แรงโน้มถ่วงจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับมวลและระยะระหว่างมวล แล้วความรักของเธอนั้นไซร้ แปรเปลี่ยนไปเพราะเหตุใด
ที่มาของภาพ : https://news.mthai.com/wp-content/uploads/binwiwa.jpg
เมื่อ 21 มิ.ย. 2009 นิวยอร์กเดลี่รายงานพิธีวิวาห์พิสดารของ น.ส.เอริน ฟินเนอแกน กับนายโนอาห์ ฟูลมอร์ ในฐานะคู่รักคู่แรกของโลกที่แต่งงานแบบตัวลอย ในสภาพแรงโน้มถ่วงเป็นศูนย์
ประเด็นการศึกษา การลอยตัวตามเนื้อข่าวนั้น คือ การจัดงานแต่งงานในสถานที่ที่อยู่ในสภาพแรงโน้มถ่วงเป็นศูนย์ ซึ่งเจ้าบ่าวกล่าวว่า “เราเพิ่งไปแต่งงานกันในภาวะความโน้มถ่วงเป็นศูนย์ ประทับใจมาก ทุกอย่างเป็นไปอย่างที่เราหวังไว้” ในงานแต่งงานนั้นมีญาติและเพื่อนฝูงร่วมเป็นสักขีพยานซึ่งจัดภายในเครื่องบินโบอิ้ง 727 ของบริษัทซีโร่ แกรวิตี้ คอร์เปอเรชั่น ที่ปรับสภาพภายในเครื่องให้ไร้แรงโน้มถ่วง บินออกจากศูนย์อวกาศเคนเนดี้ รัฐฟลอริดาไปอยู่เหนืออ่าวเม็กซิโก ระหว่างนั้นเครื่องบินดิ่งจากระดับ 36,000 ลงไปที่ 24,000 ฟุต แล้วโผขึ้นสูงอีก เพื่อให้ผู้โดยสารได้สัมผัสประสบการณ์ไร้แรงโน้มถ่วง รวมเวลาทั้งสิ้น 90 นาที
ที่มา : https://news.mthai.com/world-news/48684.html
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ช่วงชั้นที่ 4
มาตรฐานการเรียนรู้ ว 4.1
ในทางฟิสิกส์ ความโน้มถ่วง หรือ แรงโน้มถ่วง คือแรงที่กระทำระหว่างมวล แรงโน้มถ่วงเป็นหนึ่งในสี่แรงหลัก ซึ่งประกอบด้วย
1. แรงโน้มถ่วง
2. แรงแม่เหล็กไฟฟ้า
3. แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน
4. แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม
ในจำนวนแรงทั้งสี่แรงหลัก แรงโน้มถ่วงมีค่าน้อยที่สุด ถึงแม้ว่าแรงโน้มถ่วงจะเป็นแรงที่เราไม่สามารถรับรู้ได้มากนักเพราะความเบาบางของแรงที่กระทำต่อเรา แต่ก็เป็นแรงเดียวที่ยึดเหนี่ยวเราไว้กับพื้นโลก แรงโน้มถ่วงมีความแรงแปรผันตรงกับมวล ไม่มีการลดทอนหรือถูกดูดซับเนื่องจากมวลใด ๆ ทำให้แรงโน้มถ่วงเป็นแรงที่สำคัญมากในการยึดเหนี่ยวเอกภพไว้ด้วยกัน นอกเหนือจากความโน้มถ่วงที่เกิดระหว่างมวลแล้ว ความโน้มถ่วงยังสามารถเกิดขึ้นได้จากการที่เราเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ตาม กฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน เช่น การเพิ่มหรือลดความเร็วของวัตถุ การเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ เป็นต้น
คำถามชวนคิด
1. แรงโน้มถ่วงมีความสำคัญอย่างไรต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
2. ทำอย่างไรเราจึงจะหนีจากแรงโน้มถ่วงของโลกได้
3. เมื่อเราหลุดพ้นจากแรงโน้มถ่วงไปแล้ว ตัวเราจะเป็นอย่างไร
กิจกรรมเสนอแนะ
ฝึกการคำนวณหาความสัมพันธ์ของปริมาณต่างๆตามกฏความโน้มถ่วงของนิวตัน
การบูรณาการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
แหล่งที่มา
https://atcloud.com/stories/41738
https://news.mthai.com/world-news/48684.html
https://th.wikipedia.org/
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2143
ประเด็นการศึกษา การลอยตัวตามเนื้อข่าวนั้น คือ การจัดงานแต่งงานในสถานที่ที่อยู่ในสภาพแรงโน้มถ่วงเป็นศูนย์ ซึ่งเจ้าบ่าวกล่าวว่า “เราเพิ่งไปแต่งงานกันในภาวะความโน้มถ่วงเป็นศูนย์ ประทับใจมาก ทุกอย่างเป็นไปอย่างที่เราหวังไว้” ในงานแต่งงานนั้นมีญาติและเพื่อนฝูงร่วมเป็นสักขีพยานซึ่งจัดภายในเครื่องบินโบอิ้ง 727 ของบริษัทซีโร่ แกรวิตี้ คอร์เปอเรชั่น ที่ปรับสภาพภายในเครื่องให้ไร้แรงโน้มถ่วง บินออกจากศูนย์อวกาศเคนเนดี้ รัฐฟลอริดาไปอยู่เหนืออ่าวเม็กซิโก ระหว่างนั้นเครื่องบินดิ่งจากระดับ 36,000 ลงไปที่ 24,000 ฟุต แล้วโผขึ้นสูงอีก เพื่อให้ผู้โดยสารได้สัมผัสประสบการณ์ไร้แรงโน้มถ่วง รวมเวลาทั้งสิ้น 90 นาที
ที่มา : https://news.mthai.com/world-news/48684.html
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ช่วงชั้นที่ 4
มาตรฐานการเรียนรู้ ว 4.1
ในทางฟิสิกส์ ความโน้มถ่วง หรือ แรงโน้มถ่วง คือแรงที่กระทำระหว่างมวล แรงโน้มถ่วงเป็นหนึ่งในสี่แรงหลัก ซึ่งประกอบด้วย
1. แรงโน้มถ่วง
2. แรงแม่เหล็กไฟฟ้า
3. แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน
4. แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม
ในจำนวนแรงทั้งสี่แรงหลัก แรงโน้มถ่วงมีค่าน้อยที่สุด ถึงแม้ว่าแรงโน้มถ่วงจะเป็นแรงที่เราไม่สามารถรับรู้ได้มากนักเพราะความเบาบางของแรงที่กระทำต่อเรา แต่ก็เป็นแรงเดียวที่ยึดเหนี่ยวเราไว้กับพื้นโลก แรงโน้มถ่วงมีความแรงแปรผันตรงกับมวล ไม่มีการลดทอนหรือถูกดูดซับเนื่องจากมวลใด ๆ ทำให้แรงโน้มถ่วงเป็นแรงที่สำคัญมากในการยึดเหนี่ยวเอกภพไว้ด้วยกัน นอกเหนือจากความโน้มถ่วงที่เกิดระหว่างมวลแล้ว ความโน้มถ่วงยังสามารถเกิดขึ้นได้จากการที่เราเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ตาม กฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน เช่น การเพิ่มหรือลดความเร็วของวัตถุ การเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ เป็นต้น
คำถามชวนคิด
1. แรงโน้มถ่วงมีความสำคัญอย่างไรต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
2. ทำอย่างไรเราจึงจะหนีจากแรงโน้มถ่วงของโลกได้
3. เมื่อเราหลุดพ้นจากแรงโน้มถ่วงไปแล้ว ตัวเราจะเป็นอย่างไร
กิจกรรมเสนอแนะ
ฝึกการคำนวณหาความสัมพันธ์ของปริมาณต่างๆตามกฏความโน้มถ่วงของนิวตัน
การบูรณาการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
แหล่งที่มา
https://atcloud.com/stories/41738
https://news.mthai.com/world-news/48684.html
https://th.wikipedia.org/
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2143