การตอบสนองต่อสิ่งเร้า หมายถึง การกระทำต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ช่วยให้สิ่งมีชีวิตดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมนั้น ๆ ได้ตัวอย่างสิ่งเร้า ได้แก่ การสัมผัส แสง เสียง อุณหภูมิ ความชื้น ฯลฯ
ขั้นนำ :ข้อควรคิด :เนื่องจากวิชาชีววิทยาเป็นเรื่องที่เป็นนามธรรมมากดังนั้นในการการเรียนรู้นักเรียนต้องศึกษาพร้อมกับดูของจริงไปด้วยจึงจะจำได้ดีโดยไม่ต้องท่องจำ |
การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช พืชที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นแสง ได้แก่ การเปลี่ยนสีของดอกพุดตาน การหุบใบของต้นไมยราบเมื่อถูกสัมผัส มีพืชอีกหลายชนิดที่มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าในลักษณะต่าง ๆ เช่น ในกลุ่มพืชกินแมลง ได้แก่หม้อข้าวหม้อแกงลิง หยาดน้ำค้าง กาบหอยแครง และสาหร่ายข้าวเหนียว ที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากการสัมผัส โดยมีใบที่พัฒนาเป็นเครื่องมือจับแมลง ใบของหยาดน้ำค้างมีขนขึ้นเต็ม
|
การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสัตว์ ตัวอย่างสัตว์ที่ตอบสนองต่อการสัมผัส ได้แก่ แมว สุนัข กิ้งกือ ตัวอ่อนของแมลงในระยะที่เห็นตัวหนอน สัตว์ที่ตอบสนองต่อแสง เช่น ไส้เดือนดิน แมลงสาบ ค้างคาวจะหนีแสง หรือม่านตาของแมวจะหรี่ลงเมื่อมีแสงจ้า นกถามนะจ๊ะ ! นักเรียนทราบไหมว่าการออกไข่ของนกเป็นการตอบสนองสิ่งเร้าหรือไม่? |
ขั้นสรุป คำถาม มนุษย์จะนำความรู้นี้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร |
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1949