เนบิวล่าหรือกลุ่มรังสีฝุ่นหมอก(Nebula)เป็นกลุ่มฝุ่นหมอกมีหลายประเภทปะปนกับกลุ่มดาวและดาราจักรแต่ละกลุ่มมีขนาดใหญ่มากรูปแบบไม่ซ้ำกันมีความน่าพิศวง
กลุ่มรังสีฝุ่นหมอก (1)
เนื่องจากการสอบ O-Net เป็นการสอบวัดความรู้ทางวิชาการขั้นพื้นฐาน เนบิวล่า หรือ กลุ่มรังสีฝุ่นหมอก (Nebula) เป็น กลุ่มฝุ่นหมอกมีหลายประเภท ปะปนกับกลุ่มดาวและดาราจักร แต่ละกลุ่มมีขนาดใหญ่มาก รูปแบบไม่ซ้ำกันมีความน่าพิศวง กลุ่มฝุ่นหมอกเหล่านี้ คือแหล่งต้นกำเนิดของดวงดาวใหม่ทั้งหลาย
การ รวมตัวของกลุ่มฝุ่นหมอกควันที่แพร่กระจายก๊าซเหล่านี้ คือ มวลสสาร (Matter) หากมีความหนาแน่น มีขนาดใหญ่เพียงพอสามารถเป็นแหล่งการกำเนิดดวงดาวได้ ภายในกลุ่มก๊าซเหล่านี้มักมีดวงดาวเกิดใหม่ ความร้อนสูงมากปลดปล่อยพลังงาน ก๊าซมีส่วนประกอบของ Hydrogen ออกมากระทบกลุ่มก๊าซอวกาศเกิดลักษณะเหมือนแสง เรียกว่า Emission Nebula (เนบิวล่าแบบเรืองแสง) ซึ่งเป็นอะตอม และละอองของไอออน (Ionized) จากรังสี Ultraviolet ของดาว เนื่องจากในจักรวาลอุดมสมบูรณ์ไปด้วย Hydrogen ทั้งหมดผสมรวมใน Nebula โดยสามารถแสดงปฏิกิริยาเป็นสีแดง สีเขียว ด้วยละอองของไอออนที่แพร่กระจาย ด้วยการสะท้อนจาก Oxygen เราจึงเห็นภาพถ่าย Nebula เป็นสีต่างๆ ได้ตามธาตุของกลุ่มฝุ่นหมอกนั้นๆ ถ้าจำนวนรังสี Ultraviolet มีจำนวนมาก บริเวณ Nebula นั้นอาจมีความสว่างไสวมากกว่าดาว บางกลุ่มของดาวความร้อนน้อยกว่ากลุ่มก๊าซอวกาศ ได้รับเพียงผลกระทบสะท้อนแสงจากดาวมองเห็นเป็นแสงสีขาว หรือน้ำเงินอ่อนๆ (Bluish) เรียกว่า Reflection Nebula (เนบิวล่าแบบสะท้อนแสง)
เป็น การเปล่งและปลดปล่อย แสงจากพลังงานที่เผาไหม้แกนกลางของดาวที่ใกล้หมดลง ที่สุดบริเวณเปลือกของดาวฤกษ์นั้นเต็มไปด้วย มวลของก๊าซพลังงานสูงมองเห็นแสงสว่างรอบๆ ลักษณะแสงที่เกิดขึ้นรอบๆนั้น มีรูปแบบปลดปล่อยออกมาแบบวูบวาวเป็นจังหวะทั้งกลุ่ม ขอบเขตใหญ่โตมาก การปลดปล่อยแสงดังกล่าวนั้น พร้อมการระเบิดพุ่งออกมาด้วยลักษณะเศษซากแตกกระจายคล้ายดาวหางพุ่งกระจายตัว ทุกทิศทาง มีควันเป็นทางยาวหลายไมล์ มองเข้าไปส่วนใน เห็นดวงดาวที่มีความร้อนแสงสว่างโชติช่วงอยู่ใจกลาง แสงที่เห็นเป็นชนิด Ultraviolet จากใจกลางที่เป็นก๊าซเกิดจากละอองสนามแม่เหล็กเกิดขึ้นยาวนานต่อเนื่อง ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่เหลืออยู่ นานนับหลายพันหลายหมื่นปี หรือมากกว่านั้น เชื่อว่ากาแล็คซี่ทางช้างเผือกมีมากกว่า 10,000 แห่ง
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1963 |