"แบคทีเรีย" บนฝ่ามือช่วยจับคนร้ายที่ไม่ทิ้งร่องรอยลายนิ้วมือ


785 ผู้ชม


ฝ่ามือของแต่ละคนมีเชื้อแบคทีเรียสะสมอยู่มากมายกว่า 100 สปีชีส์ และไม่เหมือนกันในแต่ละคน นักวิจัยจึงพัฒนาเทคนิคตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอของแบคทีเรียที่ติดอยู่บนวัตถุพยานเปรียบเทียบกับแบคทีเรียบนฝ่ามือของเหยื่อยหรือผู้ต้องสงสัยในคดีอาชญากรรม   

"แบคทีเรีย" บนฝ่ามือช่วยจับคนร้ายที่ไม่ทิ้งร่องรอยลายนิ้วมือประเด็นปัญหา    รอยพิมพ์ลายนิ้วมือ (Printing finger) คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร มึความสำคัญหรือไม่

"แบคทีเรีย" บนฝ่ามือช่วยจับคนร้ายที่ไม่ทิ้งร่องรอยลายนิ้วมือ
ฝ่ามือของแต่ละคนมีเชื้อแบคทีเรียสะสมอยู่มากมายกว่า 100 สปีชีส์ และไม่เหมือนกันในแต่ละคน นักวิจัยจึงพัฒนาเทคนิคตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอของแบคทีเรียที่ติดอยู่บนวัตถุพยานเปรียบเทียบกับแบคทีเรียบนฝ่ามือของเหยื่อหรือผู้ต้องสงสัยในคดีอาชญากรรม (ภาพประกอบจาก www.nydailynews.com)
"แบคทีเรีย" บนฝ่ามือช่วยจับคนร้ายที่ไม่ทิ้งร่องรอยลายนิ้วมือ

       ประเด็นข่าว   จากภาพเป็นวิธีการตรวจหารายนิ้วมือโดยใช้แบคทีเรียจากฝ่ามือของผู้สงสัยว่าจะเป็นผู้ร้ายในคดีอาชญากรรม
กิจกรรมบูรณาการ  การเรียนรู้แบบConstuctivism
     1. ครูให้นักเรียนศึกษาภาพ แล้วจับประเด็นกับคำว่า ดีเอ็นเอ  พัฒนาเทคนิคตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอ  
      2.  ให้นักเรียนหรือผู้ศึกษา ทบทวนความรู้เรื่อง  ดีเอ็นเอ  และเทคโนโลยีทางชีวภาพ(การตัดต่อ DNA)  
      3.   ให้นักเรียนหรือผู้ศึกษา ศึกษาข่าวต่อไปนี้

            สหรัฐฯ พัฒนาเทคนิคใหม่ ตรวจหาดีเอ็นเอของเชื้อแบคทีเรียที่พบบนวัตถุพยาน เทียบกับดีเอ็นเอของแบคทีเรียบนฝ่ามือผู้ต้องสงสัย อาจช่วยให้จับคนร้ายได้ไม่พลาดแม้ปราศจากร่องรอยลายนิ้วมือในสถานที่เกิดเหตุ
       โนอาห์ เฟียเรอร์ (Noah Fierer) นักวิจัย มหาวิทยาลัยโคโลราโด (University of Colorado) ในเมืองโบลเดอร์ มลรัฐโคโลราโด สหรัฐฯ และทีมวิจัย พัฒนาเทคนิคใหม่ในทางนิติวิทยาศาสตร์ ที่ใช้หลักการวิเคราะห์ดีเอ็นเอของแบคทีเรียบนวัตถุพยาน เปรียบเทียบกับดีเอ็นเอบนฝ่ามือ ที่มีความจำเพาะสูงในแต่ละคน เพื่อแก้ปัญหากรณีไร้รอยนิ้วมือของผู้ต้องสงสัยในสถานที่เกิดเหตุ
       เอเอฟพีรายงานว่า ทีมวิจัยทดลองใช้ก้านสำลีป้ายที่คีย์บอร์ดของเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะจำนวน 3 เครื่อง เพื่อเก็บตัวอย่างเชื้อจุลินทรีย์ที่ติดอยู่บนคีย์บอร์ดไปสกัดดีเอ็นเอ แล้วนำมาเปรียบเทียบกับดีเอ็นเอที่สกัดได้จากแบคทีเรียบริเวณปลายนิ้วของบุคคล 3 คน ที่ใช้คอมพิวเตอร์เหล่านั้น รวมทั้งเก็บตัวอย่างแบคทีเรียจากคีย์บอร์ดของคอมพิวเตอร์ส่วนตัวและคอมพิวเตอร์สาธารณะอีกจำนวนหนึ่งที่กลุ่มบุคคลตัวอย่างข้างต้นไม่เคยสัมผัสมาก่อนเลย เพื่อนำมาเปรียบเทียบกันด้วย
       ผลปรากฏว่า แบคทีเรียที่อยู่บนนิ้วมือของแต่ละคน มีความจำเพาะต่อคนคนนั้นและใกล้เคียงกับแบคทีเรียที่อยู่บนคีย์บอร์ด ที่เขาใช้มากกว่าแบคทีเรียที่พบบนคีย์บอร์ดของคอมพิวเตอร์ที่พวกเขาไม่เคยสัมผัสมาก่อน
       นอกจากนี้ นักวิจัยยังได้ทำการสกัดดีเอ็นเอจากตัวอย่างเชื้อแบคทีเรียจากเมาส์ของคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกันของกลุ่มบุคคลตัวอย่างข้างต้น ซึ่งเมาส์เหล่านี้ที่ได้ถูกสัมผัสมาแล้วเป็นเวลาอย่างน้อย 12 ชั่วโมง
       เมื่อเปรียบเทียบกับดีเอ็นเอของตัวอย่างเชื้อแบคทีเรียที่ได้จากฝ่ามือของพวกเขา พบว่าแบคทีเรียที่พบบนเมาส์ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเหมือนกับแบคทีเรียที่พบบนมือของเจ้าของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นมากกว่าแบคทีเรียที่พบบนมือของผู้อื่นจำนวน 270 คน ที่ได้มีการเก็บตัวอย่างแบคทีเรียบนฝ่ามือและจัดทำเป็นฐานข้อมูลไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว
       "บนผิวหนังของคุณอุดมสมบูรณ์ได้ด้วยเชื้อแบคทีเรีย บนฝ่ามือของคนเราเป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรียประมาณ 100 สปีชีส์ และมีเพียงประมาณ 13% เท่านั้นที่เชื้อแบคทีเรียบนฝ่ามือของคนสองคนจะเหมือนกัน" เฟียเรอร์ กล่าวในลอสแอนเจลิสไทม์ส ซึ่งเทคนิคการเปรียบเทียบดีเอ็นเอของแบคทีเรียที่พบบนคีย์บอร์ดและเมาส์คอมพิวเตอร์กับดีเอ็นเอของแบคทีเรียบนฝ่ามือเจ้าของคอมพิวเตอร์นั้นมีความแม่นยำประมาณ 70-90% และจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันว่าวิธีนี้ให้ผลที่ถูกต้องแม่นยำจริงและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นหากจะนำไปใช้ในทางปฏิบัติ
       "พวกเราแต่ละคนต่างก็ทิ้งร่องรอยเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ซ้ำกันไว้เบื้องหลังในขณะที่เราเดินทางผ่านช่วงเวลาการทำกิจวัตรในแต่ละวัน ฉะนั้นเชื้อแบคทีเรียจึงถือเป็นสิ่งใหม่ที่มีความสำคัญในกล่องเครื่องมือของนักนิติวิทยาศาสตร์ด้วยเช่นกัน" เฟียเรอร์ ศาสตราจารย์ภาควิชาชีววิวัฒนาการและนิเวศวิทยา กล่าว ซึ่งงานวิจัยของเขาเรื่องนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสมาคมวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ (
Proceedings of the National Academy of Sciences: PNAS)
       นักวิจัยระบุเพิ่มเติมว่า แบคทีเรียบนฝ่ามือเรานั้นมีเยอะแยะมากมาย ซึ่งสามารถติดไปกับวัตถุสิ่งของที่ถูกสัมผัสได้โดยง่ายและติดอยู่ทนนานอย่างมาก โดยพบว่าที่อุณหภูมิห้อง ประชากรของแบคทีเรียยังคงมีอยู่เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แม้จะผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ และหลังจากเราล้างมือเพียงไม่กี่ชั่วโมง แบคทีเรียก็กลับมาสะสมบนฝ่ามือมากเหมือนเดิม
       สำหรับรอยนิ้วมือนั้นอาจถูกลบเลือนได้หรือไม่สามารถเก็บตัวอย่างรอยนิ้วมือไว้ได้ เช่น บนวัตถุที่เป็นสิ่งทอ และหากปราศจากคราบเลือด เนื้อเยื่อ คราบอสุจิ หรือคราบน้ำลายอยู่บนวัตถุพยานหรือเปรอะเปื้อนในสถานที่เกิดเหตุ ก็เป็นเรื่องยากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะสามารถหาตัวอย่างดีเอ็นเอสำหรับการพิสูจน์หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ได้
       อย่างไรก็ตาม เดวิด เอ เรลแมน (David A. Relman) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด (Stanford University) ซึ่งศึกษาร่องรอยของแบคทีเรียในลำไส้และในปาก กล่าวถึงงานวิจัยข้างต้นว่า เทคนิคดังกล่าวยังมีข้อจำกัดบางประการหากนำไปใช้จริง เช่น หากมีบุคคลสัมผัสวัตถุพยานนั้นๆ มากกว่า 1 คน จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะสามารถแยกแยะแบคเทียหลายชนิดที่ผสมปนเปกันอยู่ว่าแบคทีเรียชนิดไหนมาจากมือของใคร ซึ่งการแพร่กระจายสปีชีส์ของแบคทีเรียบนฝ่ามืออาจเปลี่ยนแปลงได้ทันทีเมื่อแบคทีเรียบางชนิดหายไปจากฝ่ามือ
ประเด็นสรุป  ถ้าวิเคราะห์ได้ว่าโครงสร้างของดีเอ็นเอแบคที่เรียในคนที่สงสัยกับแบคทีเรียบนวัสดุในสถานที่เกิดเหตุ โดยใช้เครื่องมือของนักนิติวิทยาศาสตร์เราจะสามารถระบุผู้ต้องหาได้นั่นเอง

ขอขอบคุณข่าววิทยาสาสตร์จาก  ผู้จัดการออนไลน์ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2553 12:45 น.
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2110

อัพเดทล่าสุด