เสือ" อาจเป็นสิ่งมีชีวิตที่ได้รับความสนใจและถูกกล่าวขานถึงมากที่สุดในปีขาล เพราะจำนวนประชากรเสือที่เหลืออยู่เพียงน้อยนิดจนน่าตกใจและน่าห่วงใยว่าจะสูญพันธุ์ไปในไม่ช้า ทว่าในธรรมชาติยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกหลายเผ่าพันธุ์ที่กำลังถูกคุกคามและเสี่ยงต่อกา
ขั้นนำ คำถามทบทวน ความหลากหลายทางชีวภาพ(Biodiversity )คืออะไร | ||||||||||||||
ขั้นกิจกรรมสืบค้น (Discovery Method) "เสือ" อาจเป็นสิ่งมีชีวิตที่ได้รับความสนใจและถูกกล่าวขานถึงมากที่สุดในปีขาล เพราะจำนวนประชากรเสือที่เหลืออยู่เพียงน้อยนิดจนน่าตกใจและน่าห่วงใยว่าจะสูญพันธุ์ไปในไม่ช้า ทว่าในธรรมชาติยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกหลายเผ่าพันธุ์ที่กำลังถูกคุกคามและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ไม่น้อยไปกว่าสัตว์ป่าผู้ล่าอันดับสูงสุดของปิรามิดอาหาร
"ประเทศไทยเคยมีพื้นที่ป่าประมาณ 70% ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงไม่ถึง 30% สัตว์ป่าที่เคยมีอย่างอุดมสมบูรณ์ ก็ลดจำนวนลงอย่างมาก ที่เป็นเช่นนี้เพราะการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม" ศ.ดร.วิสุทธิ์ เผยถึงสถานการณ์ในประเทศไทยที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ผู้อำนวยการโครงการบีอาร์ทีบอกว่า การพัฒนาประเทศอย่างไม่ยั่งยืนตามแบบทุนนิยมตะวันตก เป็นเหตุให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมระหว่างคนจนกับคนรวย และก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงอันเนื่องมาจากการบุกรุกทำลายป่าและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนัก ทั้งทรัพยากรชีวภาพ ถ่านหิน น้ำมัน และแร่ธาตุ จนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศตามมาอย่างต่อเนื่องและเกิดภัยพิบัติรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ก่อให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ระบบนิเวศเสียสมดุล และเป็นเหตุให้สิ่งมีชีวิตจำนวนมากต้องสูญพันธุ์ไปในช่วงเวลาแค่ไม่กี่สิบปี
"ปัจจุบันมีเสือเหลืออยู่ในประเทศไทยเพียงไม่ถึง 100 ตัว ซึ่งจัดอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างยิ่ง เช่นเดียวกับช้าง พะยูน และโลมา ซึ่งมีจำนวนประชากรลดน้อยลงทุกขณะ ส่วนพืชที่หายากและจัดว่ามีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ก็มีหลายชนิด เช่น กันภัยมหิดล ถั่วแปบช้าง และเฟิร์นข้าหลวงหลังขาว เป็นต้น" ผู้อำนวยโครงการบีอาร์ทีแจกแจง ทั้งนี้ จากรายงาน Living Planet Report 2006 ของดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ (World Wild Fund for Nature: WWF) ที่ทำการสำรวจสถานการณ์ของสิ่งมีชีวิตและความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยในช่วงปี 1970-2003 พบว่า มีชนิดและสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตบนบกสูญพันธุ์ไปแล้วประมาณ 31% สัตว์น้ำจืดที่สูญพันธุ์ไปไม่น้อยกว่า 28% และสัตว์ทะเลที่สูญพันธุ์ไปแล้วกว่า 27% สำหรับในประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้ทำการศึกษา สำรวจสถานภาพและถิ่นที่อยู่อาศัย รวมทั้งจัดทำฐานข้อมูลของชนิดพันธุ์หายาก ใกล้สูญพันธุ์ และชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นในกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2004 โดยครอบคลุมสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และปลา พบว่ามีอยู่ทั้งสิ้น 4,591 ชนิด ในจำนวนนี้สูญพันธุ์ไปแล้ว 6 ชนิด สูญพันธุ์ในธรรมชาติแล้ว 7 ชนิด และอีก 84 ชนิด ในจำนวนกว่า 500 ชนิด ของชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม จัดเป็นชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง
"ผืนป่ามรดกโลก" อนุรักษ์ไว้คล้ายยันต์กันผี แม้ว่าประเทศไทยจะสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพไปแล้วส่วนหนึ่ง แต่ก็ยังมีอีกหลายส่วนที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้ได้เป็นอย่างดี เช่น อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ "ผืนป่ามรดกโลกเป็นแหล่งอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีคุณค่า แต่การได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกก็เหมือนเป็นแค่ยันต์กันผี กันไม่ให้ถูกทำลายลงไปมากกว่านี้ แต่ถ้าหากเราไม่มีมาตรการการอนุรักษ์อย่างจริงจัง ดูแลไม่ทั่วถึงและไม่ดีพอ และปล่อยให้เสื่อมโทรมลง ก็มีสิทธิ์ถูกถอดออกจากการเป็นมรดกโลกได้เหมือนกัน อย่างกรณีที่มีโครงการตัดถนนผ่านอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ - ปางสีดา หากไม่พิจารณาให้รอบคอบถึงผลดีผลเสีย ก็อาจจะทำให้เขาใหญ่พ้นสภาพจากการเป็นมรดกโลกได้" ศ.ดร.วิสุทธิ์ เผย
ศ.ดร.วิสุทธิ์ กล่าวว่า การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาไม่สัมฤทธิ์ผลเท่าที่ควร เนื่องจากเรายังไม่รู้จักความหลากหลายทางชีวภาพดีพอ เราไม่รู้ว่าบ้านเรามีอะไรบ้าง และมีมากน้อยเพียงใด เราจึงไม่รู้ว่าเราสูญเสียอะไรไปบ้างแล้ว ยังมีพืช สัตว์ จุลินทรีย์อยู่อีกจำนวนมากที่เรายังไม่รู้จัก ยังไม่มีการค้นพบ ศ.ดร.วิสุทธิ์ ผู้ก่อตั้งโครงการบีอาร์ทีและพยายามผลักดันการศึกษาวิจัยและพัฒนาบุคลากรด้านความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทยมานานถึง 15 ปี กล่าวอีกว่า เราจึงต้องมีการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพให้มากพอก่อน แล้วจึงกำหนดนโยบายและมาตรการการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมและจริงจัง แต่ที่ผ่านมาการกำหนดนโยบายและมาตรการฯ ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลทางวิชาการ มันจึงทำอะไรไม่ได้มากนักอย่างที่ทุกคนอยากเห็น "การที่ยูเอ็นกำหนดให้ปีนี้เป็นปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ เหมือนบอกให้รู้ว่านี่เป็น "เฮือกสุดท้าย" ที่เราจะรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของโลกไว้ได้" คำบอกกล่าวของ ศ.ดร.วิสุทธิ์ ที่ดูไม่ผิดแผกไปจากที่ ศ.บ็อบ วัตสัน (Prof. Bob Watson) อดีตประธานคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ ไอพีซีซี (IPCC) เคยกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่าเราอยู่ในสถานการณ์อันตรายที่เข้าใกล้ "จุดพลิกผันที่มิอาจหวนคืน" (point of no return) มากเข้าไปทุกที
ขั้นสรุปผลการสืบค้น มนุษย์" คือต้นเหตุแห่งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ | ||||||||||||||
|