เลือดนั้นสำคัญไฉน


789 ผู้ชม


วันนี้เรามาทำความรู้จักกับเลือดหรือโลหิตกันดีกว่า ว่ามีความสำคัญอย่างไรกับชีวิตเรา.....   

เลือดนั้นสำคัญไฉน
ภาพจาก  https://www.student.chula.ac.th


     เลือด หรือ โลหิต  เป็นของเหลว ประกอบด้วยน้ำเลือด เกล็ดเลือด เซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว ร่างกายเรามีเลือดอยู่ประมาณ 5 ลิตรหรือคิดเทียบกับน้ำหนักตัวเท่ากับร้อยละ 7-8 ของน้ำหนักตัว  

     น้ำเลือด หรือ พลาสมา เป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่มีอยู่ร้อยละ 55 ของเลือดทั้งหมดมีสภาวะเป็นเบส ค่าph 7.4 ประกอบด้วย น้ำ 91% สารอื่นๆ เช่น โปรตีน 7% วิตามิน เกลือแร่ เอ็นไซม์ ฮอร์โมน ก๊าซ 2%
     เม็ดเลือด
     -  เม็ดเลือดแดง ถูกสร้างมาจากไขกระดูก ตับ ม้าม 
     -  เม็ดเลือดขาว (มีอายุ 7-14วัน) โตกว่าเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ทำลายเชื้อโรค เม็ดเลือดขาวโดนทำลายโดย เชื้อโรค 80% ไขกระดูก และ ม้าม ร่างกายคนมีเม็ดเลือดขาว 5000-10000เซลล์/เลือด 1ml เม็ดเลือดขาวแบ่งเป็น 2 ชนิด 
     1.ฟาโกไซต์ (phagocyte) มีวิธีการทำลายเชื้อโรคเรียกว่า "ฟาโกไซโตซีส" (Phagocytosis)
      2.ลิมโฟไซต์ (lymphocyte) สร้าง "แอนติบอดี้" (Antibody) เพื่อต่อต้านเชื้อโรค
เกล็ดเลือด
      เกล็ดเลือด ไม่ใช่เชลล์ แต่เป็นชิ้นส่วนของเซลล์ รูปร่างไม่แน่นอน มีขนาดเล็ก ไม่มีนิวเคลียส มีอายุประมาณ3-4 วัน ถูกสร้างมาจากไขกระดูก มีปริมาณประมาณ 150,000-300,000 ชิ้น/เลือด1 cm3 นอกจากนี้เกล็ดเลือดจะหลั่งสารเคมี (ไฟบริน) ช่วยให้เลือดแข็งตัวเมื่อเกิดบาดแผล
หน้าที่ของโลหิต
      โลหิตทำหน้าที่สำคัญหลายอย่างคือ ขนส่งก๊าซออกซิเจนจากการหายใจเข้า และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกายเมื่อหายใจออก มีหน้าที่ขนส่งสารอาหารโดยการดูดซึมสารอาหารจากกระเพาะอาหาร และลำไส้เข้าสู่กระแสโลหิตแล้วไหลเวียนผ่านไปยังตับ และส่งต่อให้เซลล์เนื้อเยื่อของอวัยวะนอกจากนี้โลหิตยังมีหน้าที่รักษาสม ดุลย์ของน้ำ และเกลือแร่ปรับระดับอุณหภูมิในร่างกายให้คงที่โดยการไหลเวียนของโลหิตไป ทั่วร่างกาย
ความหมายของการบริจาคโลหิต
     การบริจาคโลหิต คือการสละโลหิตส่วนหนึ่งที่ร่างกายเหลือใช้เพื่อให้กับผู้ป่วย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เพราะร่างกายคนจะมีปริมาณโลหิตประมาณ 17-18 แก้วน้ำ ซึ่งร่างกายใช้เพียง 15-16 แก้วเท่านั้น ส่วนที่เหลือนั้นสามารถบริจาคให้ผู้อื่นได้ ผู้บริจาคโลหิตสามารถบริจาคโลหิตได้ทุก 3 เดือน เพราะเมื่อบริจาคโลหิตออกไป ไขกระดูกจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดโลหิตขึ้นมาทดแทนให้มีปริมาณโลหิตใน ร่างกายเท่าเดิม ถ้าไม่บริจาค ร่างกายก็จะขับเม็ดโลหิตที่สลายตัวเพราะหมดอายุออกมาในรูปของปัสสาวะ อุจจาระ หรือเหงื่อ อยู่แล้ว การบริจาคโลหิตใช้เวลาประมาณ 15 นาที ท่านจะได้รับการเจาะโลหิตและบรรจุในถุงพลาสติก (Blood Bag) ตั้งแต่ 350-450 มิลลิลิตร (ซี ซี) ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผู้บริจาค
คุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิต ผู้ที่ต้องการบริจาคโลหิตต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
     1. อายุระหว่าง 17-60 ปีบริบูรณ์ 
     2. น้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป สุขภาพทั่วไปสมบูรณ์ดี 
     3. ไม่มีประวัติโรคตับอักเสบ หรือดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง 
     4. ไม่เป็นไข้มาเลเรีย ในระยะ 3 ปี ที่ผ่านมา และไม่เป็นกามโรค โรคติดเชื้อต่าง ๆ ไอเรื้อรัง ไอมีโลหิต โลหิตออกง่ายผิดปกติ โรคเลือด ชนิดต่าง ๆ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคลมชัก โรคผิวหนังเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคไต โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ 
     5. ไม่อยู่ในภาวะน้ำหนักลดมากในระยะสั้น 
     6. ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ หรือสำส่อนทางเพศ ไม่มีประวัติยาเสพติด 
     7. งดการบริจาคโลหิตภายหลังการผ่าตัด คลอดบุตรหรือแท้งบุตร 6 เดือน (ถ้ามีการรับโลหิตต้องงดบริจาคโลหิต 1 ปี) 
     8. สตรีไม่อยู่ระหว่างมีประจำเดือน หรือตั้งครรภ์ 
     9. นอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่ รับประทานอาหารก่อนมาบริจาคโลหิต 
     10. ไม่อยู่ในระหว่างทานยาแก้อักเสบ หรือหลังจากงดยา 2 สัปดาห์แล้ว

เลือดนั้นสำคัญไฉน  รู้หรือไม่ว่าถ้านำเส้นโลหิตทั่วร่างกายมาต่อกัน จะมีความยาวถึง 96,000 กิโลเมตร หรือความยาวเท่ากับ2 เท่าครึ่งของระยะทางรอบโลก โดยเฉลี่ยแล้วปริมาณโลหิตในร่างกาย จะมี 5-6 ลิตรในผู้ชาย และ 4-5 ลิตรในผู้หญิง และโลหิตจะมีการไหลเวียน โดยผ่านมาที่หัวใจถึง 1,000 เที่ยวต่อวัน คนหนุ่มสาวจะมีเซลล์เม็ดเลือดแดงเท่ากับ 35,000,000,000,000 เซลล์ (สามสิบห้าล้านล้านเซลล์) อยู่ภายในร่างกาย ในเวลา 120 วัน เซลล์เม็ดโลหิตแดง จำนวน 1.2 ล้านเซลล์จะถึงกำหนดหมดอายุขัย และถูกขับถ่ายออกมา ในขณะเดียวกันไขกระดูกซึ่งส่วนใหญ่ อยู่ในกระดูกซี่โครง กะโหลกศีรษะ และกระดูกสันหลัง จะช่วยกันผลิตเซลล์ใหม่เท่ากับจำนวนที่ตายไปขึ้นมาแทนที่
ประเด็นคำถาม
-  นักเรียนคิดว่าการบริจาคโลหิตเป็นประจำจะส่งผลต่อร่างกายของนักเรียนอย่างไร
การบูรณาการ
          วิชาสุขศึกษา
          
เลือดนั้นสำคัญไฉน  เนื้อหานี้เหมาะสำหรับนักเรียนตั้งแต่ช่วงชั้นที่  2-4 และผู้ที่สนใจทั่วไป

ที่มา https://th.wikipedia.org  และ  https://www.bknowledge.org
ที่มาของภาพ https://www.student.chula.ac.th

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2051

อัพเดทล่าสุด