ทุกสิ่งอย่างบนโลกนี้ ย่อมมีความเกี่ยวพันธ์กัน อยากรู้หรือไม่ .... กิ๊กเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับวิทยาศาสตร์อย่างไร
ข่าวในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ (ฉบับวันที่ 27 เมษายน 2553)
กล่าวถึง กรณีการแอบมีกิ๊กของดารานักแสดงคนหนึ่ง ทำให้เกิดอาการปรี๊ดของภรรยาสุดที่รัก
กิ๊ก.....งงไหม เแล้วกิ๊กเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับวิทยาศาสตร์อย่างไร ถ้าหากเปรียบความสัมพันธ์เป็นความแข็งแรงของความเกี่ยวพันธ์ฉันท์สามีภรรยา เมียจะมีความแข็งแรงของความเกี่ยวพันธ์ที่แตกต่างไปจากกิ๊ก สำหรับในทางเคมี ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันนั้นเราเรียกว่า พันธะเคมี สิ่งที่ขอนำเสนอในวันนี้คือ ความสัมพันธ์ของสาร หรือที่รู้จักกันในนาม "พันธะเคมี"
เนื้อหาสำหรับ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระสารและสมบัติของสาร ระดับชั้น ม.ปลาย และผู้สนใจทั่วไป
เรื่อง พันธะเคมี
ความหมายของพันธะเคมี
พันธะเคมี หมายถึง แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมหรือระหว่างโมเลกุล แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. แรงยึดเหนี่ยวภายในโมเลกุล เป็นแรงยึดเหนี่ยวที่เกิดขึ้นระหว่างอะตอมของสารต่าง ๆ ภายในโมเลกุล
2. แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล เป็นแรงยึดเหนี่ยวที่เกิดขึ้นระหว่างอะตอมของสารต่าง ๆ ระหว่างโมเลกุล
ลองมองย้อนที่บ้านเรา หากเปรียบตัวเรา คือ 1 อะตอม และบุคลลต่าง ๆ คือ 1 อะตอม
ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับตัวเรา ขณะที่เราอยู่ในท้องแม่ เป็นความสัมพันธ์แบบใกล้ชิดกัน หรือ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเรากับบุคคลในบ้าน ได้แก่ พ่อ แม่ พี่ น้อง ก็ยังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน ดังนั้น จึงจัดเป็นแรงยึดเหนี่ยวภายในโมเลกุล
และความสัมพันธ์ระหว่างตัวเรา กับบุคคลนอกบ้าน เป็นความสัมพันธ์ที่อยุ่ห่างกัน จึงจัดเป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล
จะเห็นได้ว่า แรงยึดเหนี่ยวทั้งสองแรงมีความสัมพันธ์กันคือ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างอะตอมกับอะตอมข้างเคียง ซึ่งอาจเกืดขึ้นจากความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกัน (แรงยึดเหนี่ยวภายในโมเกลุ) หรือ ความสัมพันธ์ที่มีระยะห่างกันออกไป (แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล)
ชนิดของพันธะเคมี (พันธะภายในโมเลกุล)
หากแบ่งประเภทของพันธเคมีในโมเลกุล สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้
1. พันธะโลหะ เป็นพันธะที่มีความแข็งแรงมากที่สุด เนื่องจากมีความสัมพันธ์กันแนบแน่น เกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนรอบไออออนบวก เกิดเป็นทะเลอิเล็กตรอน
ที่มา : https://www.mrl.columbia.edu/ntm/images/atomic.jpg
2. พันธะไอออนิก เป็นพันธะที่มีความแข็งแรงระดับปานกลาง เกิดจากการให้และรับอืเล็กตรอนของธาตุที่มีค่าพลังงานไอออเนเชชั่นต่ำ กับธาตุซึ่งมีอิเล็กโตรเนกาตีวิตึ้สุง
ทีมา : https://wikipremed.com/image_science_archive_th/020300_th/185800_Ionic_bonding_68.jpg
3. พันธะโควาเลนต์ เป็นพันธะที่มีความแข็งแรงต่ำสุด เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกันระหว่างธาตุทีมีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตี้สูง
ที่มา : https://www.green-planet-solar-energy.com/images/polar-covalent-bond.gif
ความแข็งแรงของสิ่งต่าง ๆ
สิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้มีความแข็งแรงของพันธะอย่างไร
1. ก้อนน้ำแข็ง
2. หมอกควัน
3. น้ำยาล้างแผล
4. ปิ่นโต
5. ก้อนอิฐ
6. ตาข่าย
บุรณาการด้านกระบวนการความรู้คิด
"คิดถึงอะไรเกี่ยวกับพันธะเคมี"
ที่มา : https://chemistry.satitpatumwan.ac.th
กิจกรรม
1. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปราย และเสนอข้อคิดที่เกิดจากการมองรูปที่กำหนดให้ และบันทึกข้อเสนอแนะในกระดาษ
2. จำแนกข้อคิดเห็นเป็นหมวดหมู่
3. จัดลำดับประเด็นความสำคัญ
4. ตั้งวัตถุประสงค์และกำหนดประเด็นชิ้นงาน
5. สร้างสรรค์ชิ้นงาน
ประเด็นคำถาม
1. พันธะระหว่างโมเลกุลและภายในโมเลกุล มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
2. ยกตัวอย่างปรากฏการณ์ หรือความสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน เพื่อเปรียบเทียบกับความแข็งแรงของพันธะเคมี 1 ตัวอย่าง
3. ถ้าต้องการสร้างสัมพันธ์ให้มีความแข็งแกร่ง ควรจะยึดเหนี่ยวกันอย่างไร
4. ความสัมพันธ์ระหว่างท่านกับ คนที่ท่านคิดถึงทุกเวลา เป็นความสัมพันธ์แบบใด และหากเปรียบเทียบกับพันธะเคมี จัดเป็นพันธะชนิดใด
อ้างอิง
1. www.norsorpor.com
2. https://www.mrl.columbia.edu/ntm/images/atomic.jpg
3. https://wikipremed.com/image_science_archive_th/020300_th/185800_Ionic_bonding_68.jpg
4. https://www.green-planet-solar-energy.com/images/polar-covalent-bond.gif
5. https://chemistry.satitpatumwan.ac.th
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2121