน และฝังตัวติดในผนังมดลูกเมื่ออายุได้ 9 วัน ในช่วงนี้จะมีการสร้างรกซึ่งเกิดจากกลุ่มเซลล์ที่อยู่ชั้นนอกของเอ็มบริโอเจริญร่วมกับเนื้อเยื่อชั้นในของผนังมดลูกในระยะนี้มีการสร้างถุงน้ำคร่ำขึ้นด้วย

แสดงการเจริญเติบโตของเอ็มบริโอระยะแรก และการฝังตัวของเอ็มบริโอคน


เมื่ออายุได้ 2 สัปดาห์ เอ็มบริโอจะมีความยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร มีการเจริญของเนื้อเยื่อแรกเริ่มขึ้น 3 ชั้น และในสัปดาห์ที่ 3 เริ่มปรากฏร่องรอยของระบบและอวัยวะขึ้น ซึ่งได้แก่ระบบประสาท หัวใจมีลักษณะเป็นท่อและเริ่มเต้นเป็นจังหวะ ระยะนี้เอ็มบริโอมีความยาวประมาณ 2.3 มิลลิเมตร หลังจากนั้นเอ็มบริโอจะเริ่มมีอวัยวะต่างๆ เจริญเพิ่มมากขึ้น แขน และขา เริ่มปรากฏชัดเจน เมื่ออายุได้ 4 สัปดาห์อวัยวะต่างๆ จะเจริญเติบโตและมีอวัยวะครบเมื่ออายุได้ 8 สัปดาห์ ซึ่งเป็นระยะสิ้นสุดของการเป็นเอ็มบริโอ และหลังจากระยะนี้จะเรียกว่า ฟีตัส (fetus
 การเจริญเติบโตของคนระยะฟีตัส
เมื่ออายุได้ประมาณ 8-9 สัปดาห์ จะมีนิ้วมือและนิ้วเท้าเจริญเห็นได้ชัดเจน สามารถแยกเพศได้ ในช่วงเดือนที่ 4-6 ฟีตัสจะมีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ มีการเคลื่อนไหวมากขึ้น มีการเจริญของกระดูก มีผม และขน ขนาดของฟีตัสในเดือนที่ 6 จะมีน้ำหนักประมาณ 680 กรัม ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ฟีตัสจะมีขนาดโตมากขึ้นเรื่อยๆ ระยะนี้เป็นระยะที่ระบบประสาทเจริญมาก

การเจริญเติบโตของคน


หลังจากแม่ตั้งครรภ์ได้ประมาณ 280 วัน ซึ่งนับจากวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย ก็ถึงระยะครบกำหนดคลอดออกมา โดยส่วนใหญ่ ส่วนหัวของทารกจะออกมาก่อน หลังคลอดประมาณ 1 นาที ทารกจะเริ่มหายใจและติดตามด้วยเสียงร้อง
ถ้ามีการคลอดหลังจากอยู่ในท้องแม่ได้เพียง 6 เดือน อาจเลี้ยงรอดชีวิตได้แต่ต้องเลี้ยงไว้ในตู้ที่ควบคุมอุณหภูมิให้ใกล้เคียงกับอุณหภูมิร่างกายของแม่ และมีเครื่องช่วยหายใจด้วย

แหล่งภาพhttps://www.myfirstbrain.com
สรุปเตรียมสอบO-netเรื่อง การเจรญเติบโตของคน
ทารกที่คลอดก่อนกำหนดได้รับการเลี้ยงในตู้ควบคุมอุณหภูมิระยะหนึ่ง
สรุปเตรียมสอบO-netเรื่อง การเจรญเติบโตของคน การเจริญเติบโตของคนระยะหลังคลอด
การเจริญเติบโตของคนในระยะหลังคลอดนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นการเพิ่มน้ำหนักตัวและความสูงขอร่างกาย ซึ่งอัตราการเจริญเติบโตของส่วนต่างๆ ของร่างกายจะไม่เท่ากัน นอกจากนี้การเพิ่มขนาดของอวัยวะและเนื่อเยื่อบางส่วนของคน เมื่อเทียบกับขนาดของอวัยวะและเนื้อเยื่อนั้นๆ เมื่อโตเต็มที่แล้ว ก็เห็นได้ชัดว่าแต่ละอวัยวะมีการเจริญเติบโตเร็วช้าต่างกันไป ดังตัวอย่างเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของสมองและศีรษะ เนื้อเยื่อผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวและอวัยวะสืบพันธุ์ของคน
การพัฒนาของสมองมีรายงานจากหลายแห่งซึ่งศึกษาเนื้อเยื่อสมองของสัตว์และเด็ก พบว่า เด็กในครรภ์ซึ่งอยู่ในระยะ 2-3 เดือนก่อนคลอด และระยะหกเดือนหลังคลอด ถ้าขาดสารอาหารที่จำเป็น จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาของสมอง สมองจะพัฒนาช้า มีจำนวนเซลล์ของสมองน้อย เนื่องจากเซลล์แบ่งตัวน้อยลง ซึ่งมีผลต่อสติปัญญาของเด็ก การแก้ไขโดยการเพิ่มอาหารเพื่อแก้ไขการเจริญเติบโตของสมองเด็กเหล่านี้ จะแก้ไขได้เฉพาะในระยะที่สมองยังมีการเจริญเติบโตอยู่ ถ้าแก้ไขหลังจากระยะนี้แล้วจะแก้ไขไม่ได้
สรุปเตรียมสอบO-netเรื่อง การเจรญเติบโตของคน สภาวะบางประการที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

เซลล์ไข่ของคนนั้นมีไข่แดงน้อยมาก ดังนั้นเอ็มบริโอและฟีตัส ต้องได้รับอาหารจากแม่โดยผ่านทางรก ผู้เป็นแม่จึงต้องบริโภคอาหารให้ครบและเพียงพอต่อความต้องการ ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน แร่ธาตุ และวิตามิน โดยเฉพาะอาหารประเภทโปรตีนที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย เป็นสารอาหารที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบริโภค ความต้องการโปรตีนของหญิงตั้งครรภ์จะมีมากกว่าปกติในระยะ 3 เดือนก่อนคลอด ถ้าขาดโปรตีนในช่วง 3 เดือนนี้จะทำให้การเจริญระบบประสาทของทารกผิดปกติ นอกจากนี้อาหารที่มีแร่ธาตุและวิตามินต่างๆ ก็ต้องบริโภคให้มากขึ้นกว่าเดิมด้วย หญิงมีครรภ์ที่มีนิสัยการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง เช่นไม่บริโภคผัก เนื้อสัตว์ หรือมีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับอาหารก็ควรแก้นิสัยและความเชื่อเหล่านั้น มิฉะนั้นแล้วทารกที่เกิดอาจไม่สมบูรณ์หรือระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติได้
หญิงมีครรภ์ควรได้รับพลังงานจากอาหารวันละประมาณ 2,300 กิโลแคลอรี พลังงานที่ได้รับจากอาหารมีผลต่อการเพิ่มน้ำหนักของหญิงมีครรภ์ การเพิ่มน้ำหนักตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงคลอดไม่ควรเกินร้อยละ 25 ของน้ำหนักเดิมก่อนตั้งครรภ์ แต่ถ้ามีน้ำหนักลดลงหรือไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อตั้งครรภ์ได้ 6 เดือน น้ำหนักของทารกจะน้อยกว่าปกติ และมีโอกาสที่จะคลอดก่อนกำหนดได้
สารเคมีบางอย่างที่แม่ได้รับอาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกได้ โดยเฉพาะการเจริญของเอ็มบริโอระยะ 2 เดือนแรก ถ้าเอ็มบริโอได้รับสารพวกเทอราโทเจน (teratogens) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้การเจริญเติบโตของอวัยวะผิดปกติ ตัวอย่างเช่น ยากล่อมประสาทพวกทาลิไมด์ (thalidomide) เป็นต้น การดื่มสุราและการสูบบุหรี่ก็อาจมีผลต่อการเจริญของอวัยวะผิดปกติได้ และอาจก่อให้เกิดการแท้ง

นอกจากสารเคมีต่างๆ เหล่านั้นแล้ว การเจริญเติบโตของเอ็มบริโอและฟีตัสอาจผิดปกติได้ด้วยสาเหตุบางประการ ตัวอย่างเช่น หญิงมีครรภ์ในระยะต้นๆ ถ้าติดเชื้อหัดเยอรมัน จะทำให้การเจริญเติบโตของหัวใจ เลนส์ตา หูส่วนใน และสมองของเอ็มบริโอผิดปกติได้ ในขณะที่เชื้อนี้ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใหญ่หรือเด็ก การได้รับรังสีเอ็กซ์ (X-rays) มากเกินไป ความผิดปกติของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตก็มีผลต่อการเจริญเติบโตที่ผิดปกติได้เช่นกัน
แหล่งข้อมูล;https://www.myfirstbrain.com
ที่มา  : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1948

อัพเดทล่าสุด