ระบบไหลเวียนโลหิตเป็นระบบหนึ่งในร่างกายที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เรามาลองทำความรู้จักกันดีกว่าค่ะ
ระบบไหลเวียนโลหิต เป็นระบบที่นำสารเข้าและออกจากเซลล์ สามารถช่วยในการรักษาระดับอุณหภูมิ ความเป็นกรด-เบส ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาดุลยภาพของร่างกาย ระบบไหลเวียนโลหิตในสิ่งมีชีวิตแบ่งได้เป็น 3 ประเภท เรียงตามลำดับจากเรียบง่ายไปจนถึงซับซ้อนที่สุดดังนี้ ส่วนประกอบสำคัญของระบบไหลเวียนโลหิต: หัวใจ,เลือด,และเส้นเลือด ระบบไหลเวียนโลหิตยังรวมไปถึง pulmonary circulation คือ ระหว่างหัวใจและปอด และ systemic circulation คือระหว่างหัวใจและร่างกาย ซึ่งระบบไหลเวียนโลหิตมี 2 ประเภทคือ
1. ระบบการไหลเวียนแบบเปิด (open circulatory system) พบในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังโดยเฉพาะไฟลัมอาร์โทรโพดา และไฟลัมมอลลัสกา ระบบนี้เลือดจะไม่ได้อยู่ในเส้นเลือดตลอดเวลา แต่จะออกจากเส้นเลือดเข้าสู่ช่องว่างภายในลำตัวที่เรียกว่าฮีโมซีล (hemocoel) อาจมีหัวใจหนึ่งดวงหรือมากกว่า ทิศทางการไหลของเลือดเริ่มจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปตามหลอดเลือดเข้าสู่ฮีโมซีล เนื้อเยื่อและเซลล์จะได้รับอาหารและก๊าซจากเลือดที่อยู่ในช่องว่างนี้ เมื่อหัวใจคลายตัว เลือดส่วนหนึ่งจะไหลจากฮีโมซีลเข้าเส้นเลือดกลับหัวใจ
2. ระบบไหลเวียนโลหิตแบบปิด มีอวัยวะที่สำคัญในระบบ คือ หัวใจ เลือด และหลอดเลือด) พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิด เช่น ไสัเดือนและหมึก เลือดไหลในเส้นเลือดตลอดเวลา ใช้แรงดันมากว่าการไหลเวียนระบบเปิด
ที่มาของภาพ https://blog.spu.ac.th/malee/page87
สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังทุกชนิดมีระบบไหลเวียนแบบนี้ นอกจากนี้ ไส้เดือนดินและหมึกก็ยังมีระบบไหลเวียนโลหิตแบบนี้อีกด้วย ระบบนี้ เลือดจะไม่ไหลออกไปนอกหลอดเลือด ซึ่งประกอบไปก้วยอาเทอรี่ เวนและหลอดเลือดฝอย ระบบไหลเวียนโลหิตในปลาเป็นระบบไหลเวียนที่มีทิศทางเดียว คือหัวใจสูบฉีดเลือดไปที่เส้นเลือดฝอยที่เหงือก หัวใจปลามีสองห้องและการไหลเวียนของเลือดมีทิศทางเดียวสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลานมีระบบนี้เช่นกัน แต่หัวใจของสัตว์สองชนิดนี้ทำงานได้ไม่เต็มที่ โดยที่สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ มีหัวใจ 3 ห้องส่วนนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีการแบ่งอยางชัดเจนระหว่างเลือดแดงกับเลือดดำ โดยแบ่งหัวใจออกเป็น 4 ห้อง หัวใจเต้น 72 ครั้งต่อนาที เลือด มีส่วนเป็นของเหลว 55% มีส่วนเป็นของที่ไม่เหลวอีก45%
ตัวอย่างสัตว์ที่ไม่มีระบบไหลเวียนโลหิต เช่น หนอนตัวแบน ไม่มีช่องว่างภายในลำตัว ตัวมีปากซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของระบบย่อยอาหาร ซึ่งแตกแขนงอย่างมาก ด้วยความแบนของตัว ทำให้อาหารที่ถูกย่อยเรียบร้อยแล้วสามารถแพร่เข้าสู่เซลล์อื่นๆ ได้อย่างทั่วถึงทุกเซลล์ นอกจากนี้ ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส ออกซิเจนสามารถแพร่จากน้ำเข้าสู่เซลล์ได้ และเนื่องจากทุกเซลล์ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม จึงไม่ต้องอาศัยการลำเลียงน้ำและแก๊สออกซิเจน
ประเด็นคำถาม
- ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่มีระบบการไหลเวียนแบบเปิดและปิดมา
การบูรณาการ
วิชาภาษาอังกฤษ (คำศัพท์เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต)
เนื้อหานี้เหมาะสำหรับนักเรียนตั้งแต่ช่วงชั้นที่ 2-4 และผู้ที่สนใจทั่วไป
ที่มาของข้อมูล https://th.wikipedia.org และ https://www.bknowledge.org
ที่มาภาพ https://blog.spu.ac.th/malee/page87
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2052