"วันรักนกเงือก"


834 ผู้ชม


เอ่ยถึง "นกเงือก" (Hornbill) แทบทุกคนจะรู้จักนกเงือกในฐานะเป็นสัญลักษณ์ของ "รักแท้" แต่รักแท้ของนกเงือกที่มอบให้แก่คู่ครองและครอบครัวของมัน ยังเผื่อแผ่มาถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในธรรมชาติด้วย   

14 กุมภาพันธ์ วันวาเลนไทม์ วันแห่งความรักของคน  แต่ปรากฏว่ามีสัตว์เลือดอุ่นชนิดหนึ่งมีวัน
แห่งความรักก่อนเรา 1 วัน

"วันรักนกเงือก"
"วันรักนกเงือก"และพบว่าเป็นวันแห่งความรักแท้  นักเรียนสนใจไหม ว่าเป็นสัตว์เลือดอุ่นชนิดใด เราเรียนในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพมาแล้ว  ลองศึกษาความรักของสัตว์ได้ดังนี้
 
"วันรักนกเงือก"
นกเงือก สัตว์โลกที่รักเดียวใจเดียว (www.durrell.org)

"วันรักนกเงือก"
นกเงือกนกใหญ่ที่แสดงออกถึงรักแท้ (National Geographic)

"วันรักนกเงือก"
"วันรักนกเงือก"
เอ่ยถึง "นกเงือก" (Hornbill) แทบทุกคนจะรู้จักนกเงือกในฐานะเป็นสัญลักษณ์ของ "รักแท้" แต่รักแท้ของนกเงือกที่มอบให้แก่คู่ครองและครอบครัวของมัน ยังเผื่อแผ่มาถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในธรรมชาติด้วย
       
       หลายสิบปีก่อน คนไทยแทบจะไม่รู้จักเรื่องราวของนกเงือกมากนัก แต่มาวันนี้แทบไม่มีใครไม่รู้จัก "ดร.พิไล พูลสวัสดิ์" ผู้บุกเบิกการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับนกเงือกในประเทศไทย และทุ่มเทแรงกายแรงใจทั้งหมด เพื่อปกป้องนกเงือกไม่ให้สูญพันธุ์ไปจากป่า จนได้รับสมญานามว่า "มารดาแห่งนกเงือก"
       
       ปัจจุบันนกเงือกในประเทศไทยมีทั้งหมด 13 สายพันธุ์ จากทั้งหมด 50 กว่าสายพันธุ์ที่มีอยู่ทั่วโลก ส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่ในผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์อย่างมาก โดยเฉพาะผืนป่าตะวันตก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ซึ่งรวมแล้วมีนกเงือกประมาณ 3,000 ตัว นกเงือกจึงเป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของป่าที่สำคัญอีกตัวหนึ่ง
       
       นกเงือกมีบทบาทเด่นในการช่วยกระจายพันธุ์ไม้ในป่า เนื่องจากนกเงือกกินผลไม้สุกเป็นอาหารมากกว่า 300 ชนิด ทั้งผลไม้ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ และด้วยพฤติกรรมของนกเงือกบินหาอาหารไปทั่ว และกินผลไม้เข้าไปทั้งผลแล้วขย้อนเมล็ดออกมา จึงสามารถนำพาเมล็ดพันธุ์พืชไปทิ้งไว้ยังที่ต่างๆ และเจริญขึ้นเป็นต้นกล้าได้ทั่วป่า นกเงือกจึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการแพร่พันธุ์ของพืช ช่วยรักษาความหลากหลายทางชีวภาพในป่า และทำให้เกิดความสมดุลในธรรมชาติ
       
       ด้วยความที่เป็นสัตว์รักเดียวใจเดียว ใช้ชีวิตคู่แบบ "ผัวเดียวเมียเดียว" จนแก่เฒ่าหรือกว่าจะตายจากกัน และตัวผู้ยังมีลักษณะของหัวหน้าครอบครัวที่ดี คอยหาอาหารให้และคอยดูแลปกป้องลูกนกและแม่นกให้ปลอดภัย นกเงือกจึงได้รับการยกย่องให้เป็นสัญลักษณ์ของ "รักแท้"
       
       ทว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมานกเงือกถูกรุกรานโดยมนุษย์ผู้ไม่เห็นคุณค่าของชีวิตและความรักของผู้อื่นหรือสัตว์อื่น ทำให้เผ่าพันธุ์ของนกเงือกต้องตกอยู่ในภาวะอันตรายและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ทั้งจากการถูกล่าโดยตรง และจากการลดจำนวนของผืนป่าและไม้ใหญ่อันเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของครอบครัวนกเงือก
       
       เพื่อให้คนไทยเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์นกเงือกให้คงอยู่คู่กับป่าที่อุดมสมบูรณ์ตลอดไป มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่ง HORNBILL บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จึงได้กำหนดให้วันที่ 13 ก.พ. ของทุกปีเป็น "วันรักนกเงือก" โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา และมีการจัดกิจกรรมเพื่อระดมทุนสำหรับการศึกษาวิจัยและอนุรักษ์นกเงือกในประเทศไทยเป็นประจำทุกปี
       
       สำหรับกิจกรรมวันรักนกเงือกในปีนี้ จะจัดขึ้นในวันที่ 16 ก.พ. 2553 ในชื่องานว่า "วันรักนกเงือก ตอน รักแท้" ณ บริเวณสวนนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ตั้งแต่เวลา 12.00-21.00 น. โดยมีศิลปินและคนดังในวงการบันเทิงมาร่วมมอบความรักให้แก่นกเงือกกันมากมาย
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 มีนาคม 2553
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2042

อัพเดทล่าสุด